วัดบวกครกหลวงเป็นวัดขนาดเล็กในตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีวิหารแบบล้านนาที่ได้รับบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 (พ.ศ. 2454–2482)
จิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง
จุดเด่นของวัดบวกครกหลวงที่คนทั่วไปรู้จักอยู่ที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดบวกครกหลวง ซึ่งเขียนเรื่องราวพุทธประวัติและชาดกในนิบาตหรือ เรื่องทศชาติชาดก จำนวน 14 ห้อง จิตรกรรมฝาผนังนี้เขียนบนผนังรอบ ๆ วิหารระหว่างช่องเสาเป็นเรื่องพุทธประวัติและชาดก ภาพแต่ละส่วนจะอยู่ในกรอบซึ่งเขียนเป็นลายล้อมกรอบด้วยลายสีน้ำเงิน แดง และขาว สำหรับเรื่องที่เขียนนั้นทางทิศเหนือเป็นภาพชาดก เรื่องมโหสถชาดก ส่วนทางทิศใต้เป็นเรื่องทศชาติชาดก (พระเจ้าสิบชาติ) จิตรกรรมดังกล่าวเป็นฝีมือช่างชาวไทใหญ่ที่ละเอียดประณีต และเป็นที่น่าสังเกตว่าจิตรกรรมฝาผนังในล้านนาจะไม่พบการเขียนภาพเรื่องทศชาติชาดกครบทั้ง 10 ชาติ หากเลือกมาเฉพาะเรื่องที่นิยมกันเท่านั้น ซึ่งที่วัดบวกครกหลวงก็เช่นกัน มีทั้งหมด 6 เรื่อง คือ เตมียชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก มโหสถชาดก วิธูรบัณฑิตชาดก และเวสสันดรชาดก
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวงมีลักษณะของภาพแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิยมของท้องถิ่น ที่มีจุดเด่นที่เป็นภาพเขียนที่ใช้สีสันสดจัดจ้าน ท่าทีการเขียนภาพของช่างนิยมใช้พู่กันป้ายแต้มอย่างมีพละกำลังแฝงอยู่ภายในด้วย รอยพู่กันแสดงอารมณ์ที่ลิงโลด คึกคะนอง สนุกสนาน และปาดสีอย่างมันใจเด็ดเดี่ยว โดยเฉพาะบริเวณส่วนที่เป็นฉากธรรมชาติ เช่น เนินเขา โขดหิน และลำน้ำ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วสิ่งเหล่านี้ล้วนมีรูปร่างเป็นอิสระ เลื่อนไหล คดเคี้ยว เมื่อผนวกเข้ากับความต้องการของผู้วาดที่ใช้พู่กันและสีแท้ ๆ สดในอย่างอิสระแล้ว นับเป็นฉากธรรมชาติที่มีชีวิตชีวา ไม่ดูจืดชื้ดยิ่งนัก นอกจากนั้นแล้ว วิธีการเน้นความน่าสนใจของภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงคือ นิยมใช้กรอบรูปคล้ายภูเขา ระบายสีพื้นในด้วยสีดำ ขอบนอกเป็นแถบสีเทาและตัดเส้นด้วยสีดำ ส่วนเส้นนอกกรอบเลื่อนไหลล้อกับรูปนอกของตัวปราสาทด้วย
สำหรับสีที่ใช้ในจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวงนี้พอจะจำแนกได้ 6 กลุ่ม คือ กลุ่มสีคราม สีแดงชาด สีทอง สีเหลือง – น้ำตาล สีดำ และสีขาว ดังนั้นจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงจึงถือเป็นงานฝีมือของช่างไทใหญ่ที่ได้ถ่ายทอดถึงชีวิตพื้นบ้านรูปแบบสถาปัตยกรรมและการแต่งกายแบบพม่าและไทใหญ่ไว้ด้วย เช่น ถ้าเป็นการแต่งกายของชาวบ้านจะมีลักษณะเป็นแบบคนพื้นเมือง แต่ถ้าเป็นเจ้าก็จะเป็นการแต่งกายแบบพม่าหรือไทใหญ่ รวมถึงข้าวของเครื่องใช้แบบชาวเมืองก็ยังมีให้เห็นอยู่ในภาพด้วย เช่น จุนโอ๊ก, ขันชี่ (ขันเงิน, ขันทอง) ซึ่งเป็นเครื่องใช้ของชาวล้านนา ผ้าซิ่นแบบคนเมือง หรือผ้าห่มคลุมตัวเวลาหนาวที่เรียกว่า ตุ้ม ด้วย ซึ่งลักษณะของจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงนั้นจึงเป็นลักษณะพิเศษของจิตรกรรมล้านนา โดยอาจมีข้อแตกต่างหรือคล้ายกันกับจิตรกรรมที่ภาคกลางด้วย
- ผนังที่ 9 ผนังเต็มห้องพุทธประวัติ ส่วนล่างของภาพด้านซ้ายเป็นภาพองคุลีมาลกำลังวิ่งไล่เพื่อจะทำร้ายพระพุทธเจ้า ด้านขวาเป็นตอนที่องคุลีมาลกลับใจออกบวช
- ผนังที่ 10 ผนังเต็มห้องวิธุรชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นวิธุรบัณฑิต บำเพ็ญสัจจบารมี ด้านบนมีภาพพุทธประวัติตอนประสูติแทรกอยู่
- พระประธานในวิหาร
- ภายในวิหาร
ลักษณะพิเศษ
ลักษณะพิเศษของจิตรกรรมล้านนาที่วัดบวกครกหลวง กับข้อแตกต่างหรือคล้ายกันกับจิตรกรรมที่ภาคกลางมีดังนี้
- จิตรกรรมภาคกลางนั้นเขียนภายในพระอุโบสถและพระวิหารที่มีหน้าต่างเป็นชุด จึงมีผนังระหว่างช่องหน้าต่างให้เขียนเป็นเรื่องราวพุทธประวัติบ้าง ทศชาติชาดกบ้าง ส่วนผนังเหนือหน้าต่างเขียนเรื่องพุทธประวัติ หรือมิฉะนั้นก็จะเขียนภาพเทพชุมนุมเป็นแถว ๆ ด้วยพระอุโบสถและพระวิหารทางภาคกลางมีขนาดใหญ่มาก ทั้งความสูงจากเหนือขอบหน้าต่างถึงสุดผนังข้างบนก็มีมาก ในสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 จึงมักเขียนภาพเทพชุมนุมเป็นแถว ๆ ขนาดของเทวดาที่นั่งพนมมือเป็นแถวนั้นมีขนาดใหญ่เท่าคนจริงหรืออาจใหญ่กว่าคนจริงเล็กน้อย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ลงมามิได้เขียนเป็นภาพเทพชุมนุมแต่เขียนเป็นเรื่องราวของชาดกขนาดใหญ่ ภาพปฤศนาธรรม หรือภาพวิวขนาดมหึมา เช่น ภาพสวยสาธารณะ ภาพเรือใบเดินทะเลขนาดใหญ่ มีคลื่นลูกโตสาดซัด ภาพตึกรามบ้านช่อง บางทีก็เป็นภาพศาสนสถานขนาดใหญ่ เป็นต้น ส่วนสถาปัตยกรรมเชียงใหม่สมัยรัชกาลที่ 5 นั้น นิยมใช้เสาไม้รับน้ำหนักเครื่องบนหลังคาดังนี้เมื่อต้องการให้ภายในเป็นอาคารมีฝามิใช้อาคารโถง จึงต้องก่ออิฐเป็นผนัง (ที่จริงอาคารพุทธศาสนารุ่นเก่าของล้านนาเป็นอาคารโถง ซึ่งยังเหลือของเก่าให้เห็นเป็นจำนวนมาก) เหนือผนังด้านข้างตีไม้เป็นระแนงเป็นช่องลมทางยาวขนาดใหญ่ สามารถใช้ระบายอากาศได้เป็นอย่างดี ประตูด้านข้างเขาทำประตูส่วนบนเป็นยอดแหลมทั้งบานทาด้วยสีดินแดง ที่เสานูนจากผนังทำเป็นลายฉลุปิดทอง ภาพเขียนในวัดบวกครกหลวงนั้น จึงเขียนคาบเกี่ยวกันตั้งแต่สุดผนังด้านข้างทั้ง 2 ข้างและผนังด้านบนจากช่องลมถึงกึ่งกลางหน้าต่างซึ่งไม่สูงเท่าไร เพราะส่วนสัดของพระวิหารวัดบวกครกหลวงผนังด้านข้างไม่สูงนัก
- ภาพเขียนวัดบวกครกหลวงเขียนเส้นเป็นลายขอบรูปหนา และขอบนั้นล้อมรอบรูปเขียนเป็นสี่เหลี่ยม จึงทำให้เนื้อที่ผนังที่แคบอยู่แล้วยิ่งแคบลงไปอีก
- การเขียนของบวกครกหลวงใช้ระบบสีฝุ่นบดผสมกาวยางไม้เช่นเดียวกับภาคกลาง แต่เรื่องราวแบบแผนกับวิธีการเขียนไม่เหมือนกัน ดังเช่น รูปเครื่องบนยอดปราสาทในภาพเขียน เขาเขียนโดยใช้ระบบเครื่องบนปราสาทพม่า ซึ่งเหมือนกับภาพเขียนผนังซ้ายมือพระประธานซึ่งเขียนในสไตล์พื้นเมือง นอกจากจะเขียนยอดปราสาทพม่าแล้วเครื่องปรุงปราสาทต่าง ๆ ก็เป็นแบบพม่า เป็นเครื่องสังวรว่าอิทธิพลจิตกรรมพม่าได้เข้าครอบงำจิตรกรรมล้านนา อาจจะเป็นเพราะว่าพม่าเคยมีอำนาจปกครองดินแดนล้านนามาเนิ่นนาน อันเป็นผลอันเป็นผลให้ศิลปะขนบประเพณีของพม่าเข้าไปเปลี่ยนวิถีชีวิตชาวเชียงใหม่ให้หันไปนิยมพม่าเสียหมด นับตั้งแต่ภาคกลางได้ขยายทางรถไฟให้ยาวขึ้นไปถึงเชียงใหม่ในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 อิทธิพลวัฒนธรรมไทยภาคกลางได้แพร่เข้าไปถึงอย่างใกล้ชิด แต่ก็หาได้มีผลเปลี่ยนแปลงอย่างปฏิรูปถอนรากถอนโคนในดินแดนล้านนาไม่
- การเขียนเส้นสินเทาคั่นระหว่างภาพก็เหมือนกัน ทว่าที่วัดบวกครกหลวงก็แตกต่างกับภาคกลางอีก คือ เขามิได้ใช้เส้นสินเทาเป็นหยักแหลมรูปฟันปลาอย่างภาคกลาง แต่เขียนเป็นลายตามแบบแผนของเขา ยอดปราสาทก็เขียนแบบเดียวกับยอดปราสาทวัดพม่าที่เห็นทางเหนือทั่วไป
- โครงสร้างของสีส่วนใหญ่ ถ้าหากนำมาเทียบกับจิตรกรรมฝาผนังภาคกลางคงเห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจนว่า สีโดยส่วนรวมค่อนข้างสว่างเพราะมีการเขียนในระบบเดียวกับเขียนสมดุลข่อย คือเขียนบนพื้นสีขาวที่เตรียมไว้ ส่วนใดเป็นสีอ่อนก็จะระบายสีอ่อน ๆ คล้ายเทคนิคสีน้ำ ส่วนสีแก่ใช้ล้วงพื้นเอาซึ่งแตกต่างกับภาพเขียนภาคกลางสมัยรัตนโกสินทร์ที่มักจะลงพื้นเข้มเสียก่อน เช่นเขียนภาพพื้นดินภูเขา ต้นไม้ลงพื้นระบายด้วยสีหนัก ๆ แล้วจึงเขียนภาพคนทับลงไปบนภาพที่ลงพื้นไว้เบื้องหลังแล้วด้วยเหตุนี้ ภาพจิตรกรรมที่นี่จึงมีส่วนที่เว้นสีพื้นขาวมาก เช่น ช่องว่างรอยต่อของเรื่องกับส่วนละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ทำให้ภาพดูสว่างตา
- ภาพการเขียนด้วยคอมโปสิชั่นที่แปลก จิตรกรล้านนาท่านยักเยื้องแง่มุมของรูปให้เห็นมิติแปลก ๆ ลักษณะลวดลายผสมผสานกับท่าทีของการใช้ฝีแปรงอันกล้าหาญ เต็มไปด้วยพลัง เมื่อได้เห็นภาพานี้ผู้สนใจทางศิลปะคงรู้แก่ใจตนเองว่า ที่เขายกย่องกันถึงพื้นพลังสร้างสรรค์ของจิตรกรรมวัดบวกครกหลวงเป็นฉันใด เนื้อหาของภาพได้แสดงตนเองออกมาให้ประจักษ์แล้ว
- แม้ว่าภาพเขียนวัดบวกครกหลวงจะเป็นจิตรกรรมที่มิใช่งานคลาสสิก แต่คุณค่าของจิตรกรรมในพระวิหารที่นี่อยู่ตรงความเป็นตัวของตัวเอง มิได้ลอกแบบหรือเอาอย่างมาจากใคร แม้เป็นเรื่องราวในพุทธศาสนา แต่เราก็จะเห็นว่าครูที่เคยเห็นอย่างจำเจในภาคกลางไม่ปรากฏ ณ ที่นี่ แสดงว่าเป็นงานจิตรกรรมบริสุทธิ์ ที่สร้างสรรค์ มาจากจินตนาการอันแท้จริงของชาวล้านนา
- จิตรกรรมล้านนาไม่ว่าจะเป็นวัดบวกครกหลวง วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ หรือวัดภูมินทร์ น่าน มีลักษณะการเขียนใบหน้าดูชื่อ ๆ ถ้าเป็นคนหมู่มากก็จะยืนเรียงเข้าแถวแนว หรือเรียง
หน้ากันเป็นตับลักษณะเหล่านี้ นักวิชาการศิลปะสามารถวินิจฉัยได้ว่า นั่นคือลักษณะการคลี่คลายตัวของศิลปะในแบบพริมิทีฟ ( primitive ) ซึ่งยังไม่สูงสู่ระดับอาร์เคอิก (Archaic) หรือคลาสสิก (Classic) อย่างไรก็ดี ในการดูคุณค่าทางศิลปะ ท่านมิได้เพ่งเล็งในแง่ระดับต้น ระดับกลาง หรือระดับสูงแต่อย่างไร คุณค่าสำคัญก็คือการแสดงออกของอารมณ์
วิหารวัดบวกครกหลวง
สร้างครั้งใดไม่ปรากฏประวัติและหลักฐานการสร้าง แต่จากการสืบประวัติภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏพอจะประมาณได้ว่าอายุของวิหารนี้ไม่ต่ำกว่า 300 ปี วิหารนี้ได้มีการซ่อมแซมบูรณะเรื่อยมา จากหลักฐานจารึกที่ปรากฏบนหน้าบันเขียนเลข พ.ศ. 2468 ไว้ ซึ่งคงเป็นการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยนั้น รวมทั้งการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาด้วย หลังจากนั้นคงจะมีการบูรณะซ่อมแซมต่อมา เช่น ใน พ.ศ. 2498 มีการราดพื้นวิหารและซ่อมแซมโครงสร้างภายใน เพราะมีหลักฐานบันทึกไว้ที่ฐานวิหาร โครงสร้างของวิหารเป็นไม้ผสมปูน หลังคาเป็นหลังคาจั่วซ้อนสามชั้น ด้านหน้าทำเป็นมุขโถงยื่นออกมาคลุมราวบันได ซึ่งทำเป็นมกรอมนาคที่มีปากลักษณะเหมือนจะงอยปากนกแก้วหรือจะงอยปากครุฑ ทำด้วยปูนปั้นประดับกระจกปิด ภายในวิหารมีธรรมาสน์เทศน์ที่มีอายุเก่าแก่และสวยงามมาก ปั้นลมเป็นนาคลำยอง หางหงส์ทำเป็นหัวนาค ราวโก่งคิ้วด้านหน้าเป็นไม้แกะสลักปิดทอง หน้าบันเป็นไม้แกะสลักเป็นลายก้านขดปิดทองแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมคล้ายฝาปะกน นาคลำยองหางหงส์รูปหัวนาคปิดทองประดับกระจกสี มุมวิหารทำเป็นปูนปั้นรูปเทพพนมยืน เครื่องบนของเพดานเปิดให้เป็นโครงสร้างไม้และเสารับน้ำหนักของหลังคา ผนังก่ออิฐถือปูนสูงถึงคอสองวิหารนี้มีประตูด้านข้างทำเป็นมุขยื่นออกมา ด้านหน้าวิหารทำประตูไม้แกะสลักปิดทองลักษณะทั่วไปของวิหารมีสัดส่วนและองค์ประกอบงดงามแบบสถาปัตยกรรมล้านนาควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้สถิตในบวรพระพุทธศาสนายิ่ง (พระวัชรวีร์ วชิรเมธี. 2550: 11)
จากแผนผังวิหารแห่งนี้จะเห็นได้ว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าและด้านหลังมีการลดขนาดความกว้างของห้องเป็น 3 ช่วง เพื่อให้สอดคล้องกับชั้นลดของหลังคา ด้านหลังทำเป็นฐานชุกชีไว้ประดิษฐานพระประธาน และพระพุทธรูป ด้านข้างเป็นที่ตั้งธรรมาสน์คาดว่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวิหาร ธรรมาสน์มีลักษณะเฉพาะตามแบบล้านนา เป็นรูปทรงปราสาท ประดับตกแต่งด้วยลายพันธุ์พฤกษา และยังมีสิ่งที่ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่จะพบได้ในวิหารล้านนาทั่วไปคือ สัตตภัณฑ์ อันเป็นเครื่องสักการบูชาภูเขาทั้ง 14 ในไตรภูมิตามความเชื่อของชาวล้านนา จะใช้กันในวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนาโดยชาวบ้านจะนำเทียนมาจุดบนสัตตภัณฑ์นี้ มีลักษณะสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ตรงกลางทำเป็นรูปเทพนมและมีลายพันธุ์พฤกษา ด้านหลังรูปเทพพนมประดับแก้วอังวะ (กระจกจีน) ด้านข้างทำเป็นรูปมกรคายนาค สัตตภัณฑ์นี้จะตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธานอีกทีหนึ่ง
วิหารวัดบวกครกหลวงเดิมทีเป็นอาคารโถงเช่นเดียวกับอาคารล้านนาทั่วไป ซึ่งสถาปัตยกรรมล้านนาส่วนใหญ่จะเน้นให้เห็นโครงสร้างของไม้และเครื่องบนหลังคาใช้เสาในการรับน้ำหนักของหลังคาทั้งหมด โดยเฉพาะโครงสร้างไม้แบบม้าตั่งไหมซึ่งเป็นการสร้างตามคติดั้งเดิมอันเป็นลักษณะเฉพาะของล้านนา จึงจะเห็นว่าภายใจวิหารวัดบวกครกหลวงนี้จะมีเสาขนาดใหญ่อยู่กลางวิหารถึง 12 ต้น ภายหลังจึงได้มีการทำผนังทึบขึ้นมา 3 ด้านคือ ด้านข้างและด้านหลัง แต่มิได้เป็นการรับน้ำหนักอาคาร ส่วนด้านหน้าเปิดโล่งไว้ และต่อมาได้มีการสร้างประตูบานใหญ่ขึ้นด้านหน้าเพื่อป้องกันโจรผู้ร้าย ประตูนี้มีการแกะสลักเป็นรูปทวารบาลปิดทองอย่างงดงาม
หลังคาวิหารเป็นหลังคาซ้อนกัน 3 ชั้น ประดับด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าและหางหงส์ เป็นรูปนาคตามคติชาวล้านนาที่เชื่อว่า วิหารเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ต้องมีนาคคอยดูแลอยู่ จึงมีการประดับตกแต่งวารด้วยนาค ส่วนลานทรายที่อยู่รายรอบวิหารหรือศาสนสถานอื่น ๆ ของล้านนาเปรียบเสมือนว่าเป็นน้ำหรือนทีสมุทร ดังนั้นจะเห็นว่า ทางเข้าด้านหน้าวิหารทำเป็นราวบันไดรูปมกรคายนาคด้วยและนาคที่นี่ก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือ เป็นนาคปากนกแก้วซึ่งมีเพียงแห่งเดียว ส่วนมุขโถงด้านหน้าวิหารเป็นการสร้างขึ้นมาใหม่ในสมัยที่มีการบูรณะ
หน้าบันวิหารเป็นหน้าบันสลักไม้แบ่งเป็นช่องแบบฝาปะกน แต่ละช่องแกะลายประดับกระจกสวยงาม และมีจารึกบอกปี พ.ศ. 2468 สันนิษฐานว่าเป็นปีที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ ผนังด้านนอกของตัวอาคารจะมีปูนปั้นรูปเทพพนมประดับอยู่ตามมุม ด้านบนเป็นคันทวยลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ทำด้วยไม้ มีอยู่ 2 ลายคือ คันทวยด้านหน้าทั้งสองข้างทำเป็นรูปหนุมานเหยียบเมฆ ส่วนในตำแหน่งอื่น ๆ จะเป็นลายเมฆไหลท่านั้น
นอกจากวิหารแล้วที่วัดบวกครกหลวงแห่งนี้ยังมีอาคารเสนาสนะอื่น ๆ ที่น่าสนใจคือ อุโบสถที่มีรูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนา ศาลาบำเพ็ญกุศล กุฎีสงฆ์ และเจดีย์ทรงปราสาทมีเรือนธาตุ 4 ด้าน บุด้วยทองจังโกซึ่งอยู่ด้านหน้าวิหารด้วย (ประยูร อุลุชาฎะ. 2544: 80-82)
อ้างอิง
- ประยูร อุลุชาฎะ. 2544: 8-10
- ประยูร อุลุชาฎะ. วัดบวกครกหลวง = Wat Buak Khrok Luang. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2544. (12-78)
- พระวัชรวีร์ วชิรเมธี. ประวัติและตำนานวัดบวกครกหลวง. เชียงใหม่: ดาวคอมพิวกราฟิก, 2550. (18-46)
18°46′46.38441″N 99°2′16.948442″E / 18.7795512250°N 99.03804123389°E
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
wdbwkkhrkhlwngepnwdkhnadelkintablthasala xaephxemuxngechiyngihm cnghwdechiyngihm miwiharaebblannathiidrbburnakhrngihyinsmyecaaekwnwrth ecaphukhrxngnkhrechiyngihm xngkhthi 9 ph s 2454 2482 wdbwkkhrkhlwngcitrkrrmfaphnngwdbwkkhrkhlwngphnngetmiychadk txnphraetmiynngxyubntkphrarachbida emuxxxkwarachkar thxdphraentrphrarachbida sngtdsinlngoths phaphmumkhwalang aemphraetmiycathukywywnaetphrakumarkyngkhngningechy phaphtxnbn naysunntephchchkhatnaphraetmiyippraharchiwitinpa cudednkhxngwdbwkkhrkhlwngthikhnthwipruckxyuthiphaphcitrkrrmfaphnnginwiharwdbwkkhrkhlwng sungekhiyneruxngrawphuththprawtiaelachadkinnibathrux eruxngthschatichadk canwn 14 hxng citrkrrmfaphnngniekhiynbnphnngrxb wiharrahwangchxngesaepneruxngphuththprawtiaelachadk phaphaetlaswncaxyuinkrxbsungekhiynepnlaylxmkrxbdwylaysinaengin aedng aelakhaw sahrberuxngthiekhiynnnthangthisehnuxepnphaphchadk eruxngmohsthchadk swnthangthisitepneruxngthschatichadk phraecasibchati citrkrrmdngklawepnfimuxchangchawithihythilaexiydpranit aelaepnthinasngektwacitrkrrmfaphnnginlannacaimphbkarekhiynphapheruxngthschatichadkkhrbthng 10 chati hakeluxkmaechphaaeruxngthiniymknethann sungthiwdbwkkhrkhlwngkechnkn mithnghmd 6 eruxng khux etmiychadk suwrrnsamchadk enmirachchadk mohsthchadk withurbnthitchadk aelaewssndrchadk phaphcitrkrrmfaphnngwiharwdbwkkhrkhlwngmilksnakhxngphaphaesdngihehnthunglksnaniymkhxngthxngthin thimicudednthiepnphaphekhiynthiichsisnsdcdcan thathikarekhiynphaphkhxngchangniymichphuknpayaetmxyangmiphlakalngaefngxyuphayindwy rxyphuknaesdngxarmnthilingold khukkhanxng snuksnan aelapadsixyangmniceddediyw odyechphaabriewnswnthiepnchakthrrmchati echn eninekha okhdhin aelalana sungodythrrmchatiaelwsingehlanilwnmiruprangepnxisra eluxnihl khdekhiyw emuxphnwkekhakbkhwamtxngkarkhxngphuwadthiichphuknaelasiaeth sdinxyangxisraaelw nbepnchakthrrmchatithimichiwitchiwa imducudchudyingnk nxkcaknnaelw withikarennkhwamnasnickhxngphaphcitrkrrmfaphnngwdbwkkhrkhlwngkhux niymichkrxbrupkhlayphuekha rabaysiphunindwysida khxbnxkepnaethbsiethaaelatdesndwysida swnesnnxkkrxbeluxnihllxkbrupnxkkhxngtwprasathdwy sahrbsithiichincitrkrrmfaphnngwiharwdbwkkhrkhlwngniphxcacaaenkid 6 klum khux klumsikhram siaedngchad sithxng siehluxng natal sida aelasikhaw dngnncitrkrrmfaphnngwdbwkkhrkhlwngcungthuxepnnganfimuxkhxngchangithihythiidthaythxdthungchiwitphunbanrupaebbsthaptykrrmaelakaraetngkayaebbphmaaelaithihyiwdwy echn thaepnkaraetngkaykhxngchawbancamilksnaepnaebbkhnphunemuxng aetthaepnecakcaepnkaraetngkayaebbphmahruxithihy rwmthungkhawkhxngekhruxngichaebbchawemuxngkyngmiihehnxyuinphaphdwy echn cunoxk khnchi khnengin khnthxng sungepnekhruxngichkhxngchawlanna phasinaebbkhnemuxng hruxphahmkhlumtwewlahnawthieriykwa tum dwy sunglksnakhxngcitrkrrmfaphnngwdbwkkhrkhlwngnncungepnlksnaphiesskhxngcitrkrrmlanna odyxacmikhxaetktanghruxkhlayknkbcitrkrrmthiphakhklangdwy phnngthi 9 phnngetmhxngphuththprawti swnlangkhxngphaphdansayepnphaphxngkhulimalkalngwingilephuxcatharayphraphuththeca dankhwaepntxnthixngkhulimalklbicxxkbwch phnngthi 10 phnngetmhxngwithurchadk phraophthistweswyphrachatiepnwithurbnthit baephysccbarmi danbnmiphaphphuththprawtitxnprasutiaethrkxyu phraprathaninwihar phayinwiharlksnaphiess lksnaphiesskhxngcitrkrrmlannathiwdbwkkhrkhlwng kbkhxaetktanghruxkhlayknkbcitrkrrmthiphakhklangmidngni citrkrrmphakhklangnnekhiynphayinphraxuobsthaelaphrawiharthimihnatangepnchud cungmiphnngrahwangchxnghnatangihekhiynepneruxngrawphuththprawtibang thschatichadkbang swnphnngehnuxhnatangekhiyneruxngphuththprawti hruxmichannkcaekhiynphaphethphchumnumepnaethw dwyphraxuobsthaelaphrawiharthangphakhklangmikhnadihymak thngkhwamsungcakehnuxkhxbhnatangthungsudphnngkhangbnkmimak insmyrchkalthi 1 thungrchkalthi 3 cungmkekhiynphaphethphchumnumepnaethw khnadkhxngethwdathinngphnmmuxepnaethwnnmikhnadihyethakhncringhruxxacihykwakhncringelknxy insmyrchkalthi 4 lngmamiidekhiynepnphaphethphchumnumaetekhiynepneruxngrawkhxngchadkkhnadihy phaphpvsnathrrm hruxphaphwiwkhnadmhuma echn phaphswysatharna phapheruxibedinthaelkhnadihy mikhlunlukotsadsd phaphtukrambanchxng bangthikepnphaphsasnsthankhnadihy epntn swnsthaptykrrmechiyngihmsmyrchkalthi 5 nn niymichesaimrbnahnkekhruxngbnhlngkhadngniemuxtxngkarihphayinepnxakharmifamiichxakharothng cungtxngkxxithepnphnng thicringxakharphuththsasnarunekakhxnglannaepnxakharothng sungyngehluxkhxngekaihehnepncanwnmak ehnuxphnngdankhangtiimepnraaenngepnchxnglmthangyawkhnadihy samarthichrabayxakasidepnxyangdi pratudankhangekhathapratuswnbnepnyxdaehlmthngbanthadwysidinaedng thiesanuncakphnngthaepnlaychlupidthxng phaphekhiyninwdbwkkhrkhlwngnn cungekhiynkhabekiywkntngaetsudphnngdankhangthng 2 khangaelaphnngdanbncakchxnglmthungkungklanghnatangsungimsungethair ephraaswnsdkhxngphrawiharwdbwkkhrkhlwngphnngdankhangimsungnk phaphekhiynwdbwkkhrkhlwngekhiynesnepnlaykhxbruphna aelakhxbnnlxmrxbrupekhiynepnsiehliym cungthaihenuxthiphnngthiaekhbxyuaelwyingaekhblngipxik karekhiynkhxngbwkkhrkhlwngichrabbsifunbdphsmkawyangimechnediywkbphakhklang aeteruxngrawaebbaephnkbwithikarekhiynimehmuxnkn dngechn rupekhruxngbnyxdprasathinphaphekhiyn ekhaekhiynodyichrabbekhruxngbnprasathphma sungehmuxnkbphaphekhiynphnngsaymuxphraprathansungekhiyninsitlphunemuxng nxkcakcaekhiynyxdprasathphmaaelwekhruxngprungprasathtang kepnaebbphma epnekhruxngsngwrwaxiththiphlcitkrrmphmaidekhakhrxbngacitrkrrmlanna xaccaepnephraawaphmaekhymixanacpkkhrxngdinaednlannamaeninnan xnepnphlxnepnphlihsilpakhnbpraephnikhxngphmaekhaipepliynwithichiwitchawechiyngihmihhnipniymphmaesiyhmd nbtngaetphakhklangidkhyaythangrthifihyawkhunipthungechiyngihminsmyplayrchkalthi 5 xiththiphlwthnthrrmithyphakhklangidaephrekhaipthungxyangiklchid aetkhaidmiphlepliynaeplngxyangptirupthxnrakthxnokhnindinaednlannaim karekhiynesnsinethakhnrahwangphaphkehmuxnkn thwathiwdbwkkhrkhlwngkaetktangkbphakhklangxik khux ekhamiidichesnsinethaepnhykaehlmrupfnplaxyangphakhklang aetekhiynepnlaytamaebbaephnkhxngekha yxdprasathkekhiynaebbediywkbyxdprasathwdphmathiehnthangehnuxthwip okhrngsrangkhxngsiswnihy thahaknamaethiybkbcitrkrrmfaphnngphakhklangkhngehnkhxaetktangxyangchdecnwa siodyswnrwmkhxnkhangswangephraamikarekhiyninrabbediywkbekhiynsmdulkhxy khuxekhiynbnphunsikhawthietriymiw swnidepnsixxnkcarabaysixxn khlayethkhnikhsina swnsiaekichlwngphunexasungaetktangkbphaphekhiynphakhklangsmyrtnoksinthrthimkcalngphunekhmesiykxn echnekhiynphaphphundinphuekha tnimlngphunrabaydwysihnk aelwcungekhiynphaphkhnthblngipbnphaphthilngphuniwebuxnghlngaelwdwyehtuni phaphcitrkrrmthinicungmiswnthiewnsiphunkhawmak echn chxngwangrxytxkhxngeruxngkbswnlaexiydplikyxytang thaihphaphduswangta phaphkarekhiyndwykhxmopsichnthiaeplk citrkrlannathanykeyuxngaengmumkhxngrupihehnmitiaeplk lksnalwdlayphsmphsankbthathikhxngkarichfiaeprngxnklahay etmipdwyphlng emuxidehnphaphaniphusnicthangsilpakhngruaekictnexngwa thiekhaykyxngknthungphunphlngsrangsrrkhkhxngcitrkrrmwdbwkkhrkhlwngepnchnid enuxhakhxngphaphidaesdngtnexngxxkmaihpracksaelw aemwaphaphekhiynwdbwkkhrkhlwngcaepncitrkrrmthimiichngankhlassik aetkhunkhakhxngcitrkrrminphrawiharthinixyutrngkhwamepntwkhxngtwexng miidlxkaebbhruxexaxyangmacakikhr aemepneruxngrawinphuththsasna aeterakcaehnwakhruthiekhyehnxyangcaecinphakhklangimprakt n thini aesdngwaepnngancitrkrrmbrisuththi thisrangsrrkh macakcintnakarxnaethcringkhxngchawlanna citrkrrmlannaimwacaepnwdbwkkhrkhlwng wdphrasingh echiyngihm hruxwdphuminthr nan milksnakarekhiynibhnaduchux thaepnkhnhmumakkcayuneriyngekhaaethwaenw hruxeriyng hnaknepntblksnaehlani nkwichakarsilpasamarthwinicchyidwa nnkhuxlksnakarkhlikhlaytwkhxngsilpainaebbphrimithif primitive sungyngimsungsuradbxarekhxik Archaic hruxkhlassik Classic xyangirkdi inkardukhunkhathangsilpa thanmiidephngelnginaengradbtn radbklang hruxradbsungaetxyangir khunkhasakhykkhuxkaraesdngxxkkhxngxarmnwiharwdbwkkhrkhlwngsrangkhrngidimpraktprawtiaelahlkthankarsrang aetcakkarsubprawtiphaphcitrkrrmfaphnngthipraktphxcapramanidwaxayukhxngwiharniimtakwa 300 pi wiharniidmikarsxmaesmburnaeruxyma cakhlkthancarukthipraktbnhnabnekhiynelkh ph s 2468 iw sungkhngepnkarburnakhrngihyinsmynn rwmthngkarepliynkraebuxngmunghlngkhadwy hlngcaknnkhngcamikarburnasxmaesmtxma echn in ph s 2498 mikarradphunwiharaelasxmaesmokhrngsrangphayin ephraamihlkthanbnthukiwthithanwihar okhrngsrangkhxngwiharepnimphsmpun hlngkhaepnhlngkhacwsxnsamchn danhnathaepnmukhothngyunxxkmakhlumrawbnid sungthaepnmkrxmnakhthimipaklksnaehmuxncangxypaknkaekwhruxcangxypakkhruth thadwypunpnpradbkrackpid phayinwiharmithrrmasnethsnthimixayuekaaekaelaswyngammak pnlmepnnakhlayxng hanghngsthaepnhwnakh rawokngkhiwdanhnaepnimaekaslkpidthxng hnabnepnimaekaslkepnlaykankhdpidthxngaebngepnchxngsiehliymkhlayfapakn nakhlayxnghanghngsruphwnakhpidthxngpradbkracksi mumwiharthaepnpunpnrupethphphnmyun ekhruxngbnkhxngephdanepidihepnokhrngsrangimaelaesarbnahnkkhxnghlngkha phnngkxxiththuxpunsungthungkhxsxngwiharnimipratudankhangthaepnmukhyunxxkma danhnawiharthapratuimaekaslkpidthxnglksnathwipkhxngwiharmisdswnaelaxngkhprakxbngdngamaebbsthaptykrrmlannakhwrkhaaekkarxnurksihsthitinbwrphraphuththsasnaying phrawchrwir wchiremthi 2550 11 cakaephnphngwiharaehngnicaehnidwaepnrupsiehliymphunpha danhnaaeladanhlngmikarldkhnadkhwamkwangkhxnghxngepn 3 chwng ephuxihsxdkhlxngkbchnldkhxnghlngkha danhlngthaepnthanchukchiiwpradisthanphraprathan aelaphraphuththrup dankhangepnthitngthrrmasnkhadwacasrangkhunphrxmkbkarsrangwihar thrrmasnmilksnaechphaatamaebblanna epnrupthrngprasath pradbtkaetngdwylayphnthuphvksa aelayngmisingthithuxwaepnxngkhprakxbsakhyxyanghnungthicaphbidinwiharlannathwipkhux sttphnth xnepnekhruxngskkarbuchaphuekhathng 14 initrphumitamkhwamechuxkhxngchawlanna caichkninwnphrahruxwnsakhythangsasnaodychawbancanaethiynmacudbnsttphnthni milksnasamehliymhnacw trngklangthaepnrupethphnmaelamilayphnthuphvksa danhlngrupethphphnmpradbaekwxngwa krackcin dankhangthaepnrupmkrkhaynakh sttphnthnicatngxyudanhnaphraprathanxikthihnung wiharwdbwkkhrkhlwngedimthiepnxakharothngechnediywkbxakharlannathwip sungsthaptykrrmlannaswnihycaennihehnokhrngsrangkhxngimaelaekhruxngbnhlngkhaichesainkarrbnahnkkhxnghlngkhathnghmd odyechphaaokhrngsrangimaebbmatngihmsungepnkarsrangtamkhtidngedimxnepnlksnaechphaakhxnglanna cungcaehnwaphayicwiharwdbwkkhrkhlwngnicamiesakhnadihyxyuklangwiharthung 12 tn phayhlngcungidmikarthaphnngthubkhunma 3 dankhux dankhangaeladanhlng aetmiidepnkarrbnahnkxakhar swndanhnaepidolngiw aelatxmaidmikarsrangpratubanihykhundanhnaephuxpxngknocrphuray pratunimikaraekaslkepnrupthwarbalpidthxngxyangngdngam hlngkhawiharepnhlngkhasxnkn 3 chn pradbdwykraebuxngdinepha michxfaaelahanghngs epnrupnakhtamkhtichawlannathiechuxwa wiharepriybesmuxnekhaphrasuemru txngminakhkhxyduaelxyu cungmikarpradbtkaetngwardwynakh swnlanthraythixyurayrxbwiharhruxsasnsthanxun khxnglannaepriybesmuxnwaepnnahruxnthismuthr dngnncaehnwa thangekhadanhnawiharthaepnrawbnidrupmkrkhaynakhdwyaelanakhthinikmilksnaphiessechphaatwkhux epnnakhpaknkaekwsungmiephiyngaehngediyw swnmukhothngdanhnawiharepnkarsrangkhunmaihminsmythimikarburna hnabnwiharepnhnabnslkimaebngepnchxngaebbfapakn aetlachxngaekalaypradbkrackswyngam aelamicarukbxkpi ph s 2468 snnisthanwaepnpithimikarburnptisngkhrn phnngdannxkkhxngtwxakharcamipunpnrupethphphnmpradbxyutammum danbnepnkhnthwylksnaepnsamehliym thadwyim mixyu 2 laykhux khnthwydanhnathngsxngkhangthaepnruphnumanehyiybemkh swnintaaehnngxun caepnlayemkhihlthann nxkcakwiharaelwthiwdbwkkhrkhlwngaehngniyngmixakharesnasnaxun thinasnickhux xuobsththimirupthrngsthaptykrrmlanna salabaephykusl kudisngkh aelaecdiythrngprasathmieruxnthatu 4 dan budwythxngcngoksungxyudanhnawihardwy prayur xuluchada 2544 80 82 xangxingprayur xuluchada 2544 8 10 prayur xuluchada wdbwkkhrkhlwng Wat Buak Khrok Luang krungethph emuxngobran 2544 12 78 phrawchrwir wchiremthi prawtiaelatananwdbwkkhrkhlwng echiyngihm dawkhxmphiwkrafik 2550 18 46 18 46 46 38441 N 99 2 16 948442 E 18 7795512250 N 99 03804123389 E 18 7795512250 99 03804123389 bthkhwamxakhar hrux sthanthisakhyniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldk