รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น (: 大日本帝國憲法; ชินจิไต: 大日本帝国憲法, ทับศัพท์: Dai-Nippon Teikoku Kenpō) มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า รัฐธรรมนูญเมจิ (明治憲法, Meiji Kenpō) เป็นรัฐธรรมนูญของจักรวรรดิญี่ปุ่น ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1889 และใช้บังคับตั้งแต่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1890 จนถึง 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1947
รัฐธรรมนูญนี้ตราขึ้นหลังจากการฟื้นฟูเมจิเมื่อ ค.ศ. 1868 และบัญญัติให้มีรูปแบบการปกครองที่ประสมระหว่างสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยใช้ระบอบของปรัสเซียกับบริติชเป็นต้นแบบด้วยกัน
ตามรัฐธรรมนูญนี้ ในทางทฤษฎีแล้ว จักรพรรดิญี่ปุ่นทรงเป็นผู้นำสูงสุด และคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีหัวหน้า คือ นายกรัฐมนตรีที่องคมนตรีเลือกมานั้น เป็นผู้รับสนองพระบัญชาอีกที แต่ในทางปฏิบัติแล้ว จักรพรรดิทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าที่แท้จริงของรัฐบาล นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ก็ไม่จำต้องมาจากการเลือกขององคมนตรีเสมอไป
วันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1946 มีการชำระรัฐธรรมนูญนี้ทั้งฉบับตามวิธีการปรกติที่กำหนดไว้สำหรับแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จนทำให้รัฐธรรมนูญนี้กลายเป็นรัฐธรรมนูญฉบับหลังสงคราม ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 เป็นต้นมา
โครงสร้าง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มี 76 มาตรา แบ่งเป็นเจ็ดหมวด โดยรวมแล้วประกอบด้วยถ้อยคำประมาณ 2,500 คำ รัฐธรรมนูญนี้มักเผยแพร่พร้อมกับคำปรารภ พระราชปฏิญญาที่ทรงกระทำในพระราชวังหลวง และพระราชหัตถเลขาประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งรวมแล้วจะทำให้มีคำเพิ่มขึ้นอีก 1,000 คำ
หมวดทั้งเจ็ด คือ
- หมวด 1 จักรพรรดิ (มาตรา 1–17)
- หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของพสกนิกร (มาตรา 18–32)
- หมวด 3 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (มาตรา 33–54)
- หมวด 4 คณะรัฐมนตรีและคณะองคมนตรี (มาตรา 55–56)
- หมวด 5 ศาล (มาตรา 57–61)
- หมวด 6 การคลัง (มาตรา 62–72)
- หมวด 7 บทเบ็ดเตล็ด (มาตรา 73–76)
บทบัญญัติหลัก
อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์
รัฐธรรมนูญนี้ตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ โดยให้เหตุผลว่า ทรงสืบเชื้อสายสวรรค์อย่างไม่ขาดตอนมาชั่วกาลนาน ซึ่งต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่อิงหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
เนื่องจากเป็นการนำระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (กษัตริย์มีอำนาจสมบูรณ์) กับระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (กษัตริย์ถูกจำกัดอำนาจด้วยรัฐธรรมนูญ) มาประสมกัน จึงมีบางบทบัญญัติที่ขัดแย้งกันเองในประเด็นจักรพรรดิหรือรัฐธรรมนูญกันแน่ที่มีอำนาจสูงสุด
มาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญนี้บัญญัติว่า จักรพรรดิทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิ สิทธิต่าง ๆ ในความเป็นอธิปไตยประมวลอยู่ในพระองค์ทั้งสิ้น อำนาจที่แบ่งเป็นสามฝ่าย คือ บริหาร, นิติบัญญัติ, ตุลาการ นั้นรวมอยู่ที่พระองค์ อย่างน้อยก็ในทางนิตินัย แต่มาตรา 5 และ 64 ระบุว่า กฎหมายและงบประมาณต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย นอกจากนี้ บางกิจการก็จะต้องกระทำในพระนามาภิไธย เช่น การออกกฎหมาย และการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
มาตรา 3 ว่า จักรพรรดิทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ซึ่งกลุ่มนิยมเจ้าแบบสุดโต่งตีความว่า หมายถึง จักรพรรดิมีพระราชอำนาจจะยกเลิกรัฐธรรมนูญหรืองดใช้บทบัญญัติบางบทก็ได้
มาตรา 11 ว่า จักรพรรดิทรงบัญชาทหารบกและทหารเรือทั้งปวง ซึ่งผู้บัญชาการทหารบกและทหารเรือตีความว่า หมายถึง ทหารทั้งปวงจะเชื่อฟังแต่พระราชโองการเท่านั้น ไม่จำต้องเชื่อฟังคณะรัฐมนตรีหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
มาตรา 55 ว่า พระราชโองการไม่มีผลเป็นกฎหมายอยู่ในตัว เว้นแต่มีรัฐมนตรีลงชื่อรับสนอง อย่างไรก็ดี จักรพรรดิมีพระราชอำนาจที่จะแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีได้ตามพระราชอัธยาศัย
สิทธิและหน้าที่ของพสกนิกร
รัฐธรรมนูญระบุว่า พสกนิกรญี่ปุ่น (Japanese subject) มีหน้าที่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ (คำปรารภ), เสียภาษี (มาตรา 21), และเป็นทหารเมื่อถูกเกณฑ์ (มาตรา 20)
รัฐธรรมนูญให้พสกนิกรบางกลุ่มมีสิทธิและเสรีภาพบางประการดังต่อไปนี้ เว้นแต่กฎหมายกำหนดไว้เป็นอื่น
- เสรีภาพในการอยู่อาศัย (มาตรา 22)
- สิทธิที่จะไม่ถูกค้นหรือบุกรุกเคหสถาน (มาตรา 25)
- สิทธิที่จะมีความเป็นส่วนตัวในการติดต่อสื่อสาร (มาตรา 26)
- สิทธิในทรัพย์สินส่วนตัว (มาตรา 27)
- เสรีภาพที่พูด ชุมนุม หรือสมาคม (มาตรา 29)
- สิทธิที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการโดยเท่าเทียมกัน (มาตรา 19)
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยชอบ (มาตรา 23)
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีในศาล (มาตรา 24)
- เสรีภาพทางศาสนา ตราบที่ไม่ขัดกับความสงบเรียบร้อยหรือหน้าที่ในฐานะพสกนิกร (มาตรา 28)
- สิทธิที่จะถวายฎีกา (มาตรา 30)
องค์กรของรัฐบาล
รัฐธรรมนูญให้จักรพรรดิมีพระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการ ประกาศสงคราม ทำสัญญาสันติภาพ ทำสนธิสัญญา ยุบสภาล่างของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และออกพระราชกำหนดในกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติอยู่นอกสมัยประชุม ที่สำคัญ คือ มีพระราชอำนาจบัญชาทั้งทัพบกทัพเรือโดยตรง รัฐธรรมนูญยังกำหนดว่า คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยรัฐธรรมนูญที่ต้องขึ้นตรงต่อจักรพรรดิ มิใช่ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และยังกำหนดให้มีคณะองคมนตรี ส่วนองค์กรที่ไม่ได้กำหนดในรัฐธรรมนูญ คือ เก็นโร (元老) ซึ่งประกอบด้วยคนวงในที่คอยถวายคำปรึกษาต่อจักรพรรดิ เป็นองค์กรที่ทรงอิทธิพลมาก
รัฐธรรมนูญนี้ให้สภานิติบัญญัติประกอบด้วยสภาย่อยสองสภา คือ สภาสูง เรียกว่า "" (貴族院; "สภาขุนนาง") ประกอบด้วย สมาชิกราชวงศ์ ขุนนาง และบุคคลอื่น ๆ ที่ทรงแต่งตั้ง กับสภาล่าง เรียกว่า "" (衆議院; "สภาปรึกษาทั่วไป") ประกอบด้วย บุคคลที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนที่เป็นชาย ชายคนไหนมีสิทธิเลือกตั้งเท่าไร ขึ้นอยู่กับว่า เสียภาษีมากน้อยเท่าไร คุณสมบัตินี้ผ่อนคลายลงใน ค.ศ. 1900 และ 1919 กระทั่ง ค.ศ. 1925 ที่เริ่มกำหนดให้ชายทุกคนมีสิทธิเสมอหน้ากันในการเลือกตั้ง
อำนาจนิติบัญญัติเป็นของสภานิติบัญญัติและจักรพรรดิ สภาและจักรพรรดิต้องเห็นชอบด้วยกันในการตรากฎหมาย แต่สภามีอำนาจร่างกฎหมาย รวมถึงพิจารณาและให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายและงบประมาณ
การแก้ไขเพิ่มเติม
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้มีกำหนดไว้ในมาตรา 73 ว่า ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจะเป็นกฎหมายได้ ต้องมาจากการเสนอของจักรพรรดิโดยการมีพระราชโองการหรือพระราชหัตถเลขาไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาทั้งสองของสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วยคะแนนะเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของแต่ละสภา จึงจะถือว่า ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเมื่อได้รับความเห็นชอบดังกล่าวแล้ว จักรพรรดิจะทรงตราร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นกฎหมาย แต่มีพระราชอำนาจเต็มที่ที่จะยับยั้งร่างนั้นได้ นอกจากนี้ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้ในช่วงที่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
แต่ไม่ว่าบทบัญญัติเหล่านี้จะว่าไว้ประการใด ก็ไม่เคยมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเลยนับแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นต้นมาจนสิ้นอำนาจลงไปใน ค.ศ. 1947
เมื่อจะยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้น มีการทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม แต่ตามมาตรา 73 ดังกล่าว ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องมาจากจักรพรรดิ จึงมีการขอพระราชานุมัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็พระราชทานให้ดังทรงแถลงไว้ในพระราชหัตถเลขาประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่คำปรารภระบุว่า มาจากการอนุมัติของปวงชนในชาติแทน เพื่อให้เป็นไปตามหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
อ้างอิง
- "Meiji Constitution | 1889, Japan". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-21.
- Hein, Patrick (2009). How the Japanese became foreign to themselves : the impact of globalization on the private and public spheres in Japan. Berlin: Lit. p. 72. ISBN .
- "Japan's Present Crisis and Her Constitution; The Mikado's Ministers Will Be Held Responsible by the People for the Peace Treaty -- Marquis Ito May Be Able to Save Baron Komura," New York Times. 3 September 1905.
- Griffin, Edward G.; ‘The Universal Suffrage Issue in Japanese Politics, 1918-25 ’; The Journal of Asian Studies, Vol. 31, No. 2 (February 1972), pp. 275-290
บรรณานุกรม
- Akamatsu, Paul. (1972). Meiji 1868: Revolution and Counter-Revolution in Japan (Miriam Kochan, translator). New York: Harper & Row.
- Akita, George. (1967). Foundations of constitutional government in modern Japan, 1868–1900. Cambridge: Harvard University Press.
- (1972). The Meiji Restoration. Stanford: Stanford University Press. ISBN ; OCLC 579232.
- Beasley, William G. (1995). The Rise of Modern Japan: Political, Economic and Social Change Since 1850. New York: St. Martin's Press. ISBN ; OCLC 695042844.
- (1961). Chōshū in the Meiji Restoration. Cambridge: Harvard University Press. OCLC 482814571.
- , and , eds. (1986). Japan in Transition: from Tokugawa to Meiji. Princeton: . ISBN ; OCLC 12311985.
- Jansen, Marius B. (2000). The Making of Modern Japan. Cambridge: . ISBN ; OCLC 44090600.
แหล่งข้อมูลอื่น
- รัฐธรรมนูญจักรวรรดิญี่ปุ่น
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
rththrrmnuyaehngckrwrrdiyipun 大日本帝國憲法 chinciit 大日本帝国憲法 thbsphth Dai Nippon Teikoku Kenpō michuxxyangimepnthangkarwa rththrrmnuyemci 明治憲法 Meiji Kenpō epnrththrrmnuykhxngckrwrrdiyipun prakasichemuxwnthi 11 kumphaphnth kh s 1889 aelaichbngkhbtngaet 29 phvscikayn kh s 1890 cnthung 2 phvsphakhm kh s 1947 rththrrmnuynitrakhunhlngcakkarfunfuemciemux kh s 1868 aelabyytiihmirupaebbkarpkkhrxngthiprasmrahwangsmburnayasiththirachykbrachathipityphayitrththrrmnuyodyichrabxbkhxngprsesiykbbritichepntnaebbdwykn tamrththrrmnuyni inthangthvsdiaelw ckrphrrdiyipunthrngepnphunasungsud aelakhnarthmntri sungmihwhna khux naykrthmntrithixngkhmntrieluxkmann epnphurbsnxngphrabychaxikthi aetinthangptibtiaelw ckrphrrdithrngepnpramukhaehngrth aelanaykrthmntriepnhwhnathiaethcringkhxngrthbal nxkcakni naykrthmntrikbrthmntrikhnxun kimcatxngmacakkareluxkkhxngxngkhmntriesmxip wnthi 3 phvscikayn kh s 1946 mikarchararththrrmnuynithngchbbtamwithikarprktithikahndiwsahrbaekikhephimetimrththrrmnuy cnthaihrththrrmnuyniklayepnrththrrmnuychbbhlngsngkhram sungichbngkhbtngaetwnthi 3 phvsphakhm kh s 1947 epntnmaokhrngsrangrththrrmnuychbbnimi 76 matra aebngepnecdhmwd odyrwmaelwprakxbdwythxykhapraman 2 500 kha rththrrmnuynimkephyaephrphrxmkbkhaprarph phrarachptiyyathithrngkrathainphrarachwnghlwng aelaphrarachhtthelkhaprakasichrththrrmnuy sungrwmaelwcathaihmikhaephimkhunxik 1 000 kha hmwdthngecd khux hmwd 1 ckrphrrdi matra 1 17 hmwd 2 siththiaelahnathikhxngphsknikr matra 18 32 hmwd 3 sphanitibyytiaehngchati matra 33 54 hmwd 4 khnarthmntriaelakhnaxngkhmntri matra 55 56 hmwd 5 sal matra 57 61 hmwd 6 karkhlng matra 62 72 hmwd 7 bthebdetld matra 73 76 bthbyytihlkxanacxthipityepnkhxngphramhakstriy rththrrmnuynitngxyubnhlkkarthiwa xanacxthipityepnkhxngphramhakstriy odyihehtuphlwa thrngsubechuxsayswrrkhxyangimkhadtxnmachwkalnan sungtangcakrththrrmnuychbbpccubnthixinghlkxanacxthipityepnkhxngpwngchn enuxngcakepnkarnarabxbsmburnayasiththirachy kstriymixanacsmburn kbrabxbrachathipityphayitrththrrmnuy kstriythukcakdxanacdwyrththrrmnuy maprasmkn cungmibangbthbyytithikhdaeyngknexnginpraednckrphrrdihruxrththrrmnuyknaenthimixanacsungsud matra 4 khxngrththrrmnuynibyytiwa ckrphrrdithrngepnpramukhkhxngckrwrrdi siththitang inkhwamepnxthipitypramwlxyuinphraxngkhthngsin xanacthiaebngepnsamfay khux brihar nitibyyti tulakar nnrwmxyuthiphraxngkh xyangnxykinthangnitiny aetmatra 5 aela 64 rabuwa kdhmayaelangbpramantxngidrbkhwamehnchxbcaksphanitibyytiaehngchatidwy nxkcakni bangkickarkcatxngkrathainphranamaphiithy echn karxxkkdhmay aelakarphicarnaphiphaksaxrrthkhdi matra 3 wa ckrphrrdithrngepnthiekharphskkara phuidcalaemidmiid sungklumniymecaaebbsudotngtikhwamwa hmaythung ckrphrrdimiphrarachxanaccaykelikrththrrmnuyhruxngdichbthbyytibangbthkid matra 11 wa ckrphrrdithrngbychathharbkaelathhareruxthngpwng sungphubychakarthharbkaelathhareruxtikhwamwa hmaythung thharthngpwngcaechuxfngaetphrarachoxngkarethann imcatxngechuxfngkhnarthmntrihruxsphanitibyytiaehngchati matra 55 wa phrarachoxngkarimmiphlepnkdhmayxyuintw ewnaetmirthmntrilngchuxrbsnxng xyangirkdi ckrphrrdimiphrarachxanacthicaaetngtngaelathxdthxnrthmntriidtamphrarachxthyasy siththiaelahnathikhxngphsknikr rththrrmnuyrabuwa phsknikryipun Japanese subject mihnathiptibtitamrththrrmnuy khaprarph esiyphasi matra 21 aelaepnthharemuxthukeknth matra 20 rththrrmnuyihphsknikrbangklummisiththiaelaesriphaphbangprakardngtxipni ewnaetkdhmaykahndiwepnxun esriphaphinkarxyuxasy matra 22 siththithicaimthukkhnhruxbukrukekhhsthan matra 25 siththithicamikhwamepnswntwinkartidtxsuxsar matra 26 siththiinthrphysinswntw matra 27 esriphaphthiphud chumnum hruxsmakhm matra 29 siththithicaidrbaetngtngepnkharachkarodyethaethiymkn matra 19 siththithicaidrbkarphicarnakhdiodychxb matra 23 siththithicaidrbkarphicarnakhdiinsal matra 24 esriphaphthangsasna trabthiimkhdkbkhwamsngberiybrxyhruxhnathiinthanaphsknikr matra 28 siththithicathwaydika matra 30 xngkhkrkhxngrthbal rththrrmnuyihckrphrrdimiphrarachxanacinkarbriharrachkaraephndin aetngtngaelathxdthxnkharachkar prakassngkhram thasyyasntiphaph thasnthisyya yubsphalangkhxngsphanitibyytiaehngchati aelaxxkphrarachkahndinkrnithisphanitibyytiaehngchatixyunxksmyprachum thisakhy khux miphrarachxanacbychathngthphbkthpheruxodytrng rththrrmnuyyngkahndwa khnarthmntriprakxbdwyrththrrmnuythitxngkhuntrngtxckrphrrdi miichtxsphanitibyytiaehngchati aelayngkahndihmikhnaxngkhmntri swnxngkhkrthiimidkahndinrththrrmnuy khux eknor 元老 sungprakxbdwykhnwnginthikhxythwaykhapruksatxckrphrrdi epnxngkhkrthithrngxiththiphlmak rththrrmnuyniihsphanitibyytiprakxbdwysphayxysxngspha khux sphasung eriykwa 貴族院 sphakhunnang prakxbdwy smachikrachwngs khunnang aelabukhkhlxun thithrngaetngtng kbsphalang eriykwa 衆議院 sphapruksathwip prakxbdwy bukhkhlthimacakkareluxktngodytrngkhxngprachachnthiepnchay chaykhnihnmisiththieluxktngethair khunxyukbwa esiyphasimaknxyethair khunsmbtiniphxnkhlaylngin kh s 1900 aela 1919 krathng kh s 1925 thierimkahndihchaythukkhnmisiththiesmxhnakninkareluxktng xanacnitibyytiepnkhxngsphanitibyytiaelackrphrrdi sphaaelackrphrrditxngehnchxbdwykninkartrakdhmay aetsphamixanacrangkdhmay rwmthungphicarnaaelaihkhwamehnchxbtxrangkdhmayaelangbpramankaraekikhephimetimkaraekikhephimetimrththrrmnuynimikahndiwinmatra 73 wa rangrththrrmnuyaekikhephimetimcaepnkdhmayid txngmacakkaresnxkhxngckrphrrdiodykarmiphrarachoxngkarhruxphrarachhtthelkhaipyngsphanitibyytiaehngchati aelarangrththrrmnuyaekikhephimetimcatxngidrbkhwamehnchxbcaksphathngsxngkhxngsphanitibyytiaehngchatidwykhaaennaesiyngimtakwasxnginsamkhxngcanwnsmachikthnghmdkhxngaetlaspha cungcathuxwa idrbkhwamehnchxbcaksphanitibyytiaehngchati aelaemuxidrbkhwamehnchxbdngklawaelw ckrphrrdicathrngtrarangrththrrmnuyaekikhephimetimihepnkdhmay aetmiphrarachxanacetmthithicaybyngrangnnid nxkcakni karaekikhephimetimrththrrmnuycakrathamiidinchwngthimiphusaercrachkaraethnphraxngkh aetimwabthbyytiehlanicawaiwprakarid kimekhymikaraekikhephimetimrththrrmnuyelynbaetrththrrmnuyprakasichepntnmacnsinxanaclngipin kh s 1947 emuxcaykelikrththrrmnuychbbninn mikarthaepnrangrththrrmnuyaekikhephimetim aettammatra 73 dngklaw rangrththrrmnuyaekikhephimetimcatxngmacakckrphrrdi cungmikarkhxphrarachanumtiaekikhephimetimrththrrmnuy sungkphrarachthanihdngthrngaethlngiwinphrarachhtthelkhaprakasichrththrrmnuy aetkhaprarphrabuwa macakkarxnumtikhxngpwngchninchatiaethn ephuxihepniptamhlkxanacxthipityepnkhxngpwngchnxangxing Meiji Constitution 1889 Japan Encyclopedia Britannica phasaxngkvs subkhnemux 2017 08 21 Hein Patrick 2009 How the Japanese became foreign to themselves the impact of globalization on the private and public spheres in Japan Berlin Lit p 72 ISBN 364310085X Japan s Present Crisis and Her Constitution The Mikado s Ministers Will Be Held Responsible by the People for the Peace Treaty Marquis Ito May Be Able to Save Baron Komura New York Times 3 September 1905 Griffin Edward G The Universal Suffrage Issue in Japanese Politics 1918 25 The Journal of Asian Studies Vol 31 No 2 February 1972 pp 275 290brrnanukrmAkamatsu Paul 1972 Meiji 1868 Revolution and Counter Revolution in Japan Miriam Kochan translator New York Harper amp Row Akita George 1967 Foundations of constitutional government in modern Japan 1868 1900 Cambridge Harvard University Press 1972 The Meiji Restoration Stanford Stanford University Press ISBN 9780804708159 OCLC 579232 Beasley William G 1995 The Rise of Modern Japan Political Economic and Social Change Since 1850 New York St Martin s Press ISBN 9780312127510 OCLC 695042844 1961 Chōshu in the Meiji Restoration Cambridge Harvard University Press OCLC 482814571 and eds 1986 Japan in Transition from Tokugawa to Meiji Princeton ISBN 9780691054599 OCLC 12311985 Jansen Marius B 2000 The Making of Modern Japan Cambridge ISBN 9780674003347 OCLC 44090600 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb rththrrmnuyemci wikisxrs mingantnchbbekiywkb Constitution of the Empire of Japan rththrrmnuyckrwrrdiyipun