พระราชวังจันทน์ ตั้งอยู่ติดกับ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กองทัพภาคที่ 3 ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เป็นที่ตั้งศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในอดีตยังเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ปัจจุบัน กรมศิลปากร ได้เข้ามาทำการบูรณะค้นหาแนวเขตพระราชวังจันทน์ ระยะที่ 1 เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทางเข้าศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ | |
ที่ตั้งของพระราชวังจันทน์ในประเทศไทย พระราชวังจันทน์ (ประเทศไทย) | |
ที่ตั้ง | ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก |
---|---|
ประเภท | พระราชวัง |
ความเป็นมา | |
ผู้สร้าง | พระมหาธรรมราชาที่ 1 |
สร้าง | ไม่ปรากฏ |
ละทิ้ง | ไม่ปรากฏ |
สมัย | สุโขทัย – อยุธยา |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
ค้นพบ | ก่อน พ.ศ. 2444 |
ขุดค้น | พ.ศ. 2537 |
ผู้ขุดค้น | กรมศิลปากร |
สภาพ | เหลือเพียงฐานอิฐ |
ผู้บริหารจัดการ | กรมศิลปากร |
การเปิดให้เข้าชม | ทุกวัน 09.00-16.00 น. |
พระราชวังจันทน์ | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ที่ตั้ง | อำเภอเมืองพิษณุโลก |
เมือง | จังหวัดพิษณุโลก |
ประเทศ | ไทย |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
เป็นที่รู้จักจาก | สถานที่ประสูติและที่ประทับของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
ประวัติ
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) เป็นพระราชโอรสใน พระยาเลอไท พระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง ของอาณาจักรสุโขทัย ทรงครองกรุงสุโขทัยระหว่าง พ.ศ. 1890 - พ.ศ. 1904 ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 6 ของราชวงศ์พระร่วง พระมหาธรรมราชาที่ 1 เสด็จครองราชสมบัติ กรุงสุโขทัย ณ เมืองพิษณุโลก และทรงครองเมืองพิษณุโลกระหว่าง พ.ศ. 1905 - พ.ศ. 1912 เป็นเวลา 7 ปี พระองค์ทรงสร้างพระราชวังจันทน์บนเนินดินบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน และสันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงอยุธยา
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองพิษณุโลกใน พ.ศ. 2006 ทรงใช้พระราชวังจันทน์เป็นที่ประทับตลอด เชื่อว่ามีการก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยพระองค์ด้วย จากนั้นพระราชวังจันทน์ก็มักจะเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชของกรุงศรีอยุธยาในสมัยต่อ ๆ มาจนถึงสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงให้สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่นั่น จากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีเชื้อพระวงศ์พระองค์ใดไปอยู่ที่พระราชวังจันทน์อีก
นีกอลา แฌร์แวซ ชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2224–29 ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เขียนบันทึกกล่าวถึงพระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลกตอนหนึ่งใน ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (Histoire Naturelle et Politique du Royaume de Siam) ว่า :-
เมืองนี้แต่ก่อนนี้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของพระเจ้าแผ่นดิน ทุกวันนี้ยังมีพระที่นั่งองค์เก่า ๆ เหลือให้เห็นอยู่ มีอาณาเขตโดยรอบประมาณหนึ่งลี้ กำแพงอิฐที่ล้อมรอบนั้นนับเป็นชิ้นเอกที่สุดของพระราชฐาน: 42
การค้นพบ
ภายหลังพระราชวังจันทน์ได้ร้างลงและไม่มีใครสนใจอีก จนกระทั่งปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุระยะทางไปพิษณุโลกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จตรวจราชการเมืองพิษณุโลก ใน พ.ศ. 2444 โปรดให้ขุนศรเทพบาล สำรวจจังหวัดจัดทำผังพระราชวังจันทน์
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสังเวยเทพารักษ์ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2444 มีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า มีซากพระราชวังก่อด้วยอิฐ สูงพ้นดิน 2-3 ศอกเศษ มีพระที่นั่งคล้าย ในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี มีกำแพงวัง 2 ชั้น มีสระสองพี่น้องอยู่นอกกำแพงวัง ภายหลังปรักหักพังเป็นป่ารกในสงครามอะแซหวุ่นกี้ตีเมืองพิษณุโลก
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงทูลตอบสาส์นของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เกี่ยวกับการค้นพบพระราชวังจันทน์ใน สาส์นสมเด็จ ด้วยลายพระหัตถ์เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2483 ว่า :-
ครั้งหนึ่งหม่อมฉันขึ้นไปเมืองพิษณุโลก ไปถามหาของโบราณในเมืองนั้น เขาบอกว่ามีวังจันทเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินแต่โบราณอยู่ทางฝั่งตะวันตก หม่อมฉันไปตรวจดูก็เห็นจริงดังเขาบอก จึงสั่งให้ถางถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทอดพระเนตร วังจันทนั้นคงสร้างเมื่อครั้งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นไปประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก แลเป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และสมเด็จพระนเรศวรเมื่อทรงครองเมืองพิษณุโลกในชั้นหลังต่อมา
การขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน
ใน พ.ศ. 2475 โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ได้ย้ายมาจากบริเวณ วัดนางพญา มาตั้งในพื้นที่พระราชวังจันทน์ จึงมีการปรับพื้นที่ก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ มาเป็นลำดับ
ใน พ.ศ. 2535 โรงเรียนจะก่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้นที่บริเวณสนามบาสเกตบอลใกล้ต้นโพธิ์ใหญ่ ขณะที่คนงานก่อสร้างขุดหลุมเสาฐานรากได้พบซากอิฐเก่า กรมศิลปากรจึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 มีพื้นที่ 128 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา ตามหนังสือ ที่ ศธ 07/4954 เพื่อให้กรมศิลปากรเข้ามาบูรณะพระราชวังจันทน์เป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ โรงเรียนจึงต้องจัดหาสถานที่แห่งใหม่ เพื่อเตรียมการย้ายโรงเรียนเป็นครั้งที่ 3 ออกไปยังสถานที่แห่งใหม่ต่อไป
การย้ายโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
พ.ศ. 2548 โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ทั้งหมดได้ย้ายออกจากเขตพระราชวังจันทน์ไปบริเวณบึงแก่งใหญ่จนแล้วเสร็จ เริ่มรื้อถอนอาคารเรียนในเขตพระราชวังจันทน์ออกทั้งหมด และปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อดำเนินการบูรณะพระราชวังจันทน์ต่อไป
การจัดตั้งศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์
บริเวณพื้นที่พระราชวังจันทน์ ถูกจัดตั้งเป็น "ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์" เป็นที่ตั้งศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และมีศูนย์การเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนและนักเรียนนักศึกษา
นอกจากนี้ยังมี “อาคารพระสวัสดิราช” ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่พระราชวังจันทน์ มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยทรงปั้นหยา สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2456 สำหรับเป็นบ้านพักและที่ทำการของเจ้าพนักงานป่าไม้ภาคพิษณุโลก มีพื้นที่ใช้สอย 532 ตารางเมตร โครงสร้างทำจากไม้เนื้อแข็งและไม้สัก โครงหลังคามีรูปทรงปั้นหยา มีมุขหน้าทรงจั่ว หลังจากที่มีการก่อสร้าง อาคารสำนักงานป่าไม้ภาคพิษณุโลกขึ้น ในปี พ.ศ. 2467 ได้ใช้อาคารหลังนี้ เป็นบ้านพักของผู้อำนวยการป่าไม้เขตพิษณุโลก และผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 ตามลำดับ
อ้างอิง
- รู้จัก “พระราชวังจันทน์” ที่ประทับของพระนเรศวรมหาราช ขณะทรงพระเยาว์
- พระราชวังจันทน์ จาก ททท.
- แชรแวส, นีโกลาส์ และสันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). (2506). Histoire naturelle et Politique du Royaume de Siam [ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)]. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร: ก้าวหน้า. 324 หน้า. ISBN
- นริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา และดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. "สาส์นสมเด็จ: ทูลสนองความในลายพระหัตถ์ฉบับลงวันที่ ๑๐ ธันวาคม", ศิลปากร, 15(1); (พฤษภาคม 2514): 21.
- วังจันทน์ : ทางเลือกของความสำคัญทางประวัติศาสตร์
- ทรงคุณค่า “พระราชวังจันทน์” ที่ประทับของพระนเรศวรมหาราช แหล่งเรียนรู้คู่เมืองพิษณุโลก
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูล
- โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเทศกาลต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพิษณุโลก. ตามรอยบรรพกษัตริย์ไทยใต้เบื้องพระยุคลบาทในเมืองพิษณุโลก. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], พ.ศ. 2549. ISBN
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phrarachwngcnthn tngxyutidkb khaysmedcphranerswrmharach kxngthphphakhthi 3 thnnwngcnthn tablinemuxng xaephxemuxngphisnuolk cnghwdphisnuolk epnthitngsalsmedcphranerswrmharach inxdityngekhyepnthitngkhxngorngeriynphisnuolkphithyakhm pccubn krmsilpakr idekhamathakarburnakhnhaaenwekhtphrarachwngcnthn rayathi 1 esrcsinepnthieriybrxyaelwphrarachwngcnthnthangekhasunyprawtisastrphrarachwngcnthnthitngkhxngphrarachwngcnthninpraethsithyaesdngaephnthicnghwdphisnuolkphrarachwngcnthn praethsithy aesdngaephnthipraethsithythitngtablinemuxng xaephxemuxngphisnuolk cnghwdphisnuolkpraephthphrarachwngkhwamepnmaphusrangphramhathrrmrachathi 1srangimpraktlathingimpraktsmysuokhthy xyuthyahmayehtuekiywkbsthanthikhnphbkxn ph s 2444khudkhnph s 2537phukhudkhnkrmsilpakrsphaphehluxephiyngthanxithphubriharcdkarkrmsilpakrkarepidihekhachmthukwn 09 00 16 00 n phrarachwngcnthnkhxmulthwipthitngxaephxemuxngphisnuolkemuxngcnghwdphisnuolkpraethsithykarxxkaebbaelakarkxsrangepnthiruckcaksthanthiprasutiaelathiprathbkhxng smedcphranerswrmharachprawtiphramhathrrmrachathi 1 liith epnphrarachoxrsin phrayaelxith phramhakstriyxngkhthi 4 aehngrachwngsphrarwng khxngxanackrsuokhthy thrngkhrxngkrungsuokhthyrahwang ph s 1890 ph s 1904 thrngkhunkhrxngsirirachsmbti epnphramhakstriy phraxngkhthi 6 khxngrachwngsphrarwng phramhathrrmrachathi 1 esdckhrxngrachsmbti krungsuokhthy n emuxngphisnuolk aelathrngkhrxngemuxngphisnuolkrahwang ph s 1905 ph s 1912 epnewla 7 pi phraxngkhthrngsrangphrarachwngcnthnbnenindinbnfngtawntkkhxngaemnanan aelasnnisthanwaekhyepnthiprathbkhxngphramhakstriyithymatngaetsmysuokhthy cnthungxyuthya emuxsmedcphrabrmitrolknath kstriyaehngkrungsrixyuthyathrngyayrachthanimaxyuthiemuxngphisnuolkin ph s 2006 thrngichphrarachwngcnthnepnthiprathbtlxd echuxwamikarkxsrangephimetiminsmyphraxngkhdwy caknnphrarachwngcnthnkmkcaepnthiprathbkhxngphramhaxuprachkhxngkrungsrixyuthyainsmytx macnthungsmykhxngsmedcphramhathrrmrachathirachthrngihsmedcphranerswresdcipprathbxyu n thinn caknnkimpraktwamiechuxphrawngsphraxngkhidipxyuthiphrarachwngcnthnxik nikxla aechraews chawfrngessthiedinthangekhamayngkrungsrixyuthyaemuxpi ph s 2224 29 trngkbrchkalsmedcphranaraynmharach idekhiynbnthukklawthungphrarachwngcnthn emuxngphisnuolktxnhnungin prawtisastrthrrmchatiaelakaremuxngaehngrachxanackrsyam Histoire Naturelle et Politique du Royaume de Siam wa emuxngniaetkxnniepnthiprathbaeprphrarachthankhxngphraecaaephndin thukwnniyngmiphrathinngxngkheka ehluxihehnxyu mixanaekhtodyrxbpramanhnungli kaaephngxiththilxmrxbnnnbepnchinexkthisudkhxngphrarachthan 42 karkhnphbomedlcalxngphrarachwngcnthntamphlkarsuksathiesnxodysnti elksukhum phayhlngphrarachwngcnthnidranglngaelaimmiikhrsnicxik cnkrathngprakthlkthanincdhmayehturayathangipphisnuolkkhxngsmedcphraecabrmwngsethx ecafakrmphrayanrisranuwdtiwngs esdctrwcrachkaremuxngphisnuolk in ph s 2444 oprdihkhunsrethphbal sarwccnghwdcdthaphngphrarachwngcnthn txmaphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw esdcsngewyethpharks wnthi 17 tulakhm ph s 2444 miphrarachhtthelkhaiwwa misakphrarachwngkxdwyxith sungphndin 2 3 sxkess miphrathinngkhlay inphrarachwngnaraynrachniewsn cnghwdlphburi mikaaephngwng 2 chn misrasxngphinxngxyunxkkaaephngwng phayhlngprkhkphngepnparkinsngkhramxaaeshwunkitiemuxngphisnuolk smedcphraecabrmwngsethx krmphrayadarngrachanuphaphthrngthultxbsasnkhxngsmedcphraecabrmwngsethx ecafakrmphrayanrisranuwdtiwngsekiywkbkarkhnphbphrarachwngcnthnin sasnsmedc dwylayphrahtthemuxwnthi 10 thnwakhm ph s 2483 wa khrnghnunghmxmchnkhunipemuxngphisnuolk ipthamhakhxngobraninemuxngnn ekhabxkwamiwngcnthepnthiprathbkhxngphraecaaephndinaetobranxyuthangfngtawntk hmxmchniptrwcdukehncringdngekhabxk cungsngihthangthwaysmedcphraphuththecahlwngthxdphraentr wngcnthnnkhngsrangemuxkhrngsmedcphrabrmitrolknathesdckhunipprathbxyu n emuxngphisnuolk aelepnthiprathbkhxngsmedcphramhathrrmrachathirach aelasmedcphranerswremuxthrngkhrxngemuxngphisnuolkinchnhlngtxmakarkhunthaebiynepnobransthanin ph s 2475 orngeriynphisnuolkphithyakhm idyaymacakbriewn wdnangphya matnginphunthiphrarachwngcnthn cungmikarprbphunthikxsrangxakharsthanthitang maepnladb in ph s 2535 orngeriyncakxsrangxakhareriyn 4 chnthibriewnsnambasektbxlikltnophthiihy khnathikhnngankxsrangkhudhlumesathanrakidphbsakxitheka krmsilpakrcungidkhunthaebiynepnobransthan emuxwnthi 26 phvscikayn ph s 2536 miphunthi 128 ir 2 ngan 50 tarangwa tamhnngsux thi sth 07 4954 ephuxihkrmsilpakrekhamaburnaphrarachwngcnthnepnxnusrnsthanthangprawtisastr orngeriyncungtxngcdhasthanthiaehngihm ephuxetriymkaryayorngeriynepnkhrngthi 3 xxkipyngsthanthiaehngihmtxipkaryayorngeriynphisnuolkphithyakhmph s 2548 orngeriynphisnuolkphithyakhm thnghmdidyayxxkcakekhtphrarachwngcnthnipbriewnbungaekngihycnaelwesrc erimruxthxnxakhareriyninekhtphrarachwngcnthnxxkthnghmd aelaprbprungphumithsn ephuxdaeninkarburnaphrarachwngcnthntxipkarcdtngsunyprawtisastrphrarachwngcnthnbriewnphunthiphrarachwngcnthn thukcdtngepn sunyprawtisastrphrarachwngcnthn epnthitngsalsmedcphranerswrmharach aelamisunykareriynrudanprawtisastrephuxepnaehlngeriynruihkbprachachnaelankeriynnksuksa nxkcakniyngmi xakharphraswsdirach tngxyuinekhtphunthiphrarachwngcnthn milksnaepnsthaptykrrmithythrngpnhya srangemuxpi ph s 2456 sahrbepnbanphkaelathithakarkhxngecaphnknganpaimphakhphisnuolk miphunthiichsxy 532 tarangemtr okhrngsrangthacakimenuxaekhngaelaimsk okhrnghlngkhamirupthrngpnhya mimukhhnathrngcw hlngcakthimikarkxsrang xakharsanknganpaimphakhphisnuolkkhun inpi ph s 2467 idichxakharhlngni epnbanphkkhxngphuxanwykarpaimekhtphisnuolk aelaphuxanwykarsankbriharphunthixnurksthi 4 tamladbxangxingruck phrarachwngcnthn thiprathbkhxngphranerswrmharach khnathrngphraeyaw phrarachwngcnthn cak ththth aechraews nioklas aelasnt th okmlbutr aepl 2506 Histoire naturelle et Politique du Royaume de Siam prawtisastrthrrmchatiaelakaremuxngaehngrachxanackrsyam inaephndinsmedcphranaraynmharach aeplody snt th okmlbutr phrankhr kawhna 324 hna ISBN 978 616 4 37035 7 nrisranuwdtiwngs smedc ecafakrmphraya aeladarngrachanuphaph smedc krmphraya sasnsmedc thulsnxngkhwaminlayphrahtthchbblngwnthi 10 thnwakhm silpakr 15 1 phvsphakhm 2514 21 wngcnthn thangeluxkkhxngkhwamsakhythangprawtisastr thrngkhunkha phrarachwngcnthn thiprathbkhxngphranerswrmharach aehlngeriynrukhuemuxngphisnuolkduephimsrasxnghxngaehlngkhxmulokhrngkarsngesrimkarthxngethiywinethskaltang tamyuththsastrkarphthnacnghwdphisnuolk tamrxybrrphkstriyithyitebuxngphrayukhlbathinemuxngphisnuolk m p th m p ph ph s 2549 ISBN 9747859629 bthkhwamxakhar hrux sthanthisakhyniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldk