บทความนี้ต้องการการจัดหน้า หรือ ให้ คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้เพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
สัต/สัตว์ หรือ ความเป็น (อังกฤษ: being; กรีก: ὤν; ละติน: Esse) ในทางปรัชญาหมายถึง สิ่งที่ดำรงอยู่จริง หรือเป็นอยู่จริง รวมไปถึงสภาวะความดำรงอยู่ของสิ่งนั้น
อนึ่งคำว่า "สัตว์" มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตว่า सत्त्व (สตฺตฺว) แปลว่า ความเป็น (being) ซึ่งในภาษาไทยได้นำคำนี้ไปใช้เรียก สิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์ (animal)
ภววิทยาเป็นสาขาในวิชาปรัชญาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัต โดยสัตเป็นมโนทัศน์ (concept) หรือแนวคิดที่ครอบคลุมถึงลักษณะทั้งในเชิงภาวะวิสัย และอัตวิสัยของความเป็นจริงและการดำรงอยู่ สิ่งใด ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในสัตก็จะถูกเรียกว่าสัตเช่นกัน ตลอดประวัติศาสตร์ทางความคิดในวิชาปรัชญาตะวันตก ความเข้าใจในเรื่องสัตเป็นสิ่งที่ไม่ชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงกันตลอดมา นับตั้งแต่จุดกำเนิดของวัฒนธรรมทางปรัชญาของตะวันตก (กล่าวคือนับตั้งแต่ความพยายามของปรัชญาในยุคก่อนโสเครตีส ที่จะทำความเข้าใจมัน)
นักปรัชญาตะวันตกคนแรกที่พยายามจำแนกและนิยามแนวคิดเรื่องสัต คือพาร์เมนิดีส ผู้กล่าวว่า "whatever is is, and what is not cannot be." ("สิ่งใดที่ เป็นขึ้น ย่อม เป็น ส่วนสิ่งใดที่มิเป็นขึ้นย่อม มิอาจเป็น ได้") โดยพาร์เมนิดีสเชื่อว่า ทุกสิ่งที่มีอยู่หรือเป็นอยู่แล้ว (ὅπως ἐστίν) ย่อมมีสภาวะเป็นอมตะนิรันดร์ ไร้กาลเวลาและไม่เปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้สิ่งใดที่เป็นขึ้น ย่อมเป็นขึ้นมาอย่างสมบูรณ์มาตั้งแต่ต้น ส่วนความเปลี่ยนแปลงที่เราเห็นนั้นเป็นสิ่งลวง เพราะความ "กลายเป็น" (becoming) ก็เป็นเช่นเดียวกับ "ความไม่เป็น" นั่นเอง
มาร์ทีน ไฮเด็กเกอร์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน เป็นผู้นำแนวคิดทางภววิทยาเรื่องสัตกลับมาศึกษาใหม่โดยละเอียด และใช้คำเยอรมันว่า Dasein เพื่อพัฒนาทฤษฎีของตนเกี่ยวกับสัต จนนำไปสู่การตีพิมพ์ผลงานเล่มสำคัญเมื่อ ปี ค.ศ. 1927 เรื่อง Sein und Zeit หรือ Being and Time (ภาวะกับกาล) ไฮเด็กเกอร์เชื่อว่าความคิดเกี่ยวกับสัตเป็นมโนทัศน์ที่ลึกที่สุดของปรัชญาตะวันตก ที่ไม่ได้รับความเอาใจใส่จากวงการปรัชญา มาตั้งแต่สมัยหลังอริสโตเติล ไฮเด็กเกอร์มีอิทธิพลกว้างขวางมากต่อวงการปรัชญาสมัยใหม่ในภาคพื้นทวีปยุโรป ทำให้มีการหยิบยืมหลักการทางภววิทยาของไฮเด็กเกอร์มาใช้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์อย่างกว้างขวาง ทั้งด้านจิตวิทยามนุษย์ และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสื่อและเทคโนโลยี
อ้างอิง
- Heidegger, the day , p. 27: "this entity which each of us is himself ... we shall denote by the term 'Dasein'."
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamnitxngkarkarcdhna cdhmwdhmu islingkphayin hruxekbkwadenuxha ihmikhunphaphdikhun khunsamarthprbprungaekikhbthkhwamniid aelanapayxxk phicarnaichpaykhxkhwamxunephuxchichdkhxbkphrxng st stw hrux khwamepn xngkvs being krik ὤn latin Esse inthangprchyahmaythung singthidarngxyucring hruxepnxyucring rwmipthungsphawakhwamdarngxyukhxngsingnn xnungkhawa stw miraksphthmacakphasasnskvtwa सत त व st t w aeplwa khwamepn being sunginphasaithyidnakhaniipicheriyk singmichiwitthiepnstw animal phwwithyaepnsakhainwichaprchyathisuksaekiywkbst odystepnmonthsn concept hruxaenwkhidthikhrxbkhlumthunglksnathnginechingphawawisy aelaxtwisykhxngkhwamepncringaelakardarngxyu singid thiekhamamiswnrwminstkcathukeriykwastechnkn tlxdprawtisastrthangkhwamkhidinwichaprchyatawntk khwamekhaicineruxngstepnsingthiimchdecn aelaepnthithkethiyngkntlxdma nbtngaetcudkaenidkhxngwthnthrrmthangprchyakhxngtawntk klawkhuxnbtngaetkhwamphyayamkhxngprchyainyukhkxnosekhrtis thicathakhwamekhaicmn nkprchyatawntkkhnaerkthiphyayamcaaenkaelaniyamaenwkhideruxngst khuxpharemnidis phuklawwa whatever is is and what is not cannot be singidthi epnkhun yxm epn swnsingidthimiepnkhunyxm mixacepn id odypharemnidisechuxwa thuksingthimixyuhruxepnxyuaelw ὅpws ἐstin yxmmisphawaepnxmtanirndr irkalewlaaelaimepliynaeplng dwyehtunisingidthiepnkhun yxmepnkhunmaxyangsmburnmatngaettn swnkhwamepliynaeplngthieraehnnnepnsinglwng ephraakhwam klayepn becoming kepnechnediywkb khwamimepn nnexng marthin ihedkekxr nkprchyachaweyxrmn epnphunaaenwkhidthangphwwithyaeruxngstklbmasuksaihmodylaexiyd aelaichkhaeyxrmnwa Dasein ephuxphthnathvsdikhxngtnekiywkbst cnnaipsukartiphimphphlnganelmsakhyemux pi kh s 1927 eruxng Sein und Zeit hrux Being and Time phawakbkal ihedkekxrechuxwakhwamkhidekiywkbstepnmonthsnthilukthisudkhxngprchyatawntk thiimidrbkhwamexaiciscakwngkarprchya matngaetsmyhlngxrisotetil ihedkekxrmixiththiphlkwangkhwangmaktxwngkarprchyasmyihminphakhphunthwipyuorp thaihmikarhyibyumhlkkarthangphwwithyakhxngihedkekxrmaichephuxthakhwamekhaicekiywkbkhwamepnmnusyxyangkwangkhwang thngdancitwithyamnusy aelakhwamsmphnthkhxngmnusykbsuxaelaethkhonolyixangxingHeidegger the day p 27 this entity which each of us is himself we shall denote by the term Dasein