ศาสตราจารย์ ธีรยุทธ บุญมี (เกิด 10 มกราคม พ.ศ. 2493) เป็นนักวิชาการ นักวิจารณ์การเมือง และนักเขียนรางวัลศรีบูรพา อดีตเลขาธิการ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา เคยเป็นอาจารย์ประจำ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ สาขามนุษยวิทยา ในปี พ.ศ. 2555ด้วยวิธีพิเศษ
ธีรยุทธ บุญมี | |
---|---|
เกิด | 10 มกราคม พ.ศ. 2493 |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | ศาสตราจารย์, นักวิชาการ, นักเคลื่อนไหว |
ประวัติ
ธีรยุทธ บุญมี เกิดในครอบครัวที่ยากจน มีบิดาเป็นทหาร เขารับศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย บิดาชื่อนายฉิม บุญมี มารดาชื่อนางสมจิตร บุญมี มีนิสัยรักการอ่านมาแต่เด็ก หัวดี และเรียนเก่ง มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์เป็นพิเศษ ด้วยความสนใจเขาได้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ส่งนิตยสารอย่างและชัยพฤกษ์ตอนอยู่ ม.ศ. 4-5[] เขาได้รู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เช่น ศ.ดร. ระวี ภาวิไล ซึ่งเป็นรุ่นพี่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และ ศ.ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต และได้มีโอกาสสนทนากับนักวิทยาศาสตร์ทั้งสอง ส่วนด้านงานเขียนเขาก็สนิทสนมคลุกคลีกับ สุจิตต์ วงษ์เทศ และ เสถียร จันทิมาธร ซึ่งเป็นนักเขียนแถวสยามรัฐ
ชีวิตนักศึกษา
ธีรยุทธ บุญมี สมัครสอบเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย ปัญหาความยากจนของทางบ้าน เขาจึงเลือกที่เป็นวิศวกรแทนที่จะไปทางสายวิทยาศาตร์ที่ชอบเนื่องจากเขาสอบติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นที่หนึ่งของประเทศในสายวิทยาศาสตร์ ด้วยคะแนน 91.90 เปอร์เซนต์ในปี พ.ศ. 2511 เขาไม่สามารถสมัครสอบทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนต่อต่างประเทศเช่นเดียวกับผู้สอบได้อันดับหนึ่งคนอื่นๆ ด้วยเหตุผลว่าอายุเกิน แต่เนื่องจากวิชาทางวิศวกรรมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ทำให้เขาหันเหความสนใจไปด้านกิจกรรมตอนเป็นนิสิต จากกิจกรรมเชิงวิชาการ ขยับมาเป็นกิจกรรมด้านสังคม
ธีรยุทธ บุญมี เข้าเป็นสมาชิกศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างนิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และได้เป็นเลขาธิการเมื่อปี พ.ศ. 2515 ช่วงนั้น ศนท. มีบทบาททางการเมืองในการรณรงค์เรียกร้องต่างๆ เช่นการรณรงค์ให้ชื้อสินค้าไทยและไม่ซื้อสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น เรื่อง เป็นต้น
เหตุการณ์ 14 ตุลา
ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ธีรยุทธ บุญมี เป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งกลุ่มเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจำนวน 100 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อขอรัฐธรรมนูญคืนจากรัฐบาลเผด็จการซึ่งนำโดยจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งวันนั้นเป็นวันเสาร์ สมาชิกกลุ่มจำนวน 25 คน ได้ไปถือโปสเตอร์ แจกใบปลิว หนังสือ และบัตรลงประชามติที่ตลาดนัดสนามหลวง ในวันนั้นเป็นหนึ่งใน 11 คนที่ถูกตำรวจสันติบาลจับกุม ตรวจค้นบ้านและยึดเอกสารใบปลิว
เมื่อมีการเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุม จนกระทั่งมีการเดินขบวนในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในที่สุด ธีรยุทธและผู้ที่ถูกจับกุมคนอื่น ๆ ก็ได้รับการปล่อยตัว และหลังจากนั้น ธีรยุทธยังได้เป็นหนึ่งในแกนนำของผู้ชุมนุมเข้าเจรจากับทางรัฐบาล จนได้ข้อสรุปเพียงพอที่จะยุติการชุมนุม แต่ทว่าสถานการณ์ในส่วนของผู้ชุมนุมเริ่มที่จะควบคุมความสงบไม่อยู่แล้ว เนื่องจากรอคอยผลการเจรจาเป็นเวลานาน ประกอบกับจำนวนผู้ชุมนุมที่มาก ทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร เมื่อทางธีรยุทธออกมา และพบกับสถานการณ์เช่นนี้ ก็ได้ขอผู้ที่ทำการนำผู้ชุมนุม ขึ้นรถปราศรัยชี้แจงกับผู้ชุมนุมด้วยตนเอง เพื่อที่จะให้ยุติการชุมนุมลงโดยสงบ แต่ทว่าในที่สุดก็เกิดการปะทะและนองเลือดกันในรุ่งเช้าวันต่อมา
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา และชีวิตการทำงาน
เมื่อปี พ.ศ. 2519 ได้เดินทางไปใช้ชีวิตในป่าแถบจังหวัดน่าน และเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ในฐานะเลขานุการประสานงานผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย เป็นเวลาถึงสี่ปีครึ่ง ก่อนจะเดินทางไปทำงานวิจัยในสาขาปรัญชาและสังคมวิทยาที่สถาบันสังคมศึกษา ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้วุฒิเทียบเท่าปริญญาโท และศึกษาต่อปริญญาเอกที่ ประเทศเดียวกัน ใน แต่ไม่ได้สอบวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกก็เลิกเรียนเสียก่อน (ปัจจุบันจึงยังเป็น Phil.D. Candidate อยู่)
หลังจากเรียนจบ ก็สมัครทำงานเป็นวิศวกรของบริษัทเอกชนอยู่ระยะหนึ่ง เคยทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันสังคมศึกษา ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และทำงานวิจัยให้กับ ประเทศเยอรมนี เมื่อกลับเมืองไทยในปี พ.ศ. 2528 จึงเริ่มบทบาททางการเมือง ในฐานะนักคิด นักวิชาการ นักปรัชญา โดยทำการวิจารณ์การเมืองและสำรวจประชามติ เคยเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
ปัจจุบัน ธีรยุทธเป็นอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คิดว่าตัวเองเป็นนักคิดมากกว่านักเขียน จึงเน้นการทำงานด้านวิชาการ โดยพยายามเขียนหนังสือ ตำรา และบทความทางวิชาการ พร้อมโจมตีการทำงานของรัฐบาลอย่างสม่ำเสมอ
งานทางวิชาการ
ธีรยุทธ บุญมี มีผลงานเขียนและปาฐกถาวิจารณ์การเมืองจำนวนมาก เขาได้รับรางวัลศรีบูรพา ในปี พ.ศ. 2549 ร่วมกับเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ตัวอย่างงานเขียนและบทวิเคราะห์ในช่วงเวลาไม่นานมานี้ เช่น สังคม วัฒนธรรมหลังการเลือกตั้ง ก.พ.2548 การเปลี่ยนแปลงสังคม วัฒนธรรม การเมือง ครั้งที่ 2 ของไทย 2007-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, อนาคตการเมืองไทยและนโยบายของรัฐบาลทักษิณ 2 2006-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และ รัฐธรรมนูญแบบภูมิปัญญาไทย ซึ่งสนับสนุนการทำรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549
ในช่วงหลังรัฐประหาร 19 กันยายน ปัญญาชนหลายฝ่ายวิจารณ์ธีรยุทธว่าเขาอาศัยสถานภาพนักวิชาการไปสนับสนุนการรัฐประหารจนเกินขอบเขตที่เหมาะสม ข้อเสนอของธีรยุทธเรื่อง โครงสร้างการเมืองแบบไทย และ รัฐธรรมนูญแบบภูมิปัญญาไทย ถูกวิจารณ์ว่าเป็นข้อเสนอที่มุ่งฟื้นฟูการเมืองแบบอำมาตยาธิปไตยผ่านบทบาทของศาลและชนชั้นนำกลุ่มอื่นๆ ไม่ต่างกับแนวคิด "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" ที่เผด็จการทหารในช่วง 2519-2531 ใช้ในการอธิบายการเมืองไทย[]
ผลงานหนังสือ
- แวน เดอ โพสต์, ลอเรนส์, ธีรยุทธ บุญมี [แปล]. บทเพลงปลาวาฬ. กรุงเทพฯ : วัลยา, [ม.ป.ป.].
- ธีรยุทธ บุญมี. ความคิดหลังตะวันตก. กรุงเทพฯ : สายธาร, [ม.ป.ป.].
- ธีรยุทธ บุญมี. ชาตินิยมและหลังชาตินิยม. กรุงเทพฯ : สายธาร, [ม.ป.ป.].
- ธีรยุทธ บุญมี. สังคมเข้มแข็ง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มิ่งมิตร, 2536.
- ลามูร์, หลุยส์, ธีรยุทธ บุญมี [แปล]. ปรัชญาคาวบอยของหลุยส์ ลามูร์ : แผ่นดิน กาแฟ และผู้หญิง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มิ่งมิตร, 2537.
- ธีรยุทธ บุญมี. ปรัชญาแห่งความเอื้ออาทร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : วัลยา, 2537.
- ธีรยุทธ บุญมี. ปรัชญาแห่งการปฏิรูปการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : วัลยา, 2540.
- ธีรยุทธ บุญมี. ภาพรวมการเมือง สังคม วัฒนธรรมไทย 2000. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2543.
- ธีรยุทธ บุญมี. สายไปเสียแล้ว. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อิมเมจ, 2544.
- ธีรยุทธ บุญมี. ถอดรื้อปรัชญา และศิลปะแบบตะวันตกเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สายธาร, 2546.
- ธีรยุทธ บุญมี. พหุนิยม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2546.
- ธีรยุทธ บุญมี. ความหลากหลายของชีวิต : ความหลากหลายทางวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สายธาร, 2547.
- ธีรยุทธ บุญมี. ทิศทางประเทศไทย เมื่อโลกหยุดค้อมหัวให้ตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มติชน, 2547.
- ธีรยุทธ บุญมี. Road Map ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สายธาร, 2547.
- ธีรยุทธ บุญมี. การเปลี่ยนแปลงสังคม วัฒนธรรม การเมือง ครั้งที่ 2 ของไทย. กรุงเทพฯ : สายธาร, 2548.
- ธีรยุทธ บุญมี. ฝ่ากรงขังสีเทา. กรุงเทพฯ : สายธาร, 2548.
- ธีรยุทธ บุญมี. ตุลาการภิวัฒน์. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2549.
- ธีรยุทธ บุญมี. การเดินทางในจิตใจ บทตริตรองชีวิตและธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : สายธาร, 2550.
- ธีรยุทธ บุญมี. ขุนเขา ความงาม และมิ่งมิตร. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2550.
- ธีรยุทธ บุญมี. ความคิด สองทศวรรษ. กรุงเทพฯ : มติชน, 2550.
- ธีรยุทธ บุญมี. ฤๅษีเลี้ยงเต่า. กรุงเทพฯ : สายธาร, 2550.
- ธีรยุทธ บุญมี. การปฏิวัติสัญศาสตร์ของโซซูร์ เส้นทางสู่โพสต์โมเดอร์นิสม์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : วิภาษา, 2551.
- ธีรยุทธ บุญมี. มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : วิภาษา, 2551.
- ธีรยุทธ บุญมี. โลก Modern & Post modern. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สายธาร, 2552.
หนังสือที่เกี่ยวกับธีรยุทธ
- เริงศักดิ์ ปานเจริญ. ธีรยุทธ บุญมี กับ ณรงค์ กิตติขจร กุหลาบพันธุ์เดียวแต่ต่างสี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จักรานุกูลการพิมพ์, 2517.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
อ้างอิง
- อนุมัติ "ศ" 15 รายจาก ไทยรัฐ
- สาขามนุษย์วิทยา
- (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 2017-03-16.
- ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2007-09-04.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-09. สืบค้นเมื่อ 2007-09-04.
- นักวิจัยจากต่างประเทศ
- ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นตํ่ากว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓๗, ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓
- ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๕๑, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
- ประสาร มฤคพิทักษ์, เรื่องดีๆ ของคนดีๆ
แหล่งข้อมูลอื่น
- "เด็กไทยมีความสามารถมากกว่าระบบ" ธีรยุทธ บุญมี[]
- คนเดือนตุลา 2516
- นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ธีรยุทธ บุญมี - เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
- คำวิจารณ์แนวความคิดของธีรยุทธ บุญมี โดยศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ 2007-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คำวิจารณ์จากวารสารฟ้าเดียวกัน ฉบับรัฐประหาร ๑๙ กันยายน
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
sastracary thiryuthth buymi ekid 10 mkrakhm ph s 2493 epnnkwichakar nkwicarnkaremuxng aelankekhiynrangwlsriburpha xditelkhathikar sunyklangnisitnksuksaaehngpraethsithy phunanksuksainehtukarn 14 tula ekhyepnxacarypraca khnasngkhmwithyaaelamanusywithya mhawithyalythrrmsastr idrbaetngtngepnsastracary sakhamnusywithya inpi ph s 2555dwywithiphiessthiryuthth buymiekid10 mkrakhm ph s 2493 74 pi sychatiithyxachiphsastracary nkwichakar nkekhluxnihwprawtithiryuthth buymi ekidinkhrxbkhrwthiyakcn mibidaepnthhar ekharbsuksaradbmthymthiorngeriynswnkuhlabwithyaly bidachuxnaychim buymi mardachuxnangsmcitr buymi minisyrkkarxanmaaetedk hwdi aelaeriynekng mikhwamsnicdanwithyasastrepnphiess dwykhwamsnicekhaidekhiynniyaywithyasastrsngnitysarxyangaelachyphvkstxnxyu m s 4 5 txngkarxangxing ekhaidruckkbnkwithyasastrthimichuxesiyng echn s dr rawi phawiil sungepnrunphiorngeriynswnkuhlabwithyaly aela s dr sippnnth ektutht aelaidmioxkassnthnakbnkwithyasastrthngsxng swndannganekhiynekhaksnithsnmkhlukkhlikb sucitt wngseths aela esthiyr cnthimathr sungepnnkekhiynaethwsyamrth chiwitnksuksa thiryuthth buymi smkhrsxbekhaeriynkhnawiswkrrmsastrinradbmhawithyaly pyhakhwamyakcnkhxngthangban ekhacungeluxkthiepnwiswkraethnthicaipthangsaywithyasatrthichxbenuxngcakekhasxbtidkhnawiswkrrmsastr culalngkrnmhawithyaly idepnthihnungkhxngpraethsinsaywithyasastr dwykhaaenn 91 90 epxresntinpi ph s 2511 ekhaimsamarthsmkhrsxbthunelaeriynhlwngiperiyntxtangpraethsechnediywkbphusxbidxndbhnungkhnxun dwyehtuphlwaxayuekin aetenuxngcakwichathangwiswkrrmsastrepnwithyasastrprayukt thaihekhahnehkhwamsnicipdankickrrmtxnepnnisit cakkickrrmechingwichakar khybmaepnkickrrmdansngkhm thiryuthth buymi ekhaepnsmachiksunyklangnisitnksuksaaehngpraethsithy snth sungepnkhwamrwmmuxrahwangnisitnksuksacaksthabnxudmsuksatang aelaidepnelkhathikaremuxpi ph s 2515 chwngnn snth mibthbaththangkaremuxnginkarrnrngkheriykrxngtang echnkarrnrngkhihchuxsinkhaithyaelaimsuxsinkhacakpraethsyipun eruxng epntn ehtukarn 14 tula inehtukarn 14 tulakhm ph s 2516 thiryuthth buymi epnhnunginsmachikkxtngklumephuxeriykrxngrththrrmnuycanwn 100 khn miwtthuprasngkhephuxkhxrththrrmnuykhuncakrthbalephdckarsungnaodycxmphlthnxm kittikhcr emux 9 tulakhm ph s 2516 sungwnnnepnwnesar smachikklumcanwn 25 khn idipthuxopsetxr aeckibpliw hnngsux aelabtrlngprachamtithitladndsnamhlwng inwnnnepnhnungin 11 khnthithuktarwcsntibalcbkum trwckhnbanaelayudexksaribpliw emuxmikareriykrxngihplxytwphuthithukcbkum cnkrathngmikaredinkhbwninwnthi 13 tulakhm ph s 2516 inthisud thiryuththaelaphuthithukcbkumkhnxun kidrbkarplxytw aelahlngcaknn thiryuththyngidepnhnunginaeknnakhxngphuchumnumekhaecrcakbthangrthbal cnidkhxsrupephiyngphxthicayutikarchumnum aetthwasthankarninswnkhxngphuchumnumerimthicakhwbkhumkhwamsngbimxyuaelw enuxngcakrxkhxyphlkarecrcaepnewlanan prakxbkbcanwnphuchumnumthimak thaihekidxupsrrkhinkarsuxsar emuxthangthiryuththxxkma aelaphbkbsthankarnechnni kidkhxphuthithakarnaphuchumnum khunrthprasrychiaecngkbphuchumnumdwytnexng ephuxthicaihyutikarchumnumlngodysngb aetthwainthisudkekidkarpathaaelanxngeluxdkninrungechawntxma hlngehtukarn 14 tula aelachiwitkarthangan emuxpi ph s 2519 idedinthangipichchiwitinpaaethbcnghwdnan aelaedinthangiptamsthanthitang inthanaelkhanukarprasannganphurkchati rkprachathipity epnewlathungsipikhrung kxncaedinthangipthanganwicyinsakhaprychaaelasngkhmwithyathisthabnsngkhmsuksa n krungehk praethsenethxraelnd idwuthiethiybethapriyyaoth aelasuksatxpriyyaexkthi praethsediywkn in aetimidsxbwithyaniphnthpriyyaexkkelikeriynesiykxn pccubncungyngepn Phil D Candidate xyu hlngcakeriyncb ksmkhrthanganepnwiswkrkhxngbristhexkchnxyurayahnung ekhythanganepnnkwicythisthabnsngkhmsuksa n krungehk praethsenethxraelnd aelathanganwicyihkb praethseyxrmni emuxklbemuxngithyinpi ph s 2528 cungerimbthbaththangkaremuxng inthanankkhid nkwichakar nkprchya odythakarwicarnkaremuxngaelasarwcprachamti ekhyepnrxngphuxanwykarfaywichakar pccubn thiryuththepnxacarypracakhnasngkhmwithyaaelamanusywithya mhawithyalythrrmsastr khidwatwexngepnnkkhidmakkwankekhiyn cungennkarthangandanwichakar odyphyayamekhiynhnngsux tara aelabthkhwamthangwichakar phrxmocmtikarthangankhxngrthbalxyangsmaesmxnganthangwichakarthiryuthth buymi miphlnganekhiynaelapathkthawicarnkaremuxngcanwnmak ekhaidrbrangwlsriburpha inpi ph s 2549 rwmkbesksrrkh praesrithkul twxyangnganekhiynaelabthwiekhraahinchwngewlaimnanmani echn sngkhm wthnthrrmhlngkareluxktng k ph 2548 karepliynaeplngsngkhm wthnthrrm karemuxng khrngthi 2 khxngithy 2007 02 16 thi ewyaebkaemchchin xnakhtkaremuxngithyaelanoybaykhxngrthbalthksin 2 2006 12 10 thi ewyaebkaemchchin aela rththrrmnuyaebbphumipyyaithy sungsnbsnunkartharthprahar 19 knyayn ph s 2549 inchwnghlngrthprahar 19 knyayn pyyachnhlayfaywicarnthiryuththwaekhaxasysthanphaphnkwichakaripsnbsnunkarrthpraharcnekinkhxbekhtthiehmaasm khxesnxkhxngthiryuththeruxng okhrngsrangkaremuxngaebbithy aela rththrrmnuyaebbphumipyyaithy thukwicarnwaepnkhxesnxthimungfunfukaremuxngaebbxamatyathipityphanbthbathkhxngsalaelachnchnnaklumxun imtangkbaenwkhid prachathipityaebbithy thiephdckarthharinchwng 2519 2531 ichinkarxthibaykaremuxngithy txngkarxangxing phlnganhnngsuxaewn edx ophst lxerns thiryuthth buymi aepl bthephlngplawal krungethph wlya m p p ISBN 978 974 89060 5 8 thiryuthth buymi khwamkhidhlngtawntk krungethph saythar m p p ISBN 978 974 9609 28 6 thiryuthth buymi chatiniymaelahlngchatiniym krungethph saythar m p p ISBN 978 974 9609 55 2 thiryuthth buymi sngkhmekhmaekhng phimphkhrngthi 1 krungethph mingmitr 2536 ISBN 974 89159 1 3 lamur hluys thiryuthth buymi aepl prchyakhawbxykhxnghluys lamur aephndin kaaef aelaphuhying phimphkhrngthi 1 krungethph mingmitr 2537 ISBN 974 89203 6 4 thiryuthth buymi prchyaaehngkhwamexuxxathr phimphkhrngthi 1 krungethph wlya 2537 thiryuthth buymi prchyaaehngkarptirupkaremuxng phimphkhrngthi 1 krungethph wlya 2540 ISBN 974 89498 1 8 thiryuthth buymi phaphrwmkaremuxng sngkhm wthnthrrmithy 2000 krungethph sankngankxngthunsnbsnunkarwicy 2543 thiryuthth buymi sayipesiyaelw phimphkhrngthi 1 krungethph ximemc 2544 ISBN 974 88384 5 5 thiryuthth buymi thxdruxprchya aelasilpaaebbtawntkepnsunyklang phimphkhrngthi 1 krungethph saythar 2546 ISBN 974 8468 93 3 thiryuthth buymi phhuniym phimphkhrngthi 1 krungethph sankngankhnakrrmkarwicyaehngchati 2546 thiryuthth buymi khwamhlakhlaykhxngchiwit khwamhlakhlaythangwthnthrrm phimphkhrngthi 3 krungethph saythar 2547 ISBN 974 9609 49 2 thiryuthth buymi thisthangpraethsithy emuxolkhyudkhxmhwihtawntk phimphkhrngthi 1 krungethph mtichn 2547 ISBN 974 323 242 7 thiryuthth buymi Road Map praethsithy krungethph saythar 2547 ISBN 978 974 9609 29 3 thiryuthth buymi karepliynaeplngsngkhm wthnthrrm karemuxng khrngthi 2 khxngithy krungethph saythar 2548 ISBN 974 9609 63 X thiryuthth buymi fakrngkhngsietha krungethph saythar 2548 ISBN 978 974 9609 85 9 thiryuthth buymi tulakarphiwthn krungethph wiyyuchn 2549 ISBN 974 288 449 8 thiryuthth buymi karedinthangincitic bthtritrxngchiwitaelathrrmchati krungethph saythar 2550 ISBN 978 974 09 5451 4 thiryuthth buymi khunekha khwamngam aelamingmitr krungethph wiyyuchn 2550 ISBN 978 974 09 3689 3 thiryuthth buymi khwamkhid sxngthswrrs krungethph mtichn 2550 ISBN 978 974 02 0030 7 thiryuthth buymi visieliyngeta krungethph saythar 2550 ISBN 978 974 7170 31 3 thiryuthth buymi karptiwtisysastrkhxngossur esnthangsuophstomedxrnism phimphkhrngthi 1 krungethph wiphasa 2551 ISBN 978 974 518 433 6 thiryuthth buymi miechl fuokt Michel Foucault phimphkhrngthi 1 krungethph wiphasa 2551 ISBN 978 974 16 3795 9 thiryuthth buymi olk Modern amp Post modern phimphkhrngthi 5 krungethph saythar 2552 ISBN 978 974 7056 08 1hnngsuxthiekiywkbthiryuththeringskdi panecriy thiryuthth buymi kb nrngkh kittikhcr kuhlabphnthuediywaettangsi phimphkhrngthi 1 krungethph orngphimphckranukulkarphimph 2517 ekhruxngrachxisriyaphrnph s 2552 ekhruxngrachxisriyaphrnxnepnthiechidchuyingchangephuxk chnthi 2 thwitiyaphrnchangephuxk th ch ph s 2548 ekhruxngrachxisriyaphrnxnmiekiyrtiysyingmngkudithy chnthi 2 thwitiyaphrnmngkudithy th m xangxingxnumti s 15 raycak ithyrth sakhamnusywithya PDF khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2018 06 19 subkhnemux 2017 03 16 prawtisastrkarsuksa wnmhawipoykh 14 tula 16 6 tula 19 ody aeplk ekhmphila ISBN 974 7753 87 1 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 10 11 subkhnemux 2007 09 04 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 06 09 subkhnemux 2007 09 04 nkwicycaktangpraeths rachkiccanuebksa prakassanknaykrthmntri eruxng phrarachthanekhruxngrachxisriyaphrnxnepnthiechidchuyingchangephuxkaelaekhruxngrachxisriyaphrnxnmiekiyrtiysyingmngkudithy chntakwasaysaphay pracapi 2552 elm 127 txnthi 6 kh hna 37 6 mithunayn 2553 rachkiccanuebksa prakassanknaykrthmntri eruxng phrarachthanekhruxngrachxisriyaphrnxnepnthiechidchuyingchangephuxkaelaekhruxngrachxisriyaphrnxnmiekiyrtiysyingmngkudithy elm 123 txnthi 14 kh hna 51 27 mithunayn 2553 prasar mvkhphithks eruxngdi khxngkhndiaehlngkhxmulxun edkithymikhwamsamarthmakkwarabb thiryuthth buymi lingkesiy khneduxntula 2516 nkekhiynrangwlsriburpha thiryuthth buymi esksrrkh praesrithkul khawicarnaenwkhwamkhidkhxngthiryuthth buymi odysiortm khlamiphbuly 2007 01 14 thi ewyaebkaemchchin khawicarncakwarsarfaediywkn chbbrthprahar 19 knyayn