สถาบันปาสเตอร์ หรือสถานปาสเตอร์ (อังกฤษ: Pasteur Institute, ฝรั่งเศส: Institut Pasteur) เป็นองค์กรวิจัยซึ่งไม่หวังผลกำไร เริ่มดำเนินการขึ้นในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2430 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2431 วัตถุประสงค์ของสถาบันคือ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยในด้านชีววิทยา จุลชีพ โรค และวัคซีน ปัจจุบันมีสาขาในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ
ผู้ก่อตั้งสถาบันคือ หลุยส์ ปาสเตอร์ นักเคมีชาวฝรั่งเศสผู้วางรากฐานการแพทย์สมัยใหม่ โดยได้คิดค้นการพาสเจอไรซ์ซึ่งเป็นเทคนิคการฆ่าเชื้อในอาหารแบบหนึ่ง นอกจากนี้เขายังได้คิดค้นวัคซีนต้านไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า และแบคทีเรียโรคแอนแทรกซ์
สถาบันปาสเตอร์ถือเป็นสถาบันแนวหน้าในการต่อสู้กับโรคติดต่อนานาชนิดมากว่าศตวรรษแล้ว เช่น โรคคอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ ตลอดจนเป็นสถานที่ทำงานของนักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลหลายคน
ประวัติและผลงาน
แองสติชู ปาสเตอ หรือสถาบันปาสเตอร์ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2430 โดยหลุยส์ ปาสเตอร์ นักเคมีและจุลชีววิทยาชาวฝรั่งเศส โดยมุ่งหมายให้เป็นสถานค้นคว้าศึกษาของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับจุลชีววิทยาทั้งทางด้านการวิจัยพื้นฐาน และการวิจัยต่อยอดประยุกต์ โดยปาสเตอร์ได้รวบรวมนักวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาต่าง ๆ มารวมอยู่ด้วยกันในสถาบันของเขา ห้าแผนกแรกของสถาบันมีดังนี้
- แผนกวิจัยจุลชีววิทยาทั่วไป มีเอมิล ดูโคลซ์ (Émile Duclaux) เป็นหัวหน้า
- แผนกวิจัยสุขอนามัยและจุลชีพ มีชาร์ล จงแบร์ลองด์ (Charles Chamberland) เป็นหัวหน้า
- แผนกวิจัยการเปลี่ยนสัณฐานของจุลชีพ มีอิลยา อิลยิช เมชนิคอฟ (Ilya Ilyich Mechnikov) ชาวรัสเซีย เป็นหัวหน้า
- แผนกวิจัยโรคพิษสุนัขบ้า มีนายแพทย์ชาก-โชเซฟ กรองเชร์ (Jacques-Joseph Grancher) เป็นหัวหน้า
- แผนกวิจัยจุลชีพเชิงเทคนิค มีนายแพทย์เอมิล รูซ์ (Emile Roux) เป็นหัวหน้า
หลังจากก่อตั้งเพียงหนึ่งปี รูซ์ได้เปิดหลักสูตรจุลชีววิทยาเป็นหลักสูตรแรกของโลกในชื่อ กูร์ เดอ มิโกรบี เตกนิค (Cours de Microbie Technique;หลักสูตรว่าด้วยเทคนิคทางจุลชีพ) ในระยะแรก สถาบันได้ประสบปัญหาทางการเงินซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล เจ้านายต่างประเทศ และชนชั้นสูง ในเวลาต่อมาก็ได้รับเงินสนับสนุนจากการขายวัคซีนเพื่อเป็นทุนหล่อเลี้ยงสถาบัน
สถาบันมีบทบาทสำคัญมากในด้านสุขศาสตร์ทหาร โดยเฉพาะระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งทางสถาบันต้องรับมือกับเชื้อโรคประเภทต่าง ๆ รวมถึงจำนวนผู้ป่วยที่มีเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังต้องให้วัคซีนโรคไข้รากสาดใหญ่กับทหารเพราะต้องดื่มน้ำจากลำธาร หรือน้ำฝน ภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2457 สถาบันได้ผลิตวัคซีนถึง 670,000 ชุด และคงผลิตต่อไปตลอดสงคราม และตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง นักวิจัยสถาบันปาสเตอร์มุ่งมั่นศึกษาวิจัยในด้านชีววิทยาโมเลกุล
สถาบันเป็นที่ทำงานของนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น
- เอมิล รูซ์ และอะเล็กซองดร์ แยร์แซง (Alexandre Yersin) ค้นพบกลไกการทำงานของแบคทีเรียคอตีบ Corynebacterium diphtheriae และการกำจัดด้วยยาปฏิชีวนะ
- อะเล็กซองดร์ แยร์แซง ค้นพบเชื้อโรคที่ทำให้เกิดกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง Yersinia pestis พ.ศ. 2437
- เออร์เนสต์ ดุชเชสน์ (Ernest Duchesne) ปริญญานิพนธ์กล่าวถึงการใช้เชื้อ Penicillium glaucum ในการรักษาโรค พ.ศ. 2440 (ซึ่งอาจสามารถช่วยเหลือชีวิตทหารและพลเรือนในสงครามโลกจำนวนมาก)
- ปอล-หลุย ซีมงด์ (Paul-Louis Simond) ค้นพบบทบาทของหมัด ในการแพร่กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง พ.ศ. 2441
- อัลแบร์ กัลเมตต์ (Albert Calmette) และเอมิล เกแรง (Camille Guérin) ค้นพบวิธีการเพาะเชื้อวัณโรครูปแท่ง Mycobacterium tuberculosis [จึงเรียกวัคซีนป้องกันวัณโรคว่า เบเซเช/บีซีจี ซึ่งมาจาก บาซิลลัส กัลเมตต์-เกแรง (Bacillus Calmette-Guérin) ต่อมา วัคซีนพัฒนา พ.ศ. 2464 ถือเป็นวัคซีนต้านโรควัณโรคที่ใช้งานได้เป็นแบบแรก]
- อัลฟองซ์ ลาเวรอง (Alphonse Laveran) ค้นพบบทบาทของโปรโตซัวกับการแพร่เชื้อไข้ป่า (รางวัลโนเบล พ.ศ. 2450)
- อีลี เมตช์นิคอฟ (Élie Metchnikoff) เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน (รางวัลโนเบล พ.ศ. 2451)
- คอนสแตนติน เลวาดิติ (Constantin Levaditi) และคาร์ล ลันด์ชไตน์เนอร์ (Karl Landsteiner) แสดงให้เห็นว่าไวรัสโปลิโอสามารถกำจัดได้ พ.ศ. 2453
- เฟลิกซ์ เดเรลล์ (Félix d'Herelle) ค้นพบ "ตัวกินแบคทีเรีย" หรือแบคทีริโอฟาจ (bacteriophage) ซึ่งเป็นไวรัสแพร่ในบรรดาแบคทีเรีย พ.ศ. 2460
- ชูลส์ บอร์เดต์ (Jules Bordet) ค้นพบระบบภูมิต้านทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของแอนติบอดี และกลไกการกำจัดแอนติเจน (รางวัลโนเบล พ.ศ. 2462)
- ชาร์ล นิกอล (Charles Nicolle) อธิบายการแพร่เชื้อไข้รากสาดน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ผ่านเหา (รางวัลโนเบล พ.ศ. 2471)
- ชอง เลเกรต์ (Jean Laigret) พัฒนาวัคซีนโรคไข้เหลือง พ.ศ. 2475
- อองดร์ ลูฟ (André Lwoff) ค้นพบโปรไวรัส พ.ศ. 2494
- ปิแยร์ เลปีน (Pierre Lépine) พัฒนาวัคซีนโปลิโอหนึ่งในตัวแรก เมื่อ พ.ศ. 2497
- แดเนียล โบเวต (Daniel Bovet) ค้นพบและสังเคราะห์ สารต้านฮิสตามีน (ยาแก้แพ้) (รางวัลโนเบล พ.ศ. 2500)
- ฟรองซัว ชาคอบ (François Jacob) ชาก โมนอด์ (Jacques Monod) และ อองดร์ ลูฟ ค้นพบวิธีควบคุมไวรัส (รางวัลโนเบล พ.ศ. 2508)
- ชอง-ปีแยร์ ชาโญว์ (Jean-Pierre Changeux) แยกตัวรับสารสื่อประสาทตัวแรกคือ ตัวรับอะซิติลโคลีน พ.ศ. 2513
- ปีแยร์ ตีโอลเลย์ (Pierre Tiollais) และคณะ พัฒนาวัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดบี วัคซีนในคนตัวแรกที่ได้จากการดัดแปรพันธุกรรมเซลล์สัตว์ พ.ศ. 2528
- ลุก มองตาเญียร์ (Luc Montagnier) ฟรองซัว บาร์-ซีนูสซี (Françoise Barré-Sinoussi) และคณะ ค้นพบไวรัสเอชไอวีสองชนิดที่ทำให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เอดส์) พ.ศ. 2526 (รางวัลโนเบล พ.ศ. 2551)
ในยุคปัจจุบันก็ได้มีการผลิตยาป้องกันโรคหลายชนิดได้แก่ วัคซีนวัณโรค คอตีบ บาดทะยัก ไข้เหลือง โปลิโอ และตับอักเสบชนิดบี เป็นต้น รวมถึงการค้นพบซัลโฟเอไมด์สำหรับการรักษาการติดเชื้อ กการค้นพบสารต้านพิษ
สาขาในประเทศต่าง ๆ
สถาบันปาสเตอร์เป็นหนึ่งในสถาบันวิจัยชั้นนำของโลก มีหน่วยวิจัยกว่า 100 หน่วย และนักวิจัยพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กว่า 2,700 คน ในจำนวนนี้มีนักวิทยาศาสตร์ทำงานประจำ 500 คน และนักวิจัยต่างชาติชั่วคราว 600 คน จาก 70 ประเทศทั่วโลก หมุนเวียนมาทำวิจัยทุกปี นอกจากนี้ ยังมีสาขาทั่วโลกกว่า 24 สาขา มุ่งเน้นทำวิจัยกับโรคภัยไข้เจ็บในประเทศกำลังพัฒนา ต่อไปนี้เป็นรายชื่อที่ตั้งสถาบันปาสเตอร์ในประเทศต่าง ๆ
- กรุงแอลเจียร์ ประเทศแอลจีเรีย
- กรุงบังกี ประเทศแอฟริกากลาง
- กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
- เมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล
- กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
- กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล
- เมืองลีย์ ประเทศฝรั่งเศส
- เกาะกัวเดอลุป (กลางมหาสมุทรแปซิฟิก) ประเทศฝรั่งเศส
- เมืองกาแยน เฟรนช์เกียนา
- เมืองโฮจิมินห์ ญาจาง และ ฮานอย ประเทศเวียดนาม
- กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน
- เมืองอาบีจาน ประเทศไอวอรีโคสต์
- กรุงอันตานานาริโว ประเทศมาดากัสการ์
- เมืองกาซาบล็องกา ประเทศโมร็อกโก
- เมืองนูเมอา นิวแคลิโดเนีย
- เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย
- กรุงตูนิส ประเทศตูนีเซีย
- กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ
- กรุงมอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย
- กรุงโซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย
- กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย
- กรุงนีอาเม ประเทศไนเจอร์
- กรุงยาอุนเด, ประเทศแคเมอรูน
- กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
- เมืองซั่งไห่ สาธารณรัฐประชาชนจีน
- มูลนิธิปาสเตอร์ นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
- มูลนิธิปาสเตอร์แคนาดา เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา
- สถาบันวิจัยปาสเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง ฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน
- สถาบันปาสเตอร์อินเดีย เมือง ประเทศอินเดีย
ศูนย์วิจัย
ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์มีศูนย์วิจัยหลัก อยู่ 10 สาขา ได้แก่
- ชีววิทยาและการติดเชื้อในเซลล์
- ชีววิทยาการเจริญ
- พันธุศาสตร์
- วิทยาภูมิคุ้มกัน (immunology)
- วิทยาการระบาด (epidemiology)
- จุลชีววิทยา
- ประสาทศาสตร์
- ปรสิตวิทยาและวิทยารา (mycology)
- ชีววิทยาและเคมีเชิงโครงสร้าง
- วิทยาไวรัส (virology)
และยังมี หน่วยงาน บันทึกและรักษาเอกสารประวัติศาสตร์ ตัวอย่างเชื้อโรค วารสาร และหนังสือ
ศูนย์เรียนรู้
สถาบันปาสเตอร์เป็นแหล่งเรียนรู้วิจัยทั้งนักวิจัยอาชีพและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในหลายสาขา ปัจจุบันนี้มีนักศึกษาบัณฑิตศึกษา 300 คน และนักวิจัยหลังปริญญาเอก 500 คนจาก 40 ประเทศเข้าร่วมทำวิจัย รวมถึงมีเภสัชกร แพทย์ สัตวแพทย์ นักเคมี และนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่นแวะเวียนเข้ามาทำวิจัยอยู่ประจำ
อ้างอิง
- Gascar, Pierre. La Strada di Pasteur, Jaca Book, Milano 1991. .
- Hage, Jerald and Jonathon Mote. "Transformational Organizations and a Burst of Scientific Breakthroughs," Social Science History (2010) 34#1 pp 13-46. online
- Reynolds, Moira Davison. How Pasteur Changed History: The Story of Louis Pasteur and the Pasteur Institute (1994)
- Seidel, Atherton. "Chemical research at the Pasteur Institute," Journal of Chemical Education, (1926) 3#11, p 1217+ DOI: 10.1021/ed003p1217
- Weindling, Paul. "Scientific elites and laboratory organization in fin de siècle Paris and Berlin: The Pasteur Institute and Robert Koch’s Institute for Infectious Diseases compared," in Andrew Cunningham and Perry Williams, eds. The Laboratory Revolution in Medicine (Cambridge University Press, 1992) pp: 170–88.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
sthabnpasetxr hruxsthanpasetxr xngkvs Pasteur Institute frngess Institut Pasteur epnxngkhkrwicysungimhwngphlkair erimdaeninkarkhuninfrngessemuxwnthi 4 mithunayn ph s 2430 aelathaphithiepidemuxwnthi 14 phvscikayn ph s 2431 wtthuprasngkhkhxngsthabnkhux ephuxepnaehlngsuksakhnkhwawicyindanchiwwithya culchiph orkh aelawkhsin pccubnmisakhainpraethstang hlaypraethssunykaraephthysthabnpasetxr thnnowchirad Vaugirard krungparis phukxtngsthabnkhux hluys pasetxr nkekhmichawfrngessphuwangrakthankaraephthysmyihm odyidkhidkhnkarphasecxirssungepnethkhnikhkarkhaechuxinxaharaebbhnung nxkcakniekhayngidkhidkhnwkhsintaniwrsorkhphissunkhba aelaaebkhthieriyorkhaexnaethrks sthabnpasetxrthuxepnsthabnaenwhnainkartxsukborkhtidtxnanachnidmakwastwrrsaelw echn orkhkhxtib badthayk opliox tlxdcnepnsthanthithangankhxngnkwithyasastrphuidrbrangwloneblhlaykhnprawtiaelaphlnganaexngstichu pasetx hruxsthabnpasetxrkxtngkhuninpi ph s 2430 odyhluys pasetxr nkekhmiaelaculchiwwithyachawfrngess odymunghmayihepnsthankhnkhwasuksakhxngnkwithyasastrekiywkbculchiwwithyathngthangdankarwicyphunthan aelakarwicytxyxdprayukt odypasetxridrwbrwmnkwithyasastrinsakhawichatang marwmxyudwykninsthabnkhxngekha haaephnkaerkkhxngsthabnmidngni aephnkwicyculchiwwithyathwip miexmil duokhls Emile Duclaux epnhwhna aephnkwicysukhxnamyaelaculchiph micharl cngaebrlxngd Charles Chamberland epnhwhna aephnkwicykarepliynsnthankhxngculchiph mixilya xilyich emchnikhxf Ilya Ilyich Mechnikov chawrsesiy epnhwhna aephnkwicyorkhphissunkhba minayaephthychak ochesf krxngechr Jacques Joseph Grancher epnhwhna aephnkwicyculchiphechingethkhnikh minayaephthyexmil rus Emile Roux epnhwhna hlngcakkxtngephiynghnungpi rusidepidhlksutrculchiwwithyaepnhlksutraerkkhxngolkinchux kur edx miokrbi etknikh Cours de Microbie Technique hlksutrwadwyethkhnikhthangculchiph inrayaaerk sthabnidprasbpyhathangkarenginsungidrbkarchwyehluxcakrthbal ecanaytangpraeths aelachnchnsung inewlatxmakidrbenginsnbsnuncakkarkhaywkhsinephuxepnthunhlxeliyngsthabn sthabnmibthbathsakhymakindansukhsastrthhar odyechphaarahwangsngkhramolkkhrngthihnungsungthangsthabntxngrbmuxkbechuxorkhpraephthtang rwmthungcanwnphupwythimiepncanwnmak nxkcakni yngtxngihwkhsinorkhikhraksadihykbthharephraatxngdumnacaklathar hruxnafn phayineduxnknyayn ph s 2457 sthabnidphlitwkhsinthung 670 000 chud aelakhngphlittxiptlxdsngkhram aelatngaetsngkhramolkkhrngthisxng nkwicysthabnpasetxrmungmnsuksawicyindanchiwwithyaomelkul sthabnepnthithangankhxngnkwithyasastrphumichuxesiynghlaythan echn exmil rus aelaxaelksxngdr aeyraesng Alexandre Yersin khnphbklikkarthangankhxngaebkhthieriykhxtib Corynebacterium diphtheriae aelakarkacddwyyaptichiwna xaelksxngdr aeyraesng khnphbechuxorkhthithaihekidkalorkhtxmnaehluxng Yersinia pestis ph s 2437 exxrenst duchechsn Ernest Duchesne priyyaniphnthklawthungkarichechux Penicillium glaucum inkarrksaorkh ph s 2440 sungxacsamarthchwyehluxchiwitthharaelaphleruxninsngkhramolkcanwnmak pxl hluy simngd Paul Louis Simond khnphbbthbathkhxnghmd inkaraephrkalorkhtxmnaehluxng ph s 2441 xlaebr klemtt Albert Calmette aelaexmil ekaerng Camille Guerin khnphbwithikarephaaechuxwnorkhrupaethng Mycobacterium tuberculosis cungeriykwkhsinpxngknwnorkhwa ebesech bisici sungmacak basills klemtt ekaerng Bacillus Calmette Guerin txma wkhsinphthna ph s 2464 thuxepnwkhsintanorkhwnorkhthiichnganidepnaebbaerk xlfxngs laewrxng Alphonse Laveran khnphbbthbathkhxngoprotswkbkaraephrechuxikhpa rangwlonebl ph s 2450 xili emtchnikhxf Elie Metchnikoff esrimsrangkhwamekhaicekiywkbrabbphumikhumkn rangwlonebl ph s 2451 khxnsaetntin elwaditi Constantin Levaditi aelakharl lndchitnenxr Karl Landsteiner aesdngihehnwaiwrsoplioxsamarthkacdid ph s 2453 efliks ederll Felix d Herelle khnphb twkinaebkhthieriy hruxaebkhthirioxfac bacteriophage sungepniwrsaephrinbrrdaaebkhthieriy ph s 2460 chuls bxredt Jules Bordet khnphbrabbphumitanthan odyechphaaxyangyingbthbathkhxngaexntibxdi aelaklikkarkacdaexntiecn rangwlonebl ph s 2462 charl nikxl Charles Nicolle xthibaykaraephrechuxikhraksadnxy odyechphaaxyangyingkaraephrphaneha rangwlonebl ph s 2471 chxng elekrt Jean Laigret phthnawkhsinorkhikhehluxng ph s 2475 xxngdr luf Andre Lwoff khnphbopriwrs ph s 2494 piaeyr elpin Pierre Lepine phthnawkhsinoplioxhnungintwaerk emux ph s 2497 aedeniyl obewt Daniel Bovet khnphbaelasngekhraah sartanhistamin yaaekaeph rangwlonebl ph s 2500 frxngsw chakhxb Francois Jacob chak omnxd Jacques Monod aela xxngdr luf khnphbwithikhwbkhumiwrs rangwlonebl ph s 2508 chxng piaeyr chaoyw Jean Pierre Changeux aeyktwrbsarsuxprasathtwaerkkhux twrbxasitilokhlin ph s 2513 piaeyr tioxlely Pierre Tiollais aelakhna phthnawkhsiniwrstbxkesbchnidbi wkhsininkhntwaerkthiidcakkarddaeprphnthukrrmesllstw ph s 2528 luk mxngtaeyiyr Luc Montagnier frxngsw bar sinussi Francoise Barre Sinoussi aelakhna khnphbiwrsexchixwisxngchnidthithaihekidorkhphumikhumknbkphrxng exds ph s 2526 rangwlonebl ph s 2551 inyukhpccubnkidmikarphlityapxngknorkhhlaychnididaek wkhsinwnorkh khxtib badthayk ikhehluxng opliox aelatbxkesbchnidbi epntn rwmthungkarkhnphbslofeximdsahrbkarrksakartidechux kkarkhnphbsartanphissakhainpraethstang sthabnpasetxrepnhnunginsthabnwicychnnakhxngolk mihnwywicykwa 100 hnwy aelankwicyphrxmdwyecahnathikwa 2 700 khn incanwnniminkwithyasastrthanganpraca 500 khn aelankwicytangchatichwkhraw 600 khn cak 70 praethsthwolk hmunewiynmathawicythukpi nxkcakni yngmisakhathwolkkwa 24 sakha mungennthawicykborkhphyikhecbinpraethskalngphthna txipniepnraychuxthitngsthabnpasetxrinpraethstang krungaexleciyr praethsaexlcieriy krungbngki praethsaexfrikaklang krungbrsesls praethsebleyiym emuxngesaepaol praethsbrasil krungphnmepy praethskmphucha krungdakar praethsesenklsthabnpasetxr n emuxngliy Institut Pasteur de Lille emuxngliy praethsfrngess ekaakwedxlup klangmhasmuthraepsifik praethsfrngess emuxngkaaeyn efrnchekiyna emuxngohciminh yacang aela hanxy praethsewiydnam krungetharan praethsxihran emuxngxabican praethsixwxriokhst krungxntananariow praethsmadakskar emuxngkasablxngka praethsomrxkok emuxngnuemxa niwaekhliodeniy emuxngesntpietxrsebirk praethsrsesiy krungtunis praethstuniesiy krungexethns praethskris krungmxnetwiedox praethsxurukwy krungosefiy praethsblaekeriy krungbukhaerst praethsormaeniy krungnixaem praethsinecxr krungyaxuned praethsaekhemxrun krungosl praethsekahliit emuxngsngih satharnrthprachachncin mulnithipasetxr nkhrniwyxrk shrthxemrika mulnithipasetxraekhnada emuxngmxnthrixxl praethsaekhnada sthabnwicypasetxraehngmhawithyalyhxngkng hxngkng satharnrthprachachncin sthabnpasetxrxinediy emuxng praethsxinediysunywicypccubn sthabnpasetxrmisunywicyhlk xyu 10 sakha idaek chiwwithyaaelakartidechuxinesll chiwwithyakarecriy phnthusastr withyaphumikhumkn immunology withyakarrabad epidemiology culchiwwithya prasathsastr prsitwithyaaelawithyara mycology chiwwithyaaelaekhmiechingokhrngsrang withyaiwrs virology aelayngmi hnwyngan bnthukaelarksaexksarprawtisastr twxyangechuxorkh warsar aelahnngsuxsunyeriynrusthabnpasetxrepnaehlngeriynruwicythngnkwicyxachiphaelanksuksaradbbnthitsuksainhlaysakha pccubnniminksuksabnthitsuksa 300 khn aelankwicyhlngpriyyaexk 500 khncak 40 praethsekharwmthawicy rwmthungmiephschkr aephthy stwaephthy nkekhmi aelankwithyasastrsakhaxunaewaewiynekhamathawicyxyupracaxangxingGascar Pierre La Strada di Pasteur Jaca Book Milano 1991 ISBN 88 16 40291 1 Hage Jerald and Jonathon Mote Transformational Organizations and a Burst of Scientific Breakthroughs Social Science History 2010 34 1 pp 13 46 online Reynolds Moira Davison How Pasteur Changed History The Story of Louis Pasteur and the Pasteur Institute 1994 Seidel Atherton Chemical research at the Pasteur Institute Journal of Chemical Education 1926 3 11 p 1217 DOI 10 1021 ed003p1217 Weindling Paul Scientific elites and laboratory organization in fin de siecle Paris and Berlin The Pasteur Institute and Robert Koch s Institute for Infectious Diseases compared in Andrew Cunningham and Perry Williams eds The Laboratory Revolution in Medicine Cambridge University Press 1992 pp 170 88 bthkhwamwithyasastrniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldk