จิงจฺวี้ (จีน: 京劇; พินอิน: jīngjù; "ละครเมืองหลวง") ไต้หวันเรียก กั๋วจฺวี้ (จีน: 國劇; พินอิน: guójù; "ละครของชาติ") เป็นงิ้วรูปแบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วยดนตรี การขับร้อง การแสดง การเต้น และกายกรรม เกิดขึ้นเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 แล้วได้รับการพัฒนาและยอมรับนับถืออย่างเต็มที่เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 งิ้วรูปแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในราชสำนักของราชวงศ์ชิง และถือเป็นหนึ่งในสมบัติทางวัฒนธรรมของประเทศจีน คณะนักแสดงกลุ่มหลักตั้งสำนักอยู่ ณ เป่ย์จิงและเทียนจินในภาคเหนือ กับช่างไห่ในภาคใต้ ทั้งยังอนุรักษ์กันอยู่ในไต้หวัน และเผยแพร่ไปประเทศอื่น เช่น สหรัฐ และญี่ปุ่น
จิงจฺวี้ * | |
---|---|
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก | |
นักแสดงเล่นเป็นเปาบุ้นจิ้น | |
ประเทศ | จีน |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
สาขา | ศิลปะการแสดง |
เกณฑ์พิจารณา | R.1, R.2, R.3, R.4, R.5 |
อ้างอิง | 00418 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2010 (คณะกรรมการสมัยที่ 5) |
รายการ | ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
จิงจฺวี้ใช้นักแสดงหลักอยู่สี่ประเภท คือ พระเอก เรียกว่า เชิง (生), นางเอก เรียกว่า ต้าน (旦), บทชาย เรียกว่า จิ้ง (淨), และบทตลก เรียกว่า โฉ่ว (醜) ในการแสดงจะใช้เสื้อผ้าอาภรณ์อลังการและการแต่งหน้าฉูดฉาด นักแสดงอาศัยทักษะในการพูด ร้อง เต้น และต่อสู้ด้วยท่าทางที่เป็นสัญลักษณ์มากกว่าความสมจริง นักแสดงยังยึดถือธรรมเนียมทางรูปแบบหลากหลายธรรมเนียมซึ่งช่วยให้ผู้ชมเข้าถึงเนื้อเรื่องที่แสดง การเคลื่อนไหวแต่ละอย่างจะต้องลงกับดนตรีและจังหวะเพื่อสื่อความหมาย ท่วงทำนองที่ใช้แบ่งเป็นสองประเภท คือ ซีผี (西皮) และเอ้อร์หวง (二黄) ซึ่งมีหลากรูปแบบ เช่น เพลงร้องเดี่ยว ทำนองที่ตายตัว และเสียงเครื่องกระทบ ส่วนบทละครนั้นมีกว่า 1,400 เรื่อง ซึ่งมักอิงประวัติศาสตร์ เทพปกรณัม และปัจจุบันก็ยึดโยงกับเรื่องราวในชีวิตสมัยใหม่มากขึ้น
ในการปฏิวัติวัฒนธรรมช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 จิงจฺวี้ถูกประณามว่า เป็นสิ่งตกค้างจากยุคเจ้าขุนมูลนาย และถูกแทนที่ด้วยการแสดง (樣板戲) ที่รัฐบาลปฏิวัติคิดขึ้นเพื่อโฆษณาชวนเชื่อและเผยแพร่ลัทธินิยมของตน หลังการปฏิวัติวัฒนธรรมสิ้นสุดลง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถูกยกเลิกเกือบทั้งสิ้น ปัจจุบัน มีความพยายามปฏิรูปจิงจฺวี้หลายประการเพราะคนดูลดลงเรื่อย ๆ เป็นต้นว่า พยายามเพิ่มคุณภาพในการแสดง ประยุกต์องค์ประกอบใหม่ ๆ รวมถึงเล่นเรื่องใหม่เรื่องเก่าคละกันบ้าง การปฏิรูปดังกล่าวประสบผลสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง
อ้างอิง
- Goldstein, Joshua S. (2007). Drama Kings: Players and Publics in the Re-creation of Peking Opera, 1870–1937. University of California Press. p. 3.
- Mackerras, Colin Patrick (1976). "Theatre and the Taipings". Modern China. 2 (4): 473–501. doi:10.1177/009770047600200404.
- Wichmann, Elizabeth (1990). "Tradition and Innovation in Contemporary Beijing Opera Performance". TDR. TDR (1988–), Vol. 34, No. 1. 34 (1): 146–178. doi:10.2307/1146013. JSTOR 1146013.
- Rao, Nancy Yunhwa (2000). "Racial Essences and Historical Invisibility: Chinese Opera in New York, 1930". Cambridge Opera Journal. 12 (2): 135–162. doi:10.1017/S095458670000135X.
- Wichmann, Elizabeth (1991). Listening to Theatre: The Aural Dimension of Beijing Opera. University of Hawaii Press. p. 360.
- Guy, Nancy A. (1990). "The Appreciation of Chinese Opera: A Reply to Ching-Hsi Perng (in Forum for Readers and Authors)". Asian Theatre Journal. Asian Theatre Journal, Vol. 7, No. 2. 7 (2): 254–259. doi:10.2307/1124341. JSTOR 1124341.
- Wichmann, Elizabeth (1991) p.12–16
- Lu, Xing (2004). Rhetoric of the Chinese Cultural Revolution. University of South California Press. pp. 143–150.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
cingc wi cin 京劇 phinxin jingju lakhremuxnghlwng ithwneriyk kwc wi cin 國劇 phinxin guoju lakhrkhxngchati epnngiwrupaebbhnungsungprakxbdwydntri karkhbrxng karaesdng karetn aelakaykrrm ekidkhunemuxplaykhriststwrrsthi 18 aelwidrbkarphthnaaelayxmrbnbthuxxyangetmthiemuxklangkhriststwrrsthi 19 ngiwrupaebbniepnthiniymxyangyinginrachsankkhxngrachwngsching aelathuxepnhnunginsmbtithangwthnthrrmkhxngpraethscin khnankaesdngklumhlktngsankxyu n epycingaelaethiyncininphakhehnux kbchangihinphakhit thngyngxnurksknxyuinithwn aelaephyaephrippraethsxun echn shrth aelayipuncingc wi mrdkphumipyyathangwthnthrrmodyyuensoknkaesdngelnepnepabuncinpraeths cinphumiphakh exechiyaelaaepsifiksakhasilpakaraesdngeknthphicarnaR 1 R 2 R 3 R 4 R 5xangxing00418prawtikarkhunthaebiynkhunthaebiyn2010 khnakrrmkarsmythi 5 raykartwaethnmrdkphumipyyathangwthnthrrmkhxngmnusychati chuxtamthiidkhunthaebiyninbychimrdkphumipyyathangwthnthrrmaelakarsngwnrksathidi phumiphakhthicdaebngodyyuensok cingc wiichnkaesdnghlkxyusipraephth khux phraexk eriykwa eching 生 nangexk eriykwa tan 旦 bthchay eriykwa cing 淨 aelabthtlk eriykwa ochw 醜 inkaraesdngcaichesuxphaxaphrnxlngkaraelakaraetnghnachudchad nkaesdngxasythksainkarphud rxng etn aelatxsudwythathangthiepnsylksnmakkwakhwamsmcring nkaesdngyngyudthuxthrrmeniymthangrupaebbhlakhlaythrrmeniymsungchwyihphuchmekhathungenuxeruxngthiaesdng karekhluxnihwaetlaxyangcatxnglngkbdntriaelacnghwaephuxsuxkhwamhmay thwngthanxngthiichaebngepnsxngpraephth khux siphi 西皮 aelaexxrhwng 二黄 sungmihlakrupaebb echn ephlngrxngediyw thanxngthitaytw aelaesiyngekhruxngkrathb swnbthlakhrnnmikwa 1 400 eruxng sungmkxingprawtisastr ethphpkrnm aelapccubnkyudoyngkberuxngrawinchiwitsmyihmmakkhun inkarptiwtiwthnthrrmchwngkhristthswrrs 1960 cingc withukpranamwa epnsingtkkhangcakyukhecakhunmulnay aelathukaethnthidwykaraesdng 樣板戲 thirthbalptiwtikhidkhunephuxokhsnachwnechuxaelaephyaephrlththiniymkhxngtn hlngkarptiwtiwthnthrrmsinsudlng karepliynaeplngdngklawthukykelikekuxbthngsin pccubn mikhwamphyayamptirupcingc wihlayprakarephraakhnduldlngeruxy epntnwa phyayamephimkhunphaphinkaraesdng prayuktxngkhprakxbihm rwmthungelneruxngihmeruxngekakhlaknbang karptirupdngklawprasbphlsaercbangimsaercbangxangxingGoldstein Joshua S 2007 Drama Kings Players and Publics in the Re creation of Peking Opera 1870 1937 University of California Press p 3 Mackerras Colin Patrick 1976 Theatre and the Taipings Modern China 2 4 473 501 doi 10 1177 009770047600200404 Wichmann Elizabeth 1990 Tradition and Innovation in Contemporary Beijing Opera Performance TDR TDR 1988 Vol 34 No 1 34 1 146 178 doi 10 2307 1146013 JSTOR 1146013 Rao Nancy Yunhwa 2000 Racial Essences and Historical Invisibility Chinese Opera in New York 1930 Cambridge Opera Journal 12 2 135 162 doi 10 1017 S095458670000135X Wichmann Elizabeth 1991 Listening to Theatre The Aural Dimension of Beijing Opera University of Hawaii Press p 360 Guy Nancy A 1990 The Appreciation of Chinese Opera A Reply to Ching Hsi Perng in Forum for Readers and Authors Asian Theatre Journal Asian Theatre Journal Vol 7 No 2 7 2 254 259 doi 10 2307 1124341 JSTOR 1124341 Wichmann Elizabeth 1991 p 12 16 Lu Xing 2004 Rhetoric of the Chinese Cultural Revolution University of South California Press pp 143 150