ปลากระทิงไฟ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Synbranchiformes |
วงศ์: | Mastacembelidae |
สกุล: | Mastacembelus |
สปีชีส์: | M. erythrotaenia |
ชื่อทวินาม | |
Mastacembelus erythrotaenia (Bleeker, 1850) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลากระทิงไฟ (อังกฤษ: Fire spiny eel) ปลาน้ำจืดพื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mastacembelus erythrotaenia อยู่ในวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์นี้ทั่วไป กล่าวคือ รูปร่างยาวคล้ายงูหรือปลาไหล แต่ท้ายลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางหางจะมีลักษณะแบนข้าง และส่วนหัวหรือปลายปากจะยื่นยาวและแหลม จะงอยปากล่างจะยื่นยาวกว่าจะงอยปากบน ตามีขนาดเล็ก ครีบหลัง ครีบทวาร และหางจะเชื่อมต่อติดกันเป็นครีบเดียว โดยครีบหลังตอนหน้าจะมีขนาดเล็กมากและลักษณะเป็นหยักคล้ายกับฟันเลื่อย หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็น โดยปลายหางมีลักษณะมนโค้ง ปลายค่อนข้างแหลม ไม่มีหนามใต้ตาเช่นปลากระทิงชนิดอื่น ๆ มีหนามแหลมขนาดเล็กตลอดทั้งความยาวลำตัวช่วงบนไว้เพื่อป้องกันตัว ปลากระทิงไฟจะมีรูปร่างป้อมแต่มีขนาดยาวกว่าปลากระทิง (M. armatus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน
มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดถึง 1 เมตร พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกประเทศจนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบได้ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคใต้
ปลากระทิงไฟ มีลักษณะเด่นคือ เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงามมาก อันเป็นที่มาของชื่อ โดยพื้นลำตัวมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำสนิทและประแต้มด้วยแถบสีแดงสดเป็นเส้นๆ และเป็นจุด ๆ ลักษณะคล้ายกับเส้นประ โดยลายนี้จะคาดตามความยาวจากหัวจรดหางหัวค่อนข้างแหลม ซึ่งสีของครีบจะกลมกลืนกับสีพื้นลำตัวและบริเวณขอบครีบด้านนอกเป็นสีแดงหรือสีส้ม บริเวณแนวโคนครีบมีจุดกลมสีแดงประแต้มตลอดแนวซึ่งจุดและลายแถบสีแดงเหล่านี้ขณะที่ปลายังเล็กจะเป็นสีน้ำตาลอมส้มหรือเหลือง เมื่อปลาโตขึ้นจุดและแถบลายเหล่านี้สีก็จะเข้มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสีแดงหรือสีแดงอมส้มในที่สุด แต่ปลาส่วนใหญ่สีแดงสดจะเข้มจัดเฉพาะบริเวณลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางหัว ส่วนลาย ที่อยู่ค่อนไปทางหางโดยมากจะเป็นสีแดงส้มหรือสีน้ำตาลส้ม พบน้อยตัวมากที่มีลายสีแดงเพลิงทั้งตัว
สำหรับลวดลายและสีสันทั้งหมดนี้ ยังแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องที่ สำหรับปลาที่พบในพื้นที่ภาคใต้จะมีลวดลายและสีสันแตกต่างออกไป ซึ่งภาษาใต้จะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "กระทิงลายดอก" หรือ "กระทิงลายดอกไม้"
มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางคืน โดยมักชอบหลบอยู่ใต้ซากไม้ใต้น้ำเพื่อรออาหาร ซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป
จากสีสันที่สวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่สำหรับสถานะในธรรมชาติ มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากถูกจับจากธรรมชาติมากเกินไป
อ้างอิง
- นิตยสาร Fish Zone ฉบับวันที่ระหว่าง 15 ตุลาคม-15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
แหล่งข้อมูลอื่น
- รูปและข้อมูลปลากระทิงไฟ
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
plakrathingifsthanakarxnurkskhwamesiyngta IUCN 3 1 karcaaenkchnthangwithyasastrxanackr Animaliaiflm Chordatachn Actinopterygiixndb Synbranchiformeswngs Mastacembelidaeskul Mastacembelusspichis M erythrotaeniachuxthwinamMastacembelus erythrotaenia Bleeker 1850 chuxphxngMacrognathus erythrotaenia Bleeker 1850 Mastacembelus argus 1861 plakrathingif xngkvs Fire spiny eel planacudphunemuxngkhxngithychnidhnung michuxwithyasastrwa Mastacembelus erythrotaenia xyuinwngsplakrathing Mastacembelidae miruprangehmuxnplainwngsnithwip klawkhux ruprangyawkhlaynguhruxplaihl aetthaylatwswnthixyukhxnipthanghangcamilksnaaebnkhang aelaswnhwhruxplaypakcayunyawaelaaehlm cangxypaklangcayunyawkwacangxypakbn tamikhnadelk khribhlng khribthwar aelahangcaechuxmtxtidknepnkhribediyw odykhribhlngtxnhnacamikhnadelkmakaelalksnaepnhykkhlaykbfneluxy hakimsngektcamxngimehn odyplayhangmilksnamnokhng playkhxnkhangaehlm immihnamittaechnplakrathingchnidxun mihnamaehlmkhnadelktlxdthngkhwamyawlatwchwngbniwephuxpxngkntw plakrathingifcamiruprangpxmaetmikhnadyawkwaplakrathing M armatus sungepnplathixyuinskulediywkn mikhnademuxotetmthipraman 60 esntiemtr phbihythisudthung 1 emtr phbidinphumiphakhexechiytawnxxkechiyngitthukpraethscnthungxinodniesiy sahrbinpraethsithyphbidinaehlngnakhnadihyinphakhklangaelaphakhit plakrathingif milksnaednkhux epnplathimisisnaelalwdlayswyngammak xnepnthimakhxngchux odyphunlatwmisinatalekhmcnthungdasnithaelapraaetmdwyaethbsiaedngsdepnesn aelaepncud lksnakhlaykbesnpra odylaynicakhadtamkhwamyawcakhwcrdhanghwkhxnkhangaehlm sungsikhxngkhribcaklmklunkbsiphunlatwaelabriewnkhxbkhribdannxkepnsiaednghruxsism briewnaenwokhnkhribmicudklmsiaedngpraaetmtlxdaenwsungcudaelalayaethbsiaedngehlanikhnathiplayngelkcaepnsinatalxmsmhruxehluxng emuxplaotkhuncudaelaaethblayehlanisikcaekhmkhuneruxy cnklayepnsiaednghruxsiaedngxmsminthisud aetplaswnihysiaedngsdcaekhmcdechphaabriewnlatwswnthixyukhxnipthanghw swnlay thixyukhxnipthanghangodymakcaepnsiaedngsmhruxsinatalsm phbnxytwmakthimilaysiaedngephlingthngtw sahrblwdlayaelasisnthnghmdni yngaetktangknxxkiptamaetlathxngthi sahrbplathiphbinphunthiphakhitcamilwdlayaelasisnaetktangxxkip sungphasaitcaeriykplachnidniwa krathinglaydxk hrux krathinglaydxkim miphvtikrrmhakininewlaklangkhun odymkchxbhlbxyuitsakimitnaephuxrxxahar sungidaek plakhnadelkaelastwnakhnadelkthwip caksisnthiswyngam cungniymeliyngepnplaswyngam aetsahrbsthanainthrrmchati miaenwonmwaiklsuyphnthuenuxngcakthukcbcakthrrmchatimakekinipxangxingnitysar Fish Zone chbbwnthirahwang 15 tulakhm 15 phvscikayn ph s 2544Vidthayanon C 2012 Mastacembelus erythrotaenia IUCN 2012 e T180888A1673971 doi 10 2305 IUCN UK 2012 1 RLTS T180888A1673971 en subkhnemux 14 January 2018 aehlngkhxmulxunrupaelakhxmulplakrathingif