การยึดติดหน้าที่ (อังกฤษ: functional fixedness) เป็นความลำเอียงการรู้ (cognitive bias) อย่างหนึ่งซึ่งจำกัดบุคคลให้ใช้วัตถุเฉพาะในวิถีที่ใช้กันแต่เดิม มโนทัศน์การยึดติดหน้าที่กำเนิดในจิตวิทยาเกสทัลท์ ขบวนการในวิชาจิตวิทยาซึ่งเน้นการประมวลลัทธิองค์รวม คาร์ล ดุนค์เคอร์นิยามการยึดติดหน้าที่ว่าเป็น "สิ่งขัดขวางจิตต่อการใช้วัตถุในวิถีใหม่ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขปัญหา" ซึ่ง "สิ่งขัดขวาง" นี้จำกัดความสามารถของปัจเจกบุคคลในการใช้องค์ประกอบที่กำหนดให้เพื่อทำงานให้ลุล่วง เพราะไม่สามารถก้าวข้ามความมุ่งหมายดั้งเดิมขององค์ประกอบเหล่านั้นได้ ตัวอย่างเช่น หากผู้หนึ่งต้องการที่ทับกระดาษ แต่เขามีเพียงค้อน เขาอาจไม่เห็นว่าค้อนสามารถใช้เป็นที่ทับกระดาษได้อย่างไร การยึดติดหน้าที่เป็นความไร้สามารถเห็นการใช้ค้อนเป็นอื่นนอกเหนือจากตอกตะปูนี้เอง คือ บุคคลไม่สามารถคิดใช้ค้อนในวิถีอื่นนอกจากหน้าที่ดั้งเดิมของมัน
เมื่อทดสอบ เด็กวัย 5 ขวบไม่มีสัญญาณของการยึดติดหน้าที่ มีการแย้งว่าเป็นเพราะเมื่ออายุ 5 ขวบ ทุกเป้าหมายที่บรรลุด้วยวัตถุเทียบเท่ากับเป้าหมายอื่นทั้งหมด ทว่า เมื่ออายุได้ 7 ขวบ เด็กได้รับแนวโน้มถือความมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้เดิมของวัตถุหนึ่งเป็นพิเศษ
การแก้ความลำเอียงโดยทำให้เป็นชิ้นส่วนทั่วไป
สำหรับวัตถุแต่ละอย่าง ให้แยกหน้าที่จากรูปแบบของมัน นักจิตวิทยาชาวนิวซีแลนด์ได้อธิบายเทคนิกการทำอย่างนี้ที่ได้ผลดี คือเมื่อแยกวัตถุหนึ่ง ๆ ออกเป็นชิ้นส่วน ให้ตั้งคำถามสำหรับตนเอง 2 คำถาม (1) "สามารถแยกส่วนนี้ออกเป็นชิ้นส่วนย่อย ๆ อีกไหม" ถ้าทำได้ ให้ทำเช่นนั้น (2) "ชื่อเรียก/รายละเอียดของส่วนนี้เป็นการระบุการใช้หรือไม่" ถ้าใช่ ให้หารายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับรูปร่างและวัสดุของชิ้นส่วนมาใช้แทน
ยกตัวอย่างเช่น เบื้องต้น ให้แบ่งเทียนออกเป็น 2 ส่วนคือไส้เทียนและขี้ผึ้งเทียน คำว่า "ไส้เทียน" ระบุการใช้ คือเพื่อจุดไฟให้มีแสง ดังนั้น ให้เรียกว่า "ด้าย" แต่คำว่า "ด้าย" ก็ยังระบุการใช้ ให้เรียกมันอย่างทั่ว ๆ ไปยิ่งขึ้นคือ เส้นไฟเบอร์ที่นำมาพันเกี่ยวกัน ซึ่งทำให้คิดได้ว่า สามารถนำ "ไส้เทียน" มาทำเป็นขนปลอมสำหรับหนูเลี้ยงได้ เพราะคำว่า "เส้นไฟเบอร์ที่นำมาพันเกี่ยวกัน" ไม่ได้ระบุการใช้ จึงไม่ต้องหาคำอื่นมาแทนใช้อีก
คนที่ฝึกใช้เทคนิกนี้สามารถแก้ปัญหาได้ 67% มากกว่าคนที่ยึดติดในหน้าที่ดังที่งานวิจัยพบในกลุ่มควบคุม เพราะเทคนิกนี้จะกำจัดความรู้สึกว่า ส่วนต่าง ๆ ของวัตถุสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง
อ้างอิง
- McCaffrey, Tony (2012-02-07). "Innovation Relies on the Obscure". Psychological Science. SAGE Publications. 23 (3): 215–218. doi:10.1177/0956797611429580. ISSN 0956-7976.
- "McCaffrey Develops Toolkit for Boosting Problem-solving Skills - Mechanical and Industrial Engineering - UMass Amherst". mie.umass.edu.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
karyudtidhnathi xngkvs functional fixedness epnkhwamlaexiyngkarru cognitive bias xyanghnungsungcakdbukhkhlihichwtthuechphaainwithithiichknaetedim monthsnkaryudtidhnathikaenidincitwithyaeksthlth khbwnkarinwichacitwithyasungennkarpramwllththixngkhrwm kharl dunkhekhxrniyamkaryudtidhnathiwaepn singkhdkhwangcittxkarichwtthuinwithiihmsungcaepntxngaekikhpyha sung singkhdkhwang nicakdkhwamsamarthkhxngpceckbukhkhlinkarichxngkhprakxbthikahndihephuxthanganihlulwng ephraaimsamarthkawkhamkhwammunghmaydngedimkhxngxngkhprakxbehlannid twxyangechn hakphuhnungtxngkarthithbkradas aetekhamiephiyngkhxn ekhaxacimehnwakhxnsamarthichepnthithbkradasidxyangir karyudtidhnathiepnkhwamirsamarthehnkarichkhxnepnxunnxkehnuxcaktxktapuniexng khux bukhkhlimsamarthkhidichkhxninwithixunnxkcakhnathidngedimkhxngmn emuxthdsxb edkwy 5 khwbimmisyyankhxngkaryudtidhnathi mikaraeyngwaepnephraaemuxxayu 5 khwb thukepahmaythibrrludwywtthuethiybethakbepahmayxunthnghmd thwa emuxxayuid 7 khwb edkidrbaenwonmthuxkhwammunghmaythitngiciwedimkhxngwtthuhnungepnphiesskaraekkhwamlaexiyngodythaihepnchinswnthwipsahrbwtthuaetlaxyang ihaeykhnathicakrupaebbkhxngmn nkcitwithyachawniwsiaelndidxthibayethkhnikkarthaxyangnithiidphldi khuxemuxaeykwtthuhnung xxkepnchinswn ihtngkhathamsahrbtnexng 2 khatham 1 samarthaeykswnnixxkepnchinswnyxy xikihm thathaid ihthaechnnn 2 chuxeriyk raylaexiydkhxngswnniepnkarrabukarichhruxim thaich ihharaylaexiydthwipekiywkbruprangaelawsdukhxngchinswnmaichaethn yktwxyangechn ebuxngtn ihaebngethiynxxkepn 2 swnkhuxisethiynaelakhiphungethiyn khawa isethiyn rabukarich khuxephuxcudifihmiaesng dngnn iheriykwa day aetkhawa day kyngrabukarich iheriykmnxyangthw ipyingkhunkhux esnifebxrthinamaphnekiywkn sungthaihkhididwa samarthna isethiyn mathaepnkhnplxmsahrbhnueliyngid ephraakhawa esnifebxrthinamaphnekiywkn imidrabukarich cungimtxnghakhaxunmaaethnichxik khnthifukichethkhniknisamarthaekpyhaid 67 makkwakhnthiyudtidinhnathidngthinganwicyphbinklumkhwbkhum ephraaethkhniknicakacdkhwamrusukwa swntang khxngwtthusamarthichthaxairidbangxangxingMcCaffrey Tony 2012 02 07 Innovation Relies on the Obscure Psychological Science SAGE Publications 23 3 215 218 doi 10 1177 0956797611429580 ISSN 0956 7976 McCaffrey Develops Toolkit for Boosting Problem solving Skills Mechanical and Industrial Engineering UMass Amherst mie umass edu