เรือนไทยภาคเหนือ เป็นหนึ่งในเรือนไทย 4 ภาคของไทย ส่วนมากจะพบในจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน และตากบางส่วน
ประเภท
เรือนประเภทต่าง ๆ ขึ้นตามสภาพการใช้งาน
- เรือนชนบท หรือเรือนเครื่องผูก
เป็นเรือนขนาดเล็ก เรือนประเภทนี้กันทั่วไปเนื่องจากก่อสร้างง่ายราคาถูก ตามชนบทและหมู่บ้านต่าง ๆ เรือนชนิดนี้โครงสร้างส่วนด้านหลังคาจะใช้ใบตองแห้ง ส่วนพื้นจะใช้ไม้ไผ่ ส่วนคานและเสานิยมใช้ไม้เนื้อแข็ง ฝาเป็นฝาไม้ไผ่สาน หลังคามุงด้วยหญ้าแฝกหรือใบตองแห้ง ส่วนไม้นิยมใช้ไม้ไผ่ทำเป็นตอกและหวายเป็นตัวยึดส่วนต่าง ๆ ของเรือนเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกมัด จึงเรียกกันว่า "เรือนเครื่องผูก" สร้างขึ้นกลางทุ่งนา เพื่อเฝ้าทุ่ง หรือเพื่อประโยชน์การใช้งานตามฤดูกาล มีลักษณะชั่วคราวอยู่ได้ 2-4 ปี เมื่อถึงฤดูฝนในปีหนึ่ง ๆ ต้องมีการซ่อมแซมครั้งใหญ่ มีการออกแบบโดยใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีสัดส่วนที่ลงตัว ค่อนข้างกระชับ
- เรือนไม้ หรือเรือนเครื่องสับ
เรือนไม้ เป็นเรือนของผู้มีอันจะกิน ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น สัก เต็ง รัง ตะเคียน ไม้แดง ฯลฯ การปลูกเรือนประเภทนี้ไม่ต้องใช้ตะปูตอก ยึดให้ไม้ติดกันหรือประกอบกัน โดยการใช้มีด สิ่ว หรือขวานถากไม้ให้เป็นรอยสับแล้วประกอบเข้าด้วยกัน เรียกว่า การประกอบเข้าลิ้นสลักเดือย หลังคามุงกระเบื้อง (ดินขอ) หรือแป้นเกล็ด
- เรือนกาแล
เรือนกาแล เป็นเรือนพักอาศัยทั่วไปที่คงทน (ต่างจากกระท่อม เรียกว่า ตูบ จะไม่ค่อยคงทน) มียอดจั่วเป็นกากบาท มีทั้งไม้ธรรมดาและไม้สลักอย่างงดงามตามฐานะ นิยมมุงแผ่นไม้เรียก “แป้นเกล็ด” แต่ปัจจุบันไม้เป็นวัสดุหายากมีราคาแพงจึงเปลี่ยนมาใช้ “ดินขอ” มุงหลังคาแทน ใช้วัสดุอย่างดี การช่างฝีมือสูงประณีต แต่มีแบบค่อนข้างตายตัว ส่วนใหญ่เป็นเรือนแฝด มีขนาดตั้งแต่ 1 ห้องนอนขึ้นไป เรือนกาแลจะมีแผนผัง 2 แบบใหญ่ ๆ คือ แบบเอาบันไดขึ้นตรงติดชานนอกโดด ๆ กับแบบเอาบันไดอิงชิดแนบฝาใต้ชายคาคลุม แต่ทั้งสองแบบจะใช้ร้านน้ำตั้งเป็นหน่วยโดด ๆ มีโครงสร้างของตนเอง ไม่นิยมตีฝ้าเพดาน หรือบางกลุ่มประกอบด้วยเรือนหลายหลังเป็นกลุ่มใหญ่
ความเป็นมาของกาแลนี้ มีข้อสันนิษฐานดังนี้
- คำว่า “กาแล” เพี้ยนมาจากภาษาถิ่นล้านนาคำว่า “กะแล๋” ซึ่งมีความหมายว่า กากบาท
- รูปลักษณะอาจพัฒนามาจาก แต่เดิมเป็นเรือนไม้ไผ่มุงหลังคาด้วยใบตองตึง (ใบพลวง) ซึ่งต้องมีไม้ปิดหัวท้ายตรงสันหลังคาตอนหน้าจั่ว เมื่อพัฒนาเป็นเรือนไม้จริงมุงด้วยกระเบื้องดินขอ การใช้ไม้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมไขว้กัน แบบธรรมดาคงไม่เกิดความงาม จึงคิดประดิษฐ์แกะสลักปลายไม้ ให้เกิดความอ่อนโค้งงดงามด้วย เป็นเครื่องแสดงฐานะ รสนิยม ของเจ้าของเรือนด้วย
- อาจจะรับอิทธิพลมาจากชาวพื้นเมืองเดิม คือ พวกลัวะ (ละว้า) ซึ่งเรือนแบบดั้งเดิมของพวกลัวะ จะมีการใช้กาแลนี้ประดับ โดยแต่ละแห่งจะแกะสลักลวดลายเฉพาะอย่างไป เป็นเครื่องหมายบอกถึงเชื้อตระกูล ชาวล้านนา (โดยเฉพาะเชียงใหม่) อาจจะรับรูปแบบมาแล้วพัฒนาเป็นรูปแบบของตนเองในภายหลังอีกที
องค์ประกอบของเรือนล้านนา
มีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้
- ข่วงบ้าน
ข่วงบ้าน ลักษณะเป็นลานดินกวาดเรียบกว้างเป็นลานอเนกประสงค์ ใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนเล่นของเด็ก ลานตากพืชผลทางการเกษตร เป็นลานที่เชื่อมเส้นทางสัญจรหรือทางเดินเท้าให้เข้าสู่ตัวอาคาร และกระจายไปสู่ลานในบ้านข้างเคียงและถนนหลัก
- บันไดและเสาแหล่งหมา
ตัวบันไดเรือนจะหลบอยู่ใต้ชายคาบ้านด้านซ้ายมือเสมอ จึงต้องมีเสาลอยรับโครงสร้างหลังคาด้านบนตั้งลอยอยู่ แต่โดยทั่วไปเรือนไม้มักจะยื่นโครงสร้างออกมาอีกส่วนหนึ่งโดยทำเป็นชายคาคลุมบันไดหรือเป็นโครงสร้างลอยตัว ส่วนเรือนแฝดประเภทมีชานเปิดหน้าเรือน ไม่หลบบันไดเข้าชายคา แต่จะวางบันไดชนชานโล่งหน้าเรือนอย่างเปิดเผย “เสาแหล่งหมา” คือเสาลอยโดด ๆ ต้นเดียว ที่ใช้รับชายคาทางเข้าซึ่งมาจากการที่ชาวเหนือนำหมามาผูกไว้ที่เสานี้นั่นเอง
- ชาน
ชานเรือน คือพื้นไม้ระดับต่ำกว่าเติ๋น มักไม่มุงหลังคา เสารับชานเรียก เสาจาน ที่สุดช่านด้านที่มีคันได(บันได) มักจะมีฮ้านน้ำ (ร้านน้ำ)
- ร้านน้ำ หรือ ฮ้านน้ำ
คือหิ้งสำหรับวางหม้อน้ำดื่ม พร้อมที่แขวนกระบวยหิ้งน้ำ สูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร หากหิ้งน้ำอยู่ที่ชานโล่งแจ้งเจ้าของบ้านจะทำหลังคาคลุมลักษณะคล้ายเรือนเล็ก ๆ เพื่อมิให้แสงแดดส่องลงมาที่ หม้อน้ำนี้ยิ่งเก่ายิ่งดี เพราะมักจะมีตะใคร่น้ำเกาะ ภายนอกช่วยให้น้ำในหม้อเย็นกว่าเดิม ข้าง ๆ หม้อน้ำจะวางซองน้ำบวย (ที่ใส่น้ำกระบวย) ทำจากไม้ระแนงเป็นรูปสามเหลี่ยมตัว V ใส่กระบวยที่ทำจากกะลามะพร้าวต่อด้ามไม้สัก บางทีสลักเสลาปลายด้ามเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ น่าสนใจ
- เติ๋น
ตัวเติ๋นเป็นเนื้อที่กึ่งเปิดโล่ง มีขนาดไม่เล็กกว่าห้องนอนเท่าใดนัก ในกรณีของเรือนชนบทเป็นเนื้อที่ใช้งานได้แบบอเนกประสงค์ ถ้ามีแขกผู้น้อยมาหาเจ้าของบ้านจะนั่งบนเติ๋นแขกนั่งบนชานบันไดหรือเนื้อที่ที่มีระดับต่ำกว่า ถ้ามีแขกมีศักดิ์สูงกว่า เช่น ผู้ใหญ่ พระสงฆ์ เจ้าของบ้านก็จะนั่งถัดลงมา งานสวดศพก็จะใช้เนื้อที่นี้ประกอบพิธีกรรม ในกรณีที่มีลูกสาว ในเวลาค่ำคืนพวกหนุ่มก็มาแอ่วสาวที่เติ๋นนี้เอง เรือนที่มีห้องนอนเดียวก็จะใช้เติ๋นเป็นที่นอนของลูกชาย ลูกผู้หญิงนอนกับพ่อแม่ ลูกชายประเภทแตกเนื้อหนุ่มออกเที่ยวยามค่ำคืนกลับมาดึกดื่นไม่ต้องปลุกใครเข้านอนได้เลย
- ห้องนอน
ในระดับเรือนชนบทห้องนอนจะมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อที่ใช้งานอื่น ๆ ฝาด้านทึบจะอยู่ชิดเติ๋น ประตูทางเข้าจะเปิดที่ผนังด้านโถงทางเดินที่ใช้ติดต่อกันทั้งบ้าน ส่วนเรือนไม้และเรือนกาแลที่มีตั้งแต่สองห้องนอนขึ้นไปบางทีรวมเนื้อที่ห้องนอนทั้งหมดแล้ว อาจจะเท่าเติ๋นหรือเล็กกว่าเล็กน้อย ห้องนอนในเรือนกาแลมักจะมีขนาดใหญ่ ฝาล้มออก จะจัดเนื้อที่ห้องนอนออกเป็นสองส่วนซีกหนึ่งใช้เป็นที่นอน อีกซีกใช้วางของ ระหว่างเนื้อที่ทั้งสองซีกมีแผ่นไม้กั้นกลาง () ไม้ตัวนี้จะตัดความสั่นไหวของพื้นห้องนอนออกจากกันด้วย เมื่อใช้เดินออกจากห้องนอนในยามเช้า ขณะที่ผู้อื่นยังหลับใหลอยู่ ทำให้พื้นที่ส่วนอื่นไม่ไหวไม่เกิดเสียงไม้เบียดตัวกัน
- หิ้งผีปู่ย่า (หิ้งบรรพชน)
เป็นหิ้งที่จัดสร้างเหนือหัวนอน ติดฝาด้านตะวันออกตรงมุมห้องอยู่ติดเสา หรือระหว่างเสามงคลและเสาท้ายสุดของเรือน มักทำเป็นหิ้งเล็ก ๆ ยื่นจากฝาเข้ามาในห้องมีระดับสูงเท่า ๆ หิ้งพระ ผีปู่ย่า หมายถึง วิญญาณของบรรพชนที่สิงสถิตในห้องนอนนี้ และให้การคุ้มครองแก่ทุกคนที่อาศัยในห้องนี้ บนหิ้งมักมีพานหรือถาดใส่ดอกไม้ธูปเทียนจากการเซ่นไหว้เป็นครั้งคราว และมีการเซ่นไหว้เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ เช่นแต่งงาน เจ็บป่วย เป็นต้น
- ห้องครัว
ห้องครัวจะอยู่ทางทิศตะวันตกของห้องนอนเสมอ โดยแยกไปอีกหลังหนึ่ง โดยจะวางขนานกับเรือนใหญ่หรือเรือนนอน มีช่องทางเดินแยกเรือนครัวออกจากเรือนนอน เนื้อที่ที่ใช้ตั้งเตาไฟจะยกขึ้นมาเป็นแท่นไม้อัดดินแน่น พวกอุปกรณ์หุงต้มต่าง ๆ จะจัดอยู่บนแท่นไม้นี้ เป็นการป้องกันอัคคีภัยอย่างหนึ่ง ทำงานแบบนั่งก็สะดวก ภายในเรือนครัวประกอบด้วยส่วนเตาไฟ ทำด้วยกระบะไม้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อัดด้วยดินให้แน่นและเรียบสูงประมาณ 20 ซม. เป็นที่ฝัง “ก้อนเส้า” มักทำด้วยดินกี่ (อิฐ) 3 ก้อน ตั้งเอียงเข้าหากัน เพื่อใช้เป็นเตาไฟ และวางหม้อแกง หรือหม้อนึ่งข้าวได้พอดี อาจจะทำ “ก้อนเส้า” ดังกล่าวนี้ 2 ชุด เพื่อสะดวกแก่การทำครัว ส่วนเหนือของเตาไฟจะมี “ข่า” ทำด้วยไม้จริงหรือไม้ไผ่ก็ได้เป็นตารางสำหรับย่างพืชผล และเป็นที่รมควันพวกเครื่องจักสาน เพื่อกันตัวและทำให้ทนทานอีกด้วย ตอนบนหลังคาระดับจั่วจะเจาะโปร่งเป็นช่อง เพื่อการระบายควันไฟขณะทำครัว
- ข่วงบ้าน
- ร้านน้ำ หรือ ฮ้านน้ำ
- เติ๋น
- ห้องนอน
- ห้องครัว
- อื่น ๆ
- ฮ่องริน หรือ ฮ่อมริน คือ ชายคาของเรือนนอนกับเรือนครัวจะมาจรดกันเหนือช่องทางเดิน โดยจะมีหรือฮ่องน้ำ (ร่องน้ำ) สำหรับรองน้ำฝนจากหลังคา
- ควั่น เป็นที่เก็บของที่ไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวัน บนเพดานโปร่งใต้หลังคาเติ๋น โดยนำไม้ไผ่มาทำเป็นตะแกรงโปร่ง ลายตารางสี่เหลี่ยมยึดแขวนกับและของเรือน เพดานตะแกรงโปร่ง
- หำยน เป็นไม้แกะสลักเหนือช่องประตู เป็นแผ่นไม้ที่ชาวล้านนาเชื่อว่าเป็นแผ่นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ติดไว้เพื่อป้องกันสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ที่ผ่านเข้าสู่ห้องนอน
- ข่มประตู คือกรอบประตูล่างมีแผ่นธรณีประตูสูงกว่าขอบประตูปกติ ทำหน้าที่เป็นกรอบช่องประตู และเป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างห้องนอนกับเติ๋น
- ฝาลับนาง เป็นฝาเรือนซีกปลายเท้ายื่นเลยจากตัวเรือนนอนเลยเข้ามายังส่วนโล่งของเติ๋นประมาณ 2 คืบ เป็นส่วนกำบังหญิงสาวในขณะทำงานบนบ้านในเวลาค่ำคืน ป้องกันกระแสลมหรืออันตรายที่จะเกิดกับหญิงสาว และขณะพูดคุยเกี้ยวพาราสีกับชายหนุ่ม โดยฝ่ายหญิงจะนั่งตรงเติ๋นบริเวณฝาลับนาง ฝ่ายชายจะนั่งอยู่บริเวณเติ๋นที่อยู่ชิดกับชาน ซึ่งพื้นของบริเวณเติ๋นจะยกระดับสูงกว่าพื้นชาน ระดับพื้นที่เติ๋นยกสูงกว่าชานนี้ภาษาเหนือเรียกว่า “ข่ม”
- ต๊อมอาบน้ำ
บริเวณรอบ ๆ บ่อน้ำก็จะปลูกดอกไม้ ต้นไม้ และมีที่อาบน้ำเรียกว่า ต้อมอาบน้ำ มีลักษณะก่อด้วยอิฐ เป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่ทำประตูเหลื่อมกันไว้เป็นลับแล บางแห่งก็ทำด้วยวัสดุพื้นบ้าน เช่น ไม้ไผ่สานจะไม่มีหลังคา เพื่อให้แสงแดดส่องเข้าถึง พื้นปูด้วยอิฐหรือกรวด มีร่องน้ำทิ้งให้ไหลไปในสวน
- ฮ่อนริน
- หำยนต์
- ฝาลับนาง
อ้างอิง
- กาแลเอกลักษณ์ล้านนา : การสัมมนาทางวิชาการ; วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2538 ณ ห้องประชุมชั้น 3 คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . ภาควิชาศิลปไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย
- คมเนตร เชษฐพัฒนวนิช.(2544). ขึด: ข้อห้ามในล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่:สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
- คมเนตร เชษฐพัฒนวนิช. ความเชื่อพื้นบ้านล้านนา: ถ่ายทอดจากประสบการณ์ของท่านผู้รู้ในท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546
- เฉลียว ปิยะชน. เรือนกาแล. เชียงใหม่: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2537.
- นงนุช ไพรบูลยกิจ.เรือนไทยภาคเหนือ 2007-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ค้นวันที่ 3 กรกฎาคม 50
- พาณี จิตต์ภักดี. สัมภาษณ์ 20 กรกฎาคม 2550.
- ลมูล จันทร์หอม. (2537). เรือนกาแล: ประเพณีความเชื่อการปลูกเรือนในล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันราชภัฎเชียงใหม่.
- _______. (2547). ประเพณีความเชื่อการปลูกเรือนในล้านนาและเรือนกาแล. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
- สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือ ประเภทเรือนอยู่อาศัย. (2540). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
- สุชาดา วงศ์จักร์. สัมภาษณ์ 25 สิงหาคม 2550.
- สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2549). พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ. เชียงใหม่: นันทกานต์.
- อภิวันท์ พันธ์สุข. ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา. สัมภาษณ์ 29 มิถุนายน 2550. พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สังกัด สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- อนุวิทย์ เจริญศุภกุล และวิวัฒน์ เตมียพันธ์. เรือนล้านนาไทยและประเพณีการปลูกเรือน. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
ดูเพิ่ม
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
eruxnithyphakhehnux epnhnungineruxnithy 4 phakhkhxngithy swnmakcaphbincnghwd echiyngray echiyngihm phaeya lapang laphun aephr nan xutrditth aemhxngsxn aelatakbangswneruxnithyphakhehnux sunywthnthrrmechiyngihmeruxnithyphakhehnuxinlksnaprayuktpraephtheruxnpraephthtang khuntamsphaphkarichngan eruxnchnbth hruxeruxnekhruxngphuk epneruxnkhnadelk eruxnpraephthniknthwipenuxngcakkxsrangngayrakhathuk tamchnbthaelahmubantang eruxnchnidniokhrngsrangswndanhlngkhacaichibtxngaehng swnphuncaichimiph swnkhanaelaesaniymichimenuxaekhng faepnfaimiphsan hlngkhamungdwyhyaaefkhruxibtxngaehng swnimniymichimiphthaepntxkaelahwayepntwyudswntang khxngeruxnekhadwykndwywithiphukmd cungeriykknwa eruxnekhruxngphuk srangkhunklangthungna ephuxefathung hruxephuxpraoychnkarichngantamvdukal milksnachwkhrawxyuid 2 4 pi emuxthungvdufninpihnung txngmikarsxmaesmkhrngihy mikarxxkaebbodyichphunthiihekidpraoychnsungsud misdswnthilngtw khxnkhangkrachb eruxnim hruxeruxnekhruxngsb eruxnim epneruxnkhxngphumixncakin thadwyimenuxaekhng echn sk etng rng taekhiyn imaedng l karplukeruxnpraephthniimtxngichtaputxk yudihimtidknhruxprakxbkn odykarichmid siw hruxkhwanthakimihepnrxysbaelwprakxbekhadwykn eriykwa karprakxbekhalinslkeduxy hlngkhamungkraebuxng dinkhx hruxaepnekld eruxnkaael eruxnkaael epneruxnphkxasythwipthikhngthn tangcakkrathxm eriykwa tub caimkhxykhngthn miyxdcwepnkakbath mithngimthrrmdaaelaimslkxyangngdngamtamthana niymmungaephnimeriyk aepnekld aetpccubnimepnwsduhayakmirakhaaephngcungepliynmaich dinkhx munghlngkhaaethn ichwsduxyangdi karchangfimuxsungpranit aetmiaebbkhxnkhangtaytw swnihyepneruxnaefd mikhnadtngaet 1 hxngnxnkhunip eruxnkaaelcamiaephnphng 2 aebbihy khux aebbexabnidkhuntrngtidchannxkodd kbaebbexabnidxingchidaenbfaitchaykhakhlum aetthngsxngaebbcaichrannatngepnhnwyodd miokhrngsrangkhxngtnexng imniymtifaephdan hruxbangklumprakxbdwyeruxnhlayhlngepnklumihy khwamepnmakhxngkaaelni mikhxsnnisthandngni khawa kaael ephiynmacakphasathinlannakhawa kaael sungmikhwamhmaywa kakbath ruplksnaxacphthnamacak aetedimepneruxnimiphmunghlngkhadwyibtxngtung ibphlwng sungtxngmiimpidhwthaytrngsnhlngkhatxnhnacw emuxphthnaepneruxnimcringmungdwykraebuxngdinkhx karichimepnaephnsiehliymikhwkn aebbthrrmdakhngimekidkhwamngam cungkhidpradisthaekaslkplayim ihekidkhwamxxnokhngngdngamdwy epnekhruxngaesdngthana rsniym khxngecakhxngeruxndwy xaccarbxiththiphlmacakchawphunemuxngedim khux phwklwa lawa sungeruxnaebbdngedimkhxngphwklwa camikarichkaaelnipradb odyaetlaaehngcaaekaslklwdlayechphaaxyangip epnekhruxnghmaybxkthungechuxtrakul chawlanna odyechphaaechiyngihm xaccarbrupaebbmaaelwphthnaepnrupaebbkhxngtnexnginphayhlngxikthixngkhprakxbkhxngeruxnlannamiswnprakxbhlk dngni khwngban khwngban lksnaepnlandinkwaderiybkwangepnlanxenkprasngkh ichthakickrrmtang imwacaepnswnelnkhxngedk lantakphuchphlthangkarekstr epnlanthiechuxmesnthangsycrhruxthangedinethaihekhasutwxakhar aelakracayipsulaninbankhangekhiyngaelathnnhlk bnidaelaesaaehlnghma twbnideruxncahlbxyuitchaykhabandansaymuxesmx cungtxngmiesalxyrbokhrngsranghlngkhadanbntnglxyxyu aetodythwiperuxnimmkcayunokhrngsrangxxkmaxikswnhnungodythaepnchaykhakhlumbnidhruxepnokhrngsranglxytw swneruxnaefdpraephthmichanepidhnaeruxn imhlbbnidekhachaykha aetcawangbnidchnchanolnghnaeruxnxyangepidephy esaaehlnghma khuxesalxyodd tnediyw thiichrbchaykhathangekhasungmacakkarthichawehnuxnahmamaphukiwthiesaninnexng chan chaneruxn khuxphunimradbtakwaetin mkimmunghlngkha esarbchaneriyk esacan thisudchandanthimikhnid bnid mkcamihanna ranna ranna hrux hanna khuxhingsahrbwanghmxnadum phrxmthiaekhwnkrabwyhingna sungpraman 80 100 esntiemtr hakhingnaxyuthichanolngaecngecakhxngbancathahlngkhakhlumlksnakhlayeruxnelk ephuxmiihaesngaeddsxnglngmathi hmxnaniyingekayingdi ephraamkcamitaikhrnaekaa phaynxkchwyihnainhmxeynkwaedim khang hmxnacawangsxngnabwy thiisnakrabwy thacakimraaenngepnrupsamehliymtw V iskrabwythithacakkalamaphrawtxdamimsk bangthislkeslaplaydamepnrupstwtang nasnic etin twetinepnenuxthikungepidolng mikhnadimelkkwahxngnxnethaidnk inkrnikhxngeruxnchnbthepnenuxthiichnganidaebbxenkprasngkh thamiaekhkphunxymahaecakhxngbancanngbnetinaekhknngbnchanbnidhruxenuxthithimiradbtakwa thamiaekhkmiskdisungkwa echn phuihy phrasngkh ecakhxngbankcanngthdlngma nganswdsphkcaichenuxthiniprakxbphithikrrm inkrnithimiluksaw inewlakhakhunphwkhnumkmaaexwsawthietinniexng eruxnthimihxngnxnediywkcaichetinepnthinxnkhxnglukchay lukphuhyingnxnkbphxaem lukchaypraephthaetkenuxhnumxxkethiywyamkhakhunklbmadukdunimtxngplukikhrekhanxnidely hxngnxn inradberuxnchnbthhxngnxncamikhnadihykwaenuxthiichnganxun fadanthubcaxyuchidetin pratuthangekhacaepidthiphnngdanothngthangedinthiichtidtxknthngban swneruxnimaelaeruxnkaaelthimitngaetsxnghxngnxnkhunipbangthirwmenuxthihxngnxnthnghmdaelw xaccaethaetinhruxelkkwaelknxy hxngnxnineruxnkaaelmkcamikhnadihy falmxxk cacdenuxthihxngnxnxxkepnsxngswnsikhnungichepnthinxn xiksikichwangkhxng rahwangenuxthithngsxngsikmiaephnimknklang imtwnicatdkhwamsnihwkhxngphunhxngnxnxxkcakkndwy emuxichedinxxkcakhxngnxninyamecha khnathiphuxunynghlbihlxyu thaihphunthiswnxunimihwimekidesiyngimebiydtwkn hingphipuya hingbrrphchn epnhingthicdsrangehnuxhwnxn tidfadantawnxxktrngmumhxngxyutidesa hruxrahwangesamngkhlaelaesathaysudkhxngeruxn mkthaepnhingelk yuncakfaekhamainhxngmiradbsungetha hingphra phipuya hmaythung wiyyankhxngbrrphchnthisingsthitinhxngnxnni aelaihkarkhumkhrxngaekthukkhnthixasyinhxngni bnhingmkmiphanhruxthadisdxkimthupethiyncakkaresnihwepnkhrngkhraw aelamikaresnihwemuxmiehtukarnsakhy echnaetngngan ecbpwy epntn hxngkhrw hxngkhrwcaxyuthangthistawntkkhxnghxngnxnesmx odyaeykipxikhlnghnung odycawangkhnankberuxnihyhruxeruxnnxn michxngthangedinaeykeruxnkhrwxxkcakeruxnnxn enuxthithiichtngetaifcaykkhunmaepnaethnimxddinaenn phwkxupkrnhungtmtang cacdxyubnaethnimni epnkarpxngknxkhkhiphyxyanghnung thanganaebbnngksadwk phayineruxnkhrwprakxbdwyswnetaif thadwykrabaim epnrupsiehliymphunpha xddwydinihaennaelaeriybsungpraman 20 sm epnthifng kxnesa mkthadwydinki xith 3 kxn tngexiyngekhahakn ephuxichepnetaif aelawanghmxaekng hruxhmxnungkhawidphxdi xaccatha kxnesa dngklawni 2 chud ephuxsadwkaekkarthakhrw swnehnuxkhxngetaifcami kha thadwyimcringhruximiphkidepntarangsahrbyangphuchphl aelaepnthirmkhwnphwkekhruxngcksan ephuxkntwaelathaihthnthanxikdwy txnbnhlngkharadbcwcaecaaoprngepnchxng ephuxkarrabaykhwnifkhnathakhrw khwngban ranna hrux hanna etin hxngnxn hxngkhrwxun hxngrin hrux hxmrin khux chaykhakhxngeruxnnxnkberuxnkhrwcamacrdknehnuxchxngthangedin odycamihruxhxngna rxngna sahrbrxngnafncakhlngkha khwn epnthiekbkhxngthiimkhxyidichinchiwitpracawn bnephdanoprngithlngkhaetin odynaimiphmathaepntaaekrngoprng laytarangsiehliymyudaekhwnkbaelakhxngeruxn ephdantaaekrngoprng hayn epnimaekaslkehnuxchxngpratu epnaephnimthichawlannaechuxwaepnaephnimskdisiththi tidiwephuxpxngknsingelwraytang thiphanekhasuhxngnxn khmpratu khuxkrxbpratulangmiaephnthrnipratusungkwakhxbpratupkti thahnathiepnkrxbchxngpratu aelaepnesnknxanaekhtrahwanghxngnxnkbetin falbnang epnfaeruxnsikplayethayunelycaktweruxnnxnelyekhamayngswnolngkhxngetinpraman 2 khub epnswnkabnghyingsawinkhnathanganbnbaninewlakhakhun pxngknkraaeslmhruxxntraythicaekidkbhyingsaw aelakhnaphudkhuyekiywpharasikbchayhnum odyfayhyingcanngtrngetinbriewnfalbnang faychaycanngxyubriewnetinthixyuchidkbchan sungphunkhxngbriewnetincaykradbsungkwaphunchan radbphunthietinyksungkwachanniphasaehnuxeriykwa khm txmxabna briewnrxb bxnakcaplukdxkim tnim aelamithixabnaeriykwa txmxabna milksnakxdwyxith epnrupsiehliym aetthapratuehluxmkniwepnlbael bangaehngkthadwywsduphunban echn imiphsancaimmihlngkha ephuxihaesngaeddsxngekhathung phunpudwyxithhruxkrwd mirxngnathingihihlipinswn hxnrin haynt falbnangxangxingkaaelexklksnlanna karsmmnathangwichakar wnthi 8 kumphaphnth 2538 n hxngprachumchn 3 khnawicitrsilp mhawithyalyechiyngihm phakhwichasilpithy khnawicitrsilp mhawithyalyechiyngihm echiyngihm mhawithyaly khmentr echsthphthnwnich 2544 khud khxhaminlanna phimphkhrngthi 3 echiyngihm sthabnwicysngkhm mhawithyalyechiyngihm khmentr echsthphthnwnich khwamechuxphunbanlanna thaythxdcakprasbkarnkhxngthanphuruinthxngthin phimphkhrngthi 2 echiyngihm sthabnwicysngkhmmhawithyalyechiyngihm 2546 echliyw piyachn eruxnkaael echiyngihm sanksngesrimsilpwthnthrrm mhawithyalyechiyngihm 2537 nngnuch iphrbulykic eruxnithyphakhehnux 2007 11 04 thi ewyaebkaemchchin khnwnthi 3 krkdakhm 50 phani cittphkdi smphasn 20 krkdakhm 2550 lmul cnthrhxm 2537 eruxnkaael praephnikhwamechuxkarplukeruxninlanna echiyngihm sthabnrachphdechiyngihm 2547 praephnikhwamechuxkarplukeruxninlannaaelaeruxnkaael phimphkhrngthi 2 echiyngihm orngphimphmingemuxng sthaptykrrmphunthinphakhehnux praephtheruxnxyuxasy 2540 krungethph krmsilpakr suchada wngsckr smphasn 25 singhakhm 2550 sanksngesrimsilpwthnthrrm mhawithyalyechiyngihm 2549 phiphithphntheruxnobran echiyngihm nnthkant xphiwnth phnthsukh taaehnngnkwichakarsuksa smphasn 29 mithunayn 2550 phiphithphntheruxnobranlanna sngkd sanksngesrimsilpwthnthrrm mhawithyalyechiyngihm xnuwithy ecriysuphkul aelawiwthn etmiyphnth eruxnlannaithyaelapraephnikarplukeruxn krungethph smakhmsthapniksyaminphrabrmrachupthmphduephimeruxnithyphakhxisan eruxnithyphakhklang eruxnithyphakhit