ปลาตะพัดพม่า หรือ ปลาตะพัดลายงู (อังกฤษ: Blue arowana, Myanmar arowana, Batik myanmar arowana; ชื่อวิทยาศาสตร์: Scleropages inscriptus) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae)
ปลาตะพัดพม่า | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ |
อันดับ: | อันดับปลาลิ้นกระดูก |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะพัด |
สกุล: | ปลาอะโรวาน่าเอเชีย T. R. Roberts, 2012 |
สปีชีส์: | Scleropages inscriptus |
ชื่อทวินาม | |
Scleropages inscriptus T. R. Roberts, 2012 |
ลักษณะ
จัดเป็นปลาในวงศ์นี้ ชนิดใหม่ล่าสุดที่ได้รับการอนุกรมวิธาน โดยแยกออกมาจากปลาตะพัดหรือปลาอะโรวาน่าเอเชีย (S. formosus) ทั่วไป โดยที่ปลาตะพัดพม่าจะมีรูปร่างคล้ายกับปลาตะพัดทั่วไป แต่มีลักษณะที่แตกต่างไปอย่างชัดเจน คือ มีลวดลายคล้ายกับลายขดของสมองหรือที่ในภาษาวงการปลาสวยงามเรียกว่า "ลายงู" ตั้งแต่บริเวณแผ่นปิดเหงือกไล่ไปตามตัวจนถึงหาง ยกเว้นบริเวณสันหลังเท่านั้นที่ไม่มี โดยลวดลายนี้จะสมบูรณ์และปรากฏเมื่อปลามีขนาดได้ราว 10 นิ้วเป็นต้นไป และจะชัดเจนที่สุดเมื่อปลามีขนาด 20 นิ้วขึ้นไป ขณะที่สีสันลำตัวจะเป็นสีเขียวหรือทองอ่อนเป็นสีพื้นเป็นหลัก แต่มีเหลือบสีฟ้าหรือสีนากสดใสชัดเจนตลอดทั้งตัว
การเป็นที่รู้จักและจำแนกชั้น
เดิมที ปลาตะพัดพม่าถูกจัดเป็นชนิดเดียวกันกับปลาตะพัดหรือปลาอะโรวาน่าเอเชียทั่วไป แต่เป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ. 2536 จากการเข้าไปสำรวจปลาของผู้เชี่ยวชาญชาวไทยในพื้นที่ป่าดิบบริเวณรอยต่อระหว่างประเทศไทยและพม่า บริเวณ ในเขตตะนาวศรีของพม่า จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการเข้าไปสำรวจเพื่อจับปลาอย่างแท้จริง โดยได้ปลามาจำนวน 2 ตัว ที่บริเวณวังน้ำบนภูเขาที่เป็นสาขาของแม่น้ำตะนาวศรี แต่ปลาได้ตายลงขณะเดินทางกลับเพราะเส้นทางวิบากมาก แต่ได้มีการถ่ายรูปปลาทั้ง 2 ตัวนี้ไว้ และได้แพร่กระจายไปในหมู่นักเลี้ยงปลาในระดับสูงทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่น ซึ่งในขณะนั้นปลาตะพัดพม่า ได้เป็นที่รู้จักในชื่อ "บลู อะโรวาน่า"
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2555 ดร.ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ นักมีนวิทยาชาวอเมริกันได้บรรยายคุณลักษณะของปลาตะพัดพม่าในทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ตัวอย่างต้นแบบ 2 ตัวอย่างซึ่งเป็นปลาที่ตายแล้วจากผู้ค้าปลาสวยงามที่เมืองมะริด และถูกฝากไว้ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จังหวัดปทุมธานี และมีคุณลักษณะดังเช่นที่ว่ามาในตอนต้น ซึ่งปลาตะพัดพม่านั้นมีถิ่นกำเนิดที่แม่น้ำตะนาวศรี และพบได้ในคลองละงู จังหวัดสตูล ในไทย และพบได้จนถึงทะเลสาบบางแห่งในตอนเหนือมาเลเซีย นอกจากนี้แล้วยังมีผู้ที่น่าเชื่ออ้างว่าพบเห็นบนเกาะภูเก็ตอีกด้วย โดยที่คำว่า inscriptus ที่ใช้เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ มาจากคำว่า "inscribeb" เป็นภาษาละตินแปลว่า "จารึกไว้" อันหมายถึง ลวดลายบนตัวปลานั่นเอง
อ้างอิง
- "Scleropages inscriptus". IUCN Red List of Threatened Species.
- "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
- เปิดตำนาน ตะพัดพม่า คอลัมน์ V.I.P. (Very Important Pisces) โดย กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, กำพล อุดมฤทธิรุจ, ดร.ชวลิต วิทยานนท์, ชวิน ตันพิทยคุปต์ หน้า 104-119 นิตยสาร Aqurium Biz ฉบับที่ 24 ปีที่ 2: มิถุนายน 2012
แหล่งข้อมูลอื่น
- Scleropages inscriptus (ไทย)
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Scleropages inscriptus ที่วิกิสปีชีส์
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
plataphdphma hrux plataphdlayngu xngkvs Blue arowana Myanmar arowana Batik myanmar arowana chuxwithyasastr Scleropages inscriptus epnplanacudchnidhnung inwngsplataphd Osteoglossidae plataphdphmasthanakarxnurksimmikhxmul IUCN 3 1 CITES Appendix I CITES karcaaenkchnthangwithyasastrodemn yuaekhrioxtxanackr stwiflm stwmiaeknsnhlngchn plathimikankhribxndb xndbplalinkradukwngs wngsplataphdskul plaxaorwanaexechiy T R Roberts 2012spichis Scleropages inscriptuschuxthwinamScleropages inscriptus T R Roberts 2012lksnacdepnplainwngsni chnidihmlasudthiidrbkarxnukrmwithan odyaeykxxkmacakplataphdhruxplaxaorwanaexechiy S formosus thwip odythiplataphdphmacamiruprangkhlaykbplataphdthwip aetmilksnathiaetktangipxyangchdecn khux milwdlaykhlaykblaykhdkhxngsmxnghruxthiinphasawngkarplaswyngameriykwa layngu tngaetbriewnaephnpidehnguxkiliptamtwcnthunghang ykewnbriewnsnhlngethannthiimmi odylwdlaynicasmburnaelapraktemuxplamikhnadidraw 10 niwepntnip aelacachdecnthisudemuxplamikhnad 20 niwkhunip khnathisisnlatwcaepnsiekhiywhruxthxngxxnepnsiphunepnhlk aetmiehluxbsifahruxsinaksdischdecntlxdthngtwkarepnthiruckaelacaaenkchnedimthi plataphdphmathukcdepnchnidediywknkbplataphdhruxplaxaorwanaexechiythwip aetepnthiruckkhrngaerkinpi ph s 2536 cakkarekhaipsarwcplakhxngphuechiywchaychawithyinphunthipadibbriewnrxytxrahwangpraethsithyaelaphma briewn inekhttanawsrikhxngphma cnkrathnginpi ph s 2537 idmikarekhaipsarwcephuxcbplaxyangaethcring odyidplamacanwn 2 tw thibriewnwngnabnphuekhathiepnsakhakhxngaemnatanawsri aetplaidtaylngkhnaedinthangklbephraaesnthangwibakmak aetidmikarthayrupplathng 2 twniiw aelaidaephrkracayipinhmunkeliyngplainradbsungthngchawithyaelachawyipun sunginkhnannplataphdphma idepnthiruckinchux blu xaorwana cnkrathnginpi ph s 2555 dr ithsn xar orebirts nkminwithyachawxemriknidbrryaykhunlksnakhxngplataphdphmainthangwithyasastr odyichtwxyangtnaebb 2 twxyangsungepnplathitayaelwcakphukhaplaswyngamthiemuxngmarid aelathukfakiwthiphiphithphnththrrmchatiwithya xngkhkarphiphithphnthwithyasastraehngchati xphwch cnghwdpthumthani aelamikhunlksnadngechnthiwamaintxntn sungplataphdphmannmithinkaenidthiaemnatanawsri aelaphbidinkhlxnglangu cnghwdstul inithy aelaphbidcnthungthaelsabbangaehngintxnehnuxmaelesiy nxkcakniaelwyngmiphuthinaechuxxangwaphbehnbnekaaphuektxikdwy odythikhawa inscriptus thiichepnchuxwithyasastr macakkhawa inscribeb epnphasalatinaeplwa carukiw xnhmaythung lwdlaybntwplannexngxangxing Scleropages inscriptus IUCN Red List of Threatened Species Appendices CITES cites org subkhnemux 2022 01 14 epidtanan taphdphma khxlmn V I P Very Important Pisces ody kittiphngs caruthaninthr kaphl xudmvththiruc dr chwlit withyannth chwin tnphithykhupt hna 104 119 nitysar Aqurium Biz chbbthi 24 pithi 2 mithunayn 2012aehlngkhxmulxunScleropages inscriptus ithy khxmulthiekiywkhxngkb Scleropages inscriptus thiwikispichis