สามเณรปัญหา หรือสามเณรปัญหาปาฐะ เป็นหนึ่งในบทสวดสำคัญที่รวบรวมอยู่ในภาณวาร เรียกอีกชื่อว่า กุมารปัญหา อยู่ในขุททกปาฐะ ของขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก เป็นการถามตอบระหว่างสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับท่านโสปากะ ผู้บรรพชาเป็นสามเณร และต่อมา สำเร็จพระอรหันต์ เมื่ออายุได้ 7 ขวบ เป็นคำตอบและคำถามจำนาน 10 ข้อ ไล่ไปตามจำนวน 1 - 10 โดยจำนวนนั้นๆ แสดงข้อธรรมต่างๆ อย่างเฉียบคม ถือเป็นหลักจดจำ และนำไปปฏิบัติตามได้อย่างดียิ่ง จึงรวมไว้ในบทสวดมนต์หลวง หรือภาณวาร สำหรับพุทธบริษัทได้สวดสาธยาย เพื่อจดจำนำไปปฏิบัติเพื่อความหลุกพ้นต่อไป
ประวัติพระโสปากะ
เนื้อความของสามเณรปัญหามีขนาดสั้น และกล่าวถึงเพียงข้อธรรมอันเป็นคำถาม-ตอบทั้ง 10 ข้อ มิได้ระบุถึงที่มาหรือประวัติของท่านโสปากะ ขณะที่ปรมัตถโชติกา อันเป็นอรรถกถาอธิบายขุททกปาฐะก็ไม่ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับท่านแต่อย่างใด แต่ประวัติของพระโสปากะกลับไปปรากฏในปรมัตถทีปนีอรรถกถาแห่งเถรคาถา ซึ่งอธิบายคาถาของพระโสปาะ เพื่อครั้งอุปสมบทแล้ว (ดู โสปากเถรคาถาจ สัตตกนิบาต ในขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา ของพระสุตตันตปิฎก) นอกจากนี้ ยังมีพระโสปากะอีกท่านในจตุตถวรรค ซึ่งมีชาติกำเนิดคล้ายคลึงกัน คือกำเนิดในป่าช้า (ดู โสปากเถรคาถา จตุตถวรรค ในขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา ของพระสุตตันตปิฎก)
อรรถกถาพรรณนาว่า ท่านเกิดและเติบโตในป่าช้าในเมืองราชคฤห์ จึงได้ชื่อ โสปากะ อย่างไรก็ตาม "อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ท่านเกิดในตระกูลพ่อค้า ส่วนคำว่าโสปากะ เป็นแต่เพียงชื่อ คำนั้นผิดจากบาลีในอุทาน เพราะกล่าวไว้ว่า เมื่อถึงภพสุดท้าย เราเกิดในกำเนิดโสปากะ ดังนี้"
ในอรรถกถาของโสปากเถรคาถา ได้พรรณนาเรื่องราวของท่านไว้ว่า เมื่อเกิดได้ 4 เดือนบิดาท่านได้สิ้นชีวิตลง ผู้เป็นอาจึงเลี้ยงไว้ ต่อมาเมื่อเจริญวัยได้ 7 ขวบ ผู้เป็นอาโกรธว่า ทะเลาะกับลูกของตน จึงนำตัวไปยังป่าช้า แล้วใช้เชือกผูกมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนาติดกับร่างของคนตาย แล้วจากไปหวังจะให้สุนัขจิ้งจอกกินเป็นอาหาร อย่างไรก็ตาม ด้วยบุญบารมีของท่านที่จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในชาตินี้ สัตว์ร้ายจึงไม่อาจทำอันตรายแก่ท่านได้
ในราตรีนั้น "พระศาสดาทรงตรวจดูเวไนยสัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตอันโพลงอยู่ในภายในหทัยของเด็ก จึงทรงแผ่พระโอภาสทำให้เกิดสติแล้วตรัสอย่างนี้ว่ามาเถิดโสปากะ อย่ากลัว จงแลดูตถาคต เราจะยังเธอให้ข้ามพ้นไป ดุจพระจันทร์พ้นจากปากราหูฉะนั้น.ทารกตัดเครื่องผูกให้ขาดด้วยพุทธานุภาพ ในเวลาจบคาถา ได้เป็นพระโสดาบัน ได้ยืนอยู่ตรงหน้าพระคันธกุฎี"
ต่อมามารดาของท่านไม่เห็นบุตร จึงไต่ถามเอาจากผู้เป็นอา ครั้นอาไม่ยอมตอบจึงไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาค ด้วยเข้าใจว่า "เขาเล่าลือว่าพระพุทธเจ้าทรงรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน ถ้ากระไรเราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามความเป็นไปแห่งบุตรของเรา จึงได้ไปยังสำนักของพระศาสดา" ครั้นแล้วเมื่อมารดาได้พบสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงได้แสดงธรรมจนนางสำเร็จพระโสดาบัน ส่วนท่านโสปากะกุมาร ได้สำเร็จพระอรหันต์ ครั้งนั้น " ฝ่ายมารดาก็ได้เห็นบุตร ร่าเริงดีใจ ได้ฟังว่าบุตรนั้นเป็นพระขีณาสพ จึงให้บวชแล้วก็ไป"
ที่มาแห่งการแสดงธรรม
ในเวลาต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระประสงค์จะทรงอนุญาตอุปสมบทแก่ท่านโสปากะ จึงมีพระดำรัสถามปัญหา 10 ข้อ ซึ่งอรรถกถาพรรณนาว่า "มีพระดำรัสถามปัญหา 10 ข้อโดยมีอาทิว่า เอกํ นาม กึ อะไรชื่อว่าหนึ่ง ดังนี้ ฝ่ายท่านโสปากะนั้น ถือเอาพระพุทธประสงค์ เทียบเคียงกับพระสัพพัญญุตญาณ ทูลแก้ปัญหาเหล่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพ สตฺตาอาหารฏฺฐิติกา สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ดังนี้ ด้วยเหตุนั้นนั่นแลปัญหาเหล่านั้นจึงชื่อว่า กุมารปัญหา พระศาสดาทรงมีพระทัยโปรดปรานเพราะการพยากรณ์ปัญหาของเธอ จึงทรงอนุญาตการอุปสมบท ด้วยเหตุนั้น อุปสมบทนั้นจึงชื่อว่า ปัญหพยากรณอุปสมบท อุปสมบทด้วยการพยากรณ์ปัญหา"
เนื้อหา
เนื้อหาของสามเณรปัญหาในขุททกปาฐะมีความกระชับ เอ่ยถึงเพียงข้อธรรม ซึ่งมีจำนวนหัวข้อตามจำนวนตัวเลข 1 - 10 โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
อะไรเอ่ยชื่อว่า 1 สัตว์ทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร, อะไรเอ่ยชื่อว่า 2 นามและรูป, อะไรเอ่ยชื่อว่า 3 เวทนา 3, อะไรเอ่ยชื่อว่า 4 อริยสัจ 4, อะไรเอ่ยชื่อว่า 5 อุปาทานขันธ์ 5, อะไรเอ่ยชื่อว่า 6 อายตนะภายใน 6, อะไรเอ่ยชื่อว่า 7 โพชฌงค์ 7, อะไรเอ่ยชื่อว่า 8 อริยมรรคมีองค์ 8, อะไรเอ่ยชื่อว่า 9 สัตตาวาส 9, อะไรเอ่ยชื่อว่า 10 ท่านผู้ประกอบด้วยองค์ 10 เรียกว่าพระอรหันต์
คำอธิบาย
เนื่องจากเป็นการเอ่ยถึงเพียงข้อธรรม พระอรรถกถาจารย์จึงต้องขยายความเพิ่มเติมในปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ไว้อย่างละเอียด ซึ่งโดยสังเขปคำอธิบายข้อธรรมต่างๆ ทั้ง 10 ข้อมีดังต่อไปนี้
- อะไรเอ่ยชื่อว่า 1 สัตว์ทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร อรรถกถาอธิบายว่า "สัตว์ทั้งหลายที่ตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัยในขันธ์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ พึงทราบว่า เมื่อขันธ์ทั้งหลาย เกิดแก่และตายอยู่"
- อะไรเอ่ยชื่อว่า 2 นามและรูป อรรถกถาอธิบายว่า "ภิกษุละอัตตทิฏฐิความเห็นว่าเป็นตนได้ ด้วยการเห็นเพียงนามรูปแล้ว เมื่อหน่ายโดยมุขคือการพิจารณาเห็นอนัตตา ย่อมจะเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ ย่อมบรรลุปรมัตถวิสุทธิได้"
- อะไรเอ่ยชื่อว่า 3 เวทนา 3 กล่าววคือ สุขเวทนา, ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา อรรถกถาอธิบายว่า "ภิกษุละสุขสัญญา ความสำคัญว่าสุข ด้วยการเห็นเวทนาทั้งสามเป็นทุกข์ ... ย่อมจะเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ ย่อมบรรลุปรมัตถวิสุทธิได้"
- อะไรเอ่ยชื่อว่า 4 อริยสัจ 4 กล่าวคือ ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค อรรถกถาอธิบายว่า "ความแห่งบทของอริยสัจเหล่านั้นมีดังนี้ ความตัดขาดภวตัณหา ย่อมมีได้ เพราะความตรัสรู้ตามและแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจนี้นั้น อันเราตถาคตตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อันเราตถาคต ตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ภวตัณหาเราตถาคตก็ถอนได้แล้ว ตัณหา ที่นำไปในภพ ก็สิ้นแล้ว บัดนี้ การเกิดอีกไม่มีกันละ ดังนี้"
- อะไรเอ่ยชื่อว่า 5 อุปาทานขันธ์ 5 กล่าวคือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ อรรถกถาอธิบายว่า "เมื่อพิจารณาโดยความเกิดความดับ (ของอุปาทานขันธ์ 5) เป็นอารมณ์ ได้อมตะด้วยวิปัสสนาแล้ว ย่อมทำให้แจ้งอมตะ คือพระนิพพาน โดยลำดับ"
- อะไรเอ่ยชื่อว่า 6 อายตนะภายใน 6 กล่าวคือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ อรรถกถาอธิบายว่า " ภิกษุพิจารณาอายตนะภายใน 6 โดยความเป็นของว่าง ตามพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า สุญฺโญ คาโม บ้านว่าง นี้เป็นชื่อของอายตนะภายใน 6 ดังนี้ โดยความเป็นของเปล่าและโดยความเป็นของลวง เพราะตั้งอยู่ได้ไม่นาน เหมือนฟองน้ำและพยัพแดดฉะนั้น ก็หน่าย ทำที่สุดทุกข์โดยลำดับ ย่อมเข้าถึงที่ซึ่งมัจจุราชมองไม่เห็น"
- อะไรเอ่ยชื่อว่า 7 โพชฌงค์ 7 กล่าวคือสติ, ธรรมะ, วิริยะ, ปีติ, ปัสสัทธิ, สมาธิ, อุเบกขา อรรถกถาอธิบายว่า "พระโยคาวจร เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 เหล่านี้อย่างนี้ไม่นานนัก ก็จะเป็นผู้ได้คุณมีความหน่ายโดยส่วนเดียวเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน"
- อะไรเอ่ยชื่อว่า 8 อริยมรรคมีองค์ 8 หรือมรรคมีองค์แปด กล่าวคือสัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ อรรถกถาอธิบายว่า "เมื่อเจริญมรรคมีประเภท 8 และมีองค์ 8 นี้อย่างนี้ ย่อมทำลายอวิชชา ทำวิชชาให้เกิด ทำให้แจ้งพระนิพพาน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน "
- อะไรเอ่ยชื่อว่า 9 สัตตาวาส 9 กล่าวคือภพภูมิทั้ง 9 คือ นานาตฺตกายภูมิ, เอกตฺตกายภูมิ, นานตฺตสญฺญีภูมิ, เอกตฺตสญฺญีภูมิ, อสญฺญีภูมิ, อากาสานญฺจายตนภูมิ, วิญฺญาณญฺจายตนภูมิ, อากิญฺจญฺญายตนภูมิ, เนวสญฺญานาสญฺญายตนภูมิ อรรถกถาอธิบายว่า "ธรรม 9 ควรกำหนดรู้ คือ สัตตาวาส 9 หน่ายด้วยการเห็นเป็นเพียงกองสังขารล้วนๆ คลายกำหนัดด้วยการเห็นอนิจจลักษณะด้วยตีรณปริญญา หลุดพ้นด้วยการเห็นทุกขลักษณะ เห็นที่สุดโดยชอบด้วยการเห็นอนัตตลักษณะ ตรัสรู้ความเป็นธรรมชอบ ด้วยปหานปริญญา ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้"
- อะไรเอ่ยชื่อว่า 10 ท่านผู้ประกอบด้วยองค์ 10 เรียกว่าพระอรหันต์ อรรถกถาอธิบายว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยมรรคมีองค์ 8 และสัมมาญาณเป็นองค์ที่ 9 และ สัมมาวิมุตติ เป็นองค์ที่ 10 ยังให้ท่านเป็นพระอเสขะ คือผู้ไม่ต้องศึกษาอีก คือไม่ต้องศึกษาไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญาอีกต่อไป เพราะได้ศึกษาจบโดยได้บรรลุอรหันตผลแล้ว
อ้างอิง
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม 2 ภาค 3 ตอน 3 - หน้าที่ 262
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม 2 ภาค 3 ตอน 3 - หน้าที่ 262 - 263
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม 2 ภาค 3 ตอน 3 - หน้าที่ 263
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม 2 ภาค 3 ตอน 3 - หน้าที่ 263 - 265
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม 2 ภาค 3 ตอน 3 - หน้าที่ 265 - 266
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 99 - 100
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 101 - 102
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 103
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 106
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 107
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 108
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 110 - 111
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 112
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 114
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 116
บรรณานุกรม
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม 2 ภาค 3
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
samenrpyha hruxsamenrpyhapatha epnhnunginbthswdsakhythirwbrwmxyuinphanwar eriykxikchuxwa kumarpyha xyuinkhuththkpatha khxngkhuththknikay inphrasuttntpidk epnkarthamtxbrahwangsmedcphrasmmasmphuththecakbthanospaka phubrrphchaepnsamenr aelatxma saercphraxrhnt emuxxayuid 7 khwb epnkhatxbaelakhathamcanan 10 khx iliptamcanwn 1 10 odycanwnnn aesdngkhxthrrmtang xyangechiybkhm thuxepnhlkcdca aelanaipptibtitamidxyangdiying cungrwmiwinbthswdmnthlwng hruxphanwar sahrbphuththbristhidswdsathyay ephuxcdcanaipptibtiephuxkhwamhlukphntxipprawtiphraospakaenuxkhwamkhxngsamenrpyhamikhnadsn aelaklawthungephiyngkhxthrrmxnepnkhatham txbthng 10 khx miidrabuthungthimahruxprawtikhxngthanospaka khnathiprmtthochtika xnepnxrrthkthaxthibaykhuththkpathakimpraktraylaexiydekiywkbthanaetxyangid aetprawtikhxngphraospakaklbippraktinprmtththipnixrrthkthaaehngethrkhatha sungxthibaykhathakhxngphraospaa ephuxkhrngxupsmbthaelw du ospakethrkhathac sttknibat inkhuththknikay wiman eptwtthu ethr ethrikhatha khxngphrasuttntpidk nxkcakni yngmiphraospakaxikthaninctutthwrrkh sungmichatikaenidkhlaykhlungkn khuxkaenidinpacha du ospakethrkhatha ctutthwrrkh inkhuththknikay wiman eptwtthu ethr ethrikhatha khxngphrasuttntpidk xrrthkthaphrrnnawa thanekidaelaetibotinpachainemuxngrachkhvh cungidchux ospaka xyangirktam xacarybangphwkklawwa thanekidintrakulphxkha swnkhawaospaka epnaetephiyngchux khannphidcakbaliinxuthan ephraaklawiwwa emuxthungphphsudthay eraekidinkaenidospaka dngni inxrrthkthakhxngospakethrkhatha idphrrnnaeruxngrawkhxngthaniwwa emuxekidid 4 eduxnbidathanidsinchiwitlng phuepnxacungeliyngiw txmaemuxecriywyid 7 khwb phuepnxaokrthwa thaelaakblukkhxngtn cungnatwipyngpacha aelwichechuxkphukmuxthngsxngkhangekhadwyknxyangaennhnatidkbrangkhxngkhntay aelwcakiphwngcaihsunkhcingcxkkinepnxahar xyangirktam dwybuybarmikhxngthanthicaidsaercepnphraxrhntinchatini stwraycungimxacthaxntrayaekthanid inratrinn phrasasdathrngtrwcduewinystwphuepnephaphnthu thrngehnxupnisyaehngphraxrhtxnophlngxyuinphayinhthykhxngedk cungthrngaephphraoxphasthaihekidstiaelwtrsxyangniwamaethidospaka xyaklw cngaeldutthakht eracayngethxihkhamphnip ducphracnthrphncakpakrahuchann tharktdekhruxngphukihkhaddwyphuththanuphaph inewlacbkhatha idepnphraosdabn idyunxyutrnghnaphrakhnthkudi txmamardakhxngthanimehnbutr cungitthamexacakphuepnxa khrnxaimyxmtxbcungipekhaefasmedcphraphumiphraphakh dwyekhaicwa ekhaelaluxwaphraphuththecathrngruxdit xnakht aelapccubn thakraireraekhaipefaphraphumiphraphakheca thulthamkhwamepnipaehngbutrkhxngera cungidipyngsankkhxngphrasasda khrnaelwemuxmardaidphbsmedcphraphumiphraphakheca thrngidaesdngthrrmcnnangsaercphraosdabn swnthanospakakumar idsaercphraxrhnt khrngnn faymardakidehnbutr raeringdiic idfngwabutrnnepnphrakhinasph cungihbwchaelwkip thimaaehngkaraesdngthrrminewlatxmaphraphumiphraphakheca thrngmiphraprasngkhcathrngxnuyatxupsmbthaekthanospaka cungmiphradarsthampyha 10 khx sungxrrthkthaphrrnnawa miphradarsthampyha 10 khxodymixathiwa exk nam ku xairchuxwahnung dngni faythanospakann thuxexaphraphuththprasngkh ethiybekhiyngkbphrasphphyyutyan thulaekpyhaehlann odynymixathiwa sph eph st taxahart thitika stwthngpwngdarngxyuiddwyxahar dngni dwyehtunnnnaelpyhaehlanncungchuxwa kumarpyha phrasasdathrngmiphrathyoprdpranephraakarphyakrnpyhakhxngethx cungthrngxnuyatkarxupsmbth dwyehtunn xupsmbthnncungchuxwa pyhphyakrnxupsmbth xupsmbthdwykarphyakrnpyha enuxhaenuxhakhxngsamenrpyhainkhuththkpathamikhwamkrachb exythungephiyngkhxthrrm sungmicanwnhwkhxtamcanwntwelkh 1 10 odymienuxhadngtxipni xairexychuxwa 1 stwthngpwngtngxyuiddwyxahar xairexychuxwa 2 namaelarup xairexychuxwa 3 ewthna 3 xairexychuxwa 4 xriysc 4 xairexychuxwa 5 xupathankhnth 5 xairexychuxwa 6 xaytnaphayin 6 xairexychuxwa 7 ophchchngkh 7 xairexychuxwa 8 xriymrrkhmixngkh 8 xairexychuxwa 9 sttawas 9 xairexychuxwa 10 thanphuprakxbdwyxngkh 10 eriykwaphraxrhntkhaxthibayenuxngcakepnkarexythungephiyngkhxthrrm phraxrrthkthacarycungtxngkhyaykhwamephimetiminprmtthochtika xrrthkthakhuththkpatha iwxyanglaexiyd sungodysngekhpkhaxthibaykhxthrrmtang thng 10 khxmidngtxipni xairexychuxwa 1 stwthngpwngtngxyuiddwyxahar xrrthkthaxthibaywa stwthnghlaythitngxyuiddwyxahar ephraaxrrthwaepnpccyinkhnththnghlay kchnnnehmuxnkn aetemuxwaodyprmtth phungthrabwa emuxkhnththnghlay ekidaekaelatayxyu xairexychuxwa 2 namaelarup xrrthkthaxthibaywa phiksulaxttthitthikhwamehnwaepntnid dwykarehnephiyngnamrupaelw emuxhnayodymukhkhuxkarphicarnaehnxntta yxmcaepnphuthathisudthukkhid yxmbrrluprmtthwisuththiid xairexychuxwa 3 ewthna 3 klawwkhux sukhewthna thukkhewthna aelaxthukkhmsukhewthna xrrthkthaxthibaywa phiksulasukhsyya khwamsakhywasukh dwykarehnewthnathngsamepnthukkh yxmcaepnphuthathisudthukkhid yxmbrrluprmtthwisuththiid xairexychuxwa 4 xriysc 4 klawkhux thukkh smuthy niorth mrrkh xrrthkthaxthibaywa khwamaehngbthkhxngxriyscehlannmidngni khwamtdkhadphwtnha yxmmiid ephraakhwamtrsrutamaelaaethngtlxdxriyscehlani ehmuxnxyangthitrsiwwa dukxnphiksuthnghlay thukkhxriyscninn xneratthakhttrsruaelw aethngtlxdaelw l thukkhniorthkhaminiptipthaxriysc xneratthakht trsruaelw aethngtlxdaelw phwtnhaeratthakhtkthxnidaelw tnha thinaipinphph ksinaelw bdni karekidxikimmiknla dngni xairexychuxwa 5 xupathankhnth 5 klawkhux rup ewthna syya sngkhar wiyyan xrrthkthaxthibaywa emuxphicarnaodykhwamekidkhwamdb khxngxupathankhnth 5 epnxarmn idxmtadwywipssnaaelw yxmthaihaecngxmta khuxphraniphphan odyladb xairexychuxwa 6 xaytnaphayin 6 klawkhux ta hu cmuk lin kay ic xrrthkthaxthibaywa phiksuphicarnaxaytnaphayin 6 odykhwamepnkhxngwang tamphrabaliwa dukxnphiksuthnghlay khawa suy oy khaom banwang niepnchuxkhxngxaytnaphayin 6 dngni odykhwamepnkhxngeplaaelaodykhwamepnkhxnglwng ephraatngxyuidimnan ehmuxnfxngnaaelaphyphaeddchann khnay thathisudthukkhodyladb yxmekhathungthisungmccurachmxngimehn xairexychuxwa 7 ophchchngkh 7 klawkhuxsti thrrma wiriya piti pssththi smathi xuebkkha xrrthkthaxthibaywa phraoykhawcr emuxecriythaihmaksungophchchngkh 7 ehlanixyangniimnannk kcaepnphuidkhunmikhwamhnayodyswnediywepntn dwyehtunn cungtrswa yxmepnphuthathisudthukkhidinpccubn xairexychuxwa 8 xriymrrkhmixngkh 8 hruxmrrkhmixngkhaepd klawkhuxsmmathitthi smmasngkppa smmawaca smmakmmnta smmaxachiwa smmawayama smmasti smmasmathi xrrthkthaxthibaywa emuxecriymrrkhmipraephth 8 aelamixngkh 8 nixyangni yxmthalayxwichcha thawichchaihekid thaihaecngphraniphphan dwyehtunn thancungklawwa epnphuthathisudthukkhidinpccubn xairexychuxwa 9 sttawas 9 klawkhuxphphphumithng 9 khux nanat tkayphumi exkt tkayphumi nant tsy yiphumi exkt tsy yiphumi xsy yiphumi xakasany caytnphumi wiy yany caytnphumi xakiy cy yaytnphumi enwsy yanasy yaytnphumi xrrthkthaxthibaywa thrrm 9 khwrkahndru khux sttawas 9 hnaydwykarehnepnephiyngkxngsngkharlwn khlaykahnddwykarehnxnicclksnadwytirnpriyya hludphndwykarehnthukkhlksna ehnthisudodychxbdwykarehnxnttlksna trsrukhwamepnthrrmchxb dwyphanpriyya yxmepnphuthathisudthukkhid xairexychuxwa 10 thanphuprakxbdwyxngkh 10 eriykwaphraxrhnt xrrthkthaxthibaywa phraxrhntprakxbdwymrrkhmixngkh 8 aelasmmayanepnxngkhthi 9 aela smmawimutti epnxngkhthi 10 yngihthanepnphraxeskha khuxphuimtxngsuksaxik khuximtxngsuksaitrsikkha khuxsil smathi pyyaxiktxip ephraaidsuksacbodyidbrrluxrhntphlaelwxangxingphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay ethrkhatha elm 2 phakh 3 txn 3 hnathi 262 phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay ethrkhatha elm 2 phakh 3 txn 3 hnathi 262 263 phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay ethrkhatha elm 2 phakh 3 txn 3 hnathi 263 phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay ethrkhatha elm 2 phakh 3 txn 3 hnathi 263 265 phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay ethrkhatha elm 2 phakh 3 txn 3 hnathi 265 266 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpatha inphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 hna 99 100 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpatha inphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 hna 101 102 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpatha inphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 hna 103 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpatha inphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 hna 106 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpatha inphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 hna 107 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpatha inphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 hna 108 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpatha inphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 hna 110 111 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpatha inphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 hna 112 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpatha inphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 hna 114 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpatha inphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 hna 116brrnanukrmphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay ethrkhatha elm 2 phakh 3 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpatha inphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1