ป้อมนาหรครห์ (ราชสถานและฮินดี: नाहरगढ़ का किला; อังกฤษ: Nahagarh Fort) เป็นป้อมปราการที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาของเทือกเขาอะระวัลลี โดยตั้งอยู่สูงตระหง่านเหนือนครชัยปุระ ในรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย
ป้อมนาหรครห์ | |
---|---|
नाहरगढ़ का किला Nahargarh Fort | |
ด้านบนของกำแพงป้อมและมุขป้อม | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | ป้อมปราการ |
สถาปัตยกรรม | ฮินดู, |
เมือง | ชัยปุระ รัฐราชสถาน |
ประเทศ | อินเดีย |
เริ่มสร้าง | ค.ศ. 1734 |
ปรับปรุง | ค.ศ. 1868 |
ผู้สร้าง | มหาราชาสะหวายจัย สิงห์ที่ 2 |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
โครงสร้าง | หินทรายสีแดง |
เมื่อร่วมกันกับป้อมอาเมร์และป้อมชยครห์แล้ว ทั้งสามปราการนี้เคยเป็นเสาหลักในการป้องกันการรุกรานจากข้าศึกต่าง ๆ ต่อชัยปุระ โดยแรกป้อมปราการแห่งนี้มีชื่อว่า "สุทรรศนครห์" (Sudarshangarh) แต่ในภายหลังได้กลายมาเป็น "นาหรครห์" ซึ่งหมายความว่า "ถ้ำเสือ" โดยเชื่อกันว่าที่มาของคำว่า "นาหระ" นั้นมาจาก นาหระ สิงห์ โภมิยา (Nahar Singh Bhomia) ซึ่งวิญญาณนั้นได้หลอกหลอนในระหว่างก่อสร้างและเป็นอุปสรรคสำคัญในการก่อสร้างป้อมแห่งนี้ จึงได้มีการสร้างศาลภายในบริเวณวัดเพื่อเป็นที่สถิตวิญญาณภายในป้อมแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อป้อมนาหรครห์
ประวัติ
สร้างในปีค.ศ. 1734 โดยมหาราชาสไว ชัย สิงห์ที่ 2 กษัตริย์ผู้ก่อตั้งนครชัยปุระ ซึ่งเป็นเมืองที่ป้อมตั้งตระหง่านอยู่บนบริเวณยอดหน้าผาด้านบนของตัวเมือง โดยมีการสร้างกำแพงเมืองขนาดใหญ่และมีความยาวครอบคลุมไปถึงเขาลูกใกล้เคียง รวมเป็นป้อมปราการขนาดใหญ่เมื่อเชื่อมกับป้อมชยครห์ ซึ่งตั้งอยู่เหนือเมืองหลวงเก่าที่อาเมร์ ถึงแม้ว่าป้อมปราการแห่งนี้จะไม่ได้ถูกรุกรานโดยศัตรูตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน แต่ยังมีเหตุการณ์สำคัญ ๆ อาทิเช่น การทำสนธิสัญญาสงบศึกกับจักรวรรดิมราฐาเพื่อยุติสงครามในศตวรรษที่ 18 และในเหตุการณ์กบฏอินเดีย ค.ศ. 1857 ชาวยุโรปที่อยู่อาศัยในแถบนี้รวมทั้งชาวอังกฤษได้ถูกเชิญขึ้นไปลี้ภัยบนป้อมแห่งนี้โดยกษัตริย์แห่งชัยปุระ มหาราชาสะหวาย ราม สิงห์ เพื่อเป็นการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุร้ายแรง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1868 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของมหาราชา สะหวาย ราม สิงห์ ได้มีการขยายต่อเติมป้อมปราการแห่งนี้ให้กว้างขวางขึ้นอีก และในปี ค.ศ. 1883–ค.ศ. 1892 ได้มีการสร้างพระตำหนักหลายแห่งภายในป้อม โดยพระบัญชาของมหาราชา สะหวาย มัดโฮ สิงห์ โดยมีมูลค่าการก่อสร้างเกือบ 350,000 รูปี โดยเฉพาะพระตำหนักมธเวนทรภวัน (Madhavendra Bhawan) ซึ่งสร้างโดยมหาราชา สไว มัทโห สิงห์ ประกอบไปด้วยส่วนของพระมเหสีและพระสนม และส่วนสำหรับประทับเป็นการส่วนพระองค์ โดยแต่ละห้องจะเชื่อมต่อกันโดยทางเดินกลางซึ่งตกแต่งด้วยงานเขียนภาพปูนเปียก (fresco) นอกจากจุดประสงค์เพื่อป้องกันการรุกรานแล้ว ป้อมนหาการห์ยังเป็นสถานที่ประทับยามที่มหาราชาเสด็จออกล่าสัตว์อีกด้วย
จนกระทั่งเดือนเมษายน ค.ศ. 1944 รัฐบาลแห่งรัฐราชสถานได้ใช้ป้อมแห่งนี้เป็นสถานที่บอกเวลาที่คำนวณได้จากสัมราฏยันตระ (Samrat Yantra) ซึ่งตั้งอยู่ใน และจะมีการยิงปืนใหญ่จากป้อมแห่งนี้เป็นอาณัติสัญญาณอีกด้วย
ระเบียงภาพ
- นครชัยปุระเมื่อมองจากบนป้อมนาหรครห์
- Stone Railing on Roof Terrace
- อาคารและพระตำหนักภายในป้อม
- อาคารและพระตำหนักภายในป้อม
- อาคารและพระตำหนักภายในป้อม
- พระตำหนักมธเวนทรภวัน
- พระตำหนักมธเวนทรภวัน
อ้างอิง
- Naravane, M. S. The Rajputs of Rajputana: a glimpse of medieval Rajasthan.
- "Nahargarh Fort".
- Jaipur forts and monuments
- Naravane, M. S. The Rajputs of Rajputana.
- Sarkar, Jadunath. A History of Jaipur.
- R. K. Gupta; S. R. Bakshi (2008). Rajasthan Through The Ages: Jaipur Rulers and Administration. ISBN .
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2006. สืบค้นเมื่อ 28 August 2006.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
pxmnahrkhrh rachsthanaelahindi न हरगढ क क ल xngkvs Nahagarh Fort epnpxmprakarthitngxyubriewnechingekhakhxngethuxkekhaxarawlli odytngxyusungtrahnganehnuxnkhrchypura inrthrachsthan praethsxinediypxmnahrkhrhन हरगढ क क ल Nahargarh Fortdanbnkhxngkaaephngpxmaelamukhpxmkhxmulthwippraephthpxmprakarsthaptykrrmhindu emuxngchypura rthrachsthanpraethsxinediyerimsrangkh s 1734prbprungkh s 1868phusrangmharachasahwaycy singhthi 2khxmulthangethkhnikhokhrngsranghinthraysiaedng emuxrwmknkbpxmxaemraelapxmchykhrhaelw thngsamprakarniekhyepnesahlkinkarpxngknkarrukrancakkhasuktang txchypura odyaerkpxmprakaraehngnimichuxwa suthrrsnkhrh Sudarshangarh aetinphayhlngidklaymaepn nahrkhrh sunghmaykhwamwa thaesux odyechuxknwathimakhxngkhawa nahra nnmacak nahra singh ophmiya Nahar Singh Bhomia sungwiyyannnidhlxkhlxninrahwangkxsrangaelaepnxupsrrkhsakhyinkarkxsrangpxmaehngni cungidmikarsrangsalphayinbriewnwdephuxepnthisthitwiyyanphayinpxmaehngni sungepnthimakhxngchuxpxmnahrkhrhprawtisranginpikh s 1734 odymharachasiw chy singhthi 2 kstriyphukxtngnkhrchypura sungepnemuxngthipxmtngtrahnganxyubnbriewnyxdhnaphadanbnkhxngtwemuxng odymikarsrangkaaephngemuxngkhnadihyaelamikhwamyawkhrxbkhlumipthungekhalukiklekhiyng rwmepnpxmprakarkhnadihyemuxechuxmkbpxmchykhrh sungtngxyuehnuxemuxnghlwngekathixaemr thungaemwapxmprakaraehngnicaimidthukrukranodystrutlxdprawtisastrxnyawnan aetyngmiehtukarnsakhy xathiechn karthasnthisyyasngbsukkbckrwrrdimrathaephuxyutisngkhraminstwrrsthi 18 aelainehtukarnkbtxinediy kh s 1857 chawyuorpthixyuxasyinaethbnirwmthngchawxngkvsidthukechiykhunipliphybnpxmaehngniodykstriyaehngchypura mharachasahway ram singh ephuxepnkarpxngknephuximihekidehturayaerng briewnhlngkhadadfakhxngpxmthiwthsnkhxngemuxngchypuracakdanbnpxm txmainpi kh s 1868 sungtrngkbrchsmykhxngmharacha sahway ram singh idmikarkhyaytxetimpxmprakaraehngniihkwangkhwangkhunxik aelainpi kh s 1883 kh s 1892 idmikarsrangphratahnkhlayaehngphayinpxm odyphrabychakhxngmharacha sahway mdoh singh odymimulkhakarkxsrangekuxb 350 000 rupi odyechphaaphratahnkmthewnthrphwn Madhavendra Bhawan sungsrangodymharacha siw mthoh singh prakxbipdwyswnkhxngphramehsiaelaphrasnm aelaswnsahrbprathbepnkarswnphraxngkh odyaetlahxngcaechuxmtxknodythangedinklangsungtkaetngdwynganekhiynphaphpunepiyk fresco nxkcakcudprasngkhephuxpxngknkarrukranaelw pxmnhakarhyngepnsthanthiprathbyamthimharachaesdcxxklastwxikdwy cnkrathngeduxnemsayn kh s 1944 rthbalaehngrthrachsthanidichpxmaehngniepnsthanthibxkewlathikhanwnidcaksmratyntra Samrat Yantra sungtngxyuin aelacamikaryingpunihycakpxmaehngniepnxantisyyanxikdwyraebiyngphaphnkhrchypuraemuxmxngcakbnpxmnahrkhrh Stone Railing on Roof Terrace xakharaelaphratahnkphayinpxm xakharaelaphratahnkphayinpxm xakharaelaphratahnkphayinpxm phratahnkmthewnthrphwn phratahnkmthewnthrphwnxangxingwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb pxmnahrkhrh Naravane M S The Rajputs of Rajputana a glimpse of medieval Rajasthan Nahargarh Fort Jaipur forts and monuments Naravane M S The Rajputs of Rajputana Sarkar Jadunath A History of Jaipur R K Gupta S R Bakshi 2008 Rajasthan Through The Ages Jaipur Rulers and Administration ISBN 9788176258418 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 24 October 2006 subkhnemux 28 August 2006