ดร.ภีมราว รามชี อามเพฑกร (มราฐี: भीमराव रामजी आंबेडकर) หรือบางครั้งนิยมทับศัพท์เป็น เอมเบดการ์ หรือ อัมเบดการ์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและกระทรวงยุติธรรมของอินเดีย และเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย ท่านถูกยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย" อีกด้วย อามเพฑกร เป็นผู้อุปถัมภพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย และได้เดินร่วม ขบวนกับ มหาตมา คานธี และชวาหระลาล เนห์รู เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ต่อมาเนห์รูได้เป็นนายกรัฐมนตรีและได้แต่งตั้งให้อามเพฑกร เป็นรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและกระทรวงยุติธรรม
ดร.ภีมราว รามชี อามเพฑกร | |
---|---|
เกิด | 14 เมษายน ค.ศ. 1891 เกิดใน (ปัจจุบันเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ ดร.อามเพฑกร นคร/Dr. Ambedkar Nagar ใน รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย) |
เสียชีวิต | 6 ธันวาคม ค.ศ. 1956 นิวเดลี ประเทศอินเดีย | (65 ปี)
สัญชาติ | อินเดีย |
มีชื่อเสียงจาก | ขบวนการสิทธิทลิต ( ) หัวหน้า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย ( Constitution of India ขบวนการชาวพุทธทลิต ( ) |
คู่สมรส | รามาพาอี อามเพฑกร (พ.ศ. 2449) สาวิตา อามเพฑกร (พ.ศ. 2491) |
บิดามารดา | รามชี มาโลชี สักปาล ภีมาพาอี สักปาล |
ลายมือชื่อ | |
ชีวิตในเยาว์วัย
ภีมราว รามชี อามเพฑกร (Bhimrao Ramji Ambedkar) เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1891 ในตระกูลสังข์ปาล (Sakpal) ซึ่งเป็นจัณฑาล กลุ่มคนที่มีสถานะต่ำต้อยที่สุดในศาสนาฮินดู ครอบครัวของเขาอาศัยอยู่ที่เมือง Mhow พ่อของอัมเบดการ์ทำงานเป็นทหารอังกฤษ และมีความก้าวหน้ากว่าจัณฑาลกลุ่มอื่น ครอบครัวสังข์ปาลจึงเห็นความสำคัญของการศึกษา และเขี่ยวเข็ญให้ลูกๆ ได้เล่าเรียนหนังสือ ถึงขั้นที่เมื่อครอบครัวสังข์ปาลต้องย้ายไปบอมเบย์ (ปัจจุบันคือมุมไบ) และเริ่มประสบปัญหาทางการเงิน พี่ชายของอัมเบดการ์ต้องยอมเลิกเรียนหนังสือไปทำงานในโรงงานเพื่อช่วยค้ำจุนบ้าน และส่งเสียให้อัมเบดการ์ได้เรียนหนังสือ
อัมเบดการ์ต้องเผชิญกับการกีดกันทางวรรณะที่แสนเลวร้าย เพราะนามสกุลเดิมอย่างสังข์ปาล หรือนามสกุลใหม่ของครอบครัวที่ตั้งตามภูมิลำเนาอย่าง อัมบาวาเดการ์ (Ambavadekar) ยังแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นจัณฑาลอย่างชัดเจนโดยในชั้นเรียน อัมเบดการ์ถูกเลือกปฏิบัติหลายอย่าง เช่น ถูกครูสั่งให้นำผ้าปูพื้นเก่า ๆ มานั่งแยกจากเพื่อนนักเรียน ไม่มีเพื่อนมาพูดคุยหรือเล่นด้วย ไม่ได้กินข้าวกับเพื่อน ๆ จำเป็นต้องกินน้ำโดยไม่มีแก้ว และถูกห้ามเรียนภาษาสันสกฤต เพราะความเชื่อที่ว่าจัณฑาลต่ำต้อยและแปดเปื้อนเกินกว่าจะศึกษาภาษาสันสกฤตอันศักดิ์สิทธิ์ได้ อัมเบดการ์จึงเติบโตกับการถูกเลือกปฏิบัติโดยการตีตราทางวรรณะ แต่เขายังได้รับโอกาสที่ดี เมื่อ กฤษณาจี เคชาฟ อัมเบดการ์ (Krishnaji Keshav Ambedkar) ครูวรรณะพราหมณ์ซึ่งเอ็นดูเขาเป็นพิเศษ อนุญาตให้เขาใช้นามสกุล “อัมเบดการ์” จนหลายคนเข้าใจผิดคิดว่า อัมเบดการ์เป็นคนในวรรณะพราหมณ์ ซึ่งช่วยลดแรงเสียดทานที่ต้องเผชิญได้เป็นอย่างดี อัมเบดการ์จึงยกย่องสรรเสริญครูคนนี้มาก เพราะนามสกุลดังกล่าวช่วยเบิกทางให้เขากลายเป็นผู้นำคนสำคัญในการต่อสู้เพื่อปลดแอกระบบวรรณะ
ต่อมาใน ค.ศ. 1907 อัมเบดการ์เรียนจบโรงเรียนมัธยมปลายเอลฟินสโตน ซึ่งนับเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่สำหรับจัณฑาลที่สามารถไต่เต้าเข้าสู่การศึกษาระดับสูง เมื่อมีงานเลี้ยงฉลองเรียนจบ อัมเบดการ์ก็ได้รู้จักกับพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกจาก กฤษณจี อรชุน เกลุสการ์ (Krishnaji Arjun Keluskar) นักเขียนนวนิยายภาษามราฐีและนักสังคมสงเคราะห์ ที่นำหนังสือพุทธประวัติที่เขาเป็นผู้เขียนมอบให้อัมเบดการ์ ตอนนั้นอัมเบดการ์สนใจเรื่องพระพุทธเจ้าอย่างมาก แต่เขาก็ยังคงนับถือศาสนาฮินดูตามเดิม
เรียนต่อต่างประเทศ
อัมเบดการ์เป็นคนตั้งใจศึกษาหาความรู้ ทำให้อัมเบดการ์ได้รับทุนการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบอมเบย์ จาก มหาราชาสายาจีราว คายกวาทที่ 3 (Maharaj Sayajirao Gaekwad III) กษัตริย์ผู้ปกครองรัฐบาโรดา หลังเรียนจบแล้วใน ค.ศ. 1913 อัมเบดการ์ได้ทำงานตอบแทนมหาราชาแห่งรัฐบาโรดา แต่โดนย้ายตำแหน่งงานใหม่เรื่อย ๆ โดยไม่มีงานถาวร ประกอบกับพ่อของเขาเสียชีวิต อัมเบดการ์จึงตัดสินใจลาออก แต่เดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน อัมเบดการ์ได้รับทุนของมหาราชาสายาจีราว คายกวาทที่ 3 อีกครั้ง เพื่อเรียนต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเงื่อนไขว่าต้องกลับมาทำงานใช้ทุนทันทีหลังเรียนจบ
ในสหรัฐอเมริกา อัมเบดการ์สามารถคบหาผู้คนได้มากมาย เพราะปราศจากการกีดกันทางวรรณะ ซึ่งช่วยให้อัมเบดการ์เห็นศักยภาพของประชาธิปไตยที่จะทำให้สังคมมีความเสมอภาคมากขึ้น พร้อมกับเรียนรู้ความสำคัญเรื่องสิทธิ เป็นฐานของการขับเคลื่อนสังคมอินเดียให้ก้าวหน้าต่อไป อัมเบดการ์เรียนจบปริญญาโทในปี 1916 ทว่าเขากลับตัดสินใจขอเรียนต่อที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยขยายทุนอีก 1 ปี แต่ก็เรียนไม่จบจึงต้องกลับอินเดียเพื่อทำงานใช้ทุนมหาราชา โดยอัมเบดการ์กลับอินเดียในปี 1917 เข้าทำงานเป็นเลขานุการกองทัพของมหาราชาบาโรดา แต่หนีการถูกเหยียดวรรณะไม่พ้น เพราะคนวรรณะพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของอัมเบดการ์ต่างรังเกียจเขา อัมเบดการ์ร้องเรียนเรื่องนี้ต่อมหาราชา แต่ทุกอย่างยังคงเงียบงัน ช่วงนั้นเขายังโดนชาวปาร์ซีกลุ่มหนึ่งขับไล่ออกจากหอพัก หลังทราบว่าเขาเป็นจัณฑาล ทำให้อัมเบดการ์ตัดสินใจเดินทางออกจากบาโรดา และไปอยู่ที่บอมเบย์
วิทยาลัยการพาณิชย์และเศรษฐศาสตร์ซิดแนมเสนอให้เขารับตำแหน่งอาจารย์ด้านเศรษฐกิจการเมืองเป็นเวลา 2 ปี อัมเบดการ์ตอบตกลงทันที และเริ่มงานตั้งแต่ 11 พฤศจิกายน ปี 1918 เขาทุ่มเทกับการสอนหนังสืออย่างจริงจังกระทั่งมีชื่อเสียงโด่งดัง ดึงดูดนักศึกษาจากสถาบันอื่นให้มาฟังเขาบรรยายได้อย่างล้นหลาม กระนั้นเพื่อนร่วมงานวรรณะสูงบางคนก็ยังเหยียดเขาอยู่ อัมเบดการ์ที่เข้าใจดีถึงการกดขี่ทางวรรณะ จึงเริ่มเคลื่อนไหวต่อสู้เรื่องระบบวรรณะ เรียกร้องให้ชาวอินเดียโดยเฉพาะคนวรรณะสูงและอภิสิทธิ์ชนเปลี่ยนทัศนคติ ให้นึกถึงสิทธิของคนที่ถูกกดขี่ ไล่เลี่ยกันนั้นก็ตัดสินใจลาออกก่อนหมดสัญญาจ้าง พกทุนรอนก้อนหนึ่งย้ายไปเป็นข้าราชการในเมืองโครักขปุระตามคำเชิญของ มหาราชาชาหุที่ 1 ผู้ทรงสนับสนุนสิทธิของจัณฑาล
มหาราชาพระองค์นี้ออกทุนให้อัมเบดการ์เขียนและตีพิมพ์วารสารรายสัปดาห์ชื่อ มุขนายก ในบอมเบย์เมื่อปี 1920 อัมเบดการ์ใช้วารสารฉบับนี้โจมตีนักการเมืองอนุรักษนิยมที่ไม่แยแสต่อการกดขี่คนวรรณะต่ำ แต่วารสารนี้กลับต้องปิดตัวลงในเวลาไม่นานด้วยขาดสภาพคล่องทางการเงิน แม้การเคลื่อนไหวช่วงแรกจะเต็มไปด้วยปัญหา แต่เขาก็ยังไม่ละทิ้งความมุ่งมั่น เมื่ออัมเบดการ์เก็บหอมรอมริบได้จำนวนหนึ่ง และจากการหยิบยืมเงินจากเพื่อนและมหาราชา ก็ไปเรียนต่อปริญญาโทและปริญญาเอกที่วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน ประเทศอังกฤษ พร้อมกับพยายามสอบเนติบัณฑิต เขาใช้ชีวิตในอังกฤษอย่างแร้นแค้นถึง 3 ปี จนสามารถเรียนจบปริญญาโท ปริญญาเอก และสอบผ่านเนติบัณฑิตอังกฤษ
การต่อสู้เพื่อคนนอกวรรณะ
อัมเบดการ์กลับอินเดีย โดยการเริ่มต้นทำงานเป็นทนายความในศาลสูงบอมเบย์ในปี 1924 ทำให้มีโอกาสช่วยเหลือเรื่องกฎหมายให้ผู้ด้อยโอกาส เขาได้ทำตามความฝันอีกครั้ง นั่นคือ การเคลื่อนไหวเรียกร้องให้สังคมอินเดียมองเห็นปัญหาของระบบวรรณะ ควบคู่กับการเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ
อัมเบดการ์เห็นว่า “ระบบวรรณะ” คือสิ่งชั่วร้ายที่ขัดขวางความก้าวหน้าของสังคมอินเดีย อีกทั้งคำเรียกผองชนผู้ไร้วรรณะอย่าง “จัณฑาล” เป็นคำเรียกอย่างรังเกียจเดียดฉันท์ จึงเลือกใช้คำว่า “ทลิต” (Dalit) อันมีความหมายว่า แตกหัก หรือ สลาย ในภาษาสันสกฤต เป็นคำเรียกผองชนทั้งมวลที่ถูกกดขี่ในสังคมอินเดีย ไม่ใช่เพียงชาวฮินดูเท่านั้น หากยังรวมถึงคนด้อยโอกาสต่าง ๆ ด้วย หลากหลายวาระโอกาสที่อัมเบดการ์พยายามต่อสู้เรียกร้องสิทธิและเสรีภาพให้กลุ่มคนด้อยโอกาสเช่น ในปี 1927 อัมเบดการ์ทำพิธีสัตยาเคราะห์ ดื่มน้ำในสระโชว์ดาร์ที่เมืองมหัท (Mahad) ซึ่งเดิมห้ามคนวรรณะต่ำใช้น้ำในสระ เพื่อเรียกร้องสิทธิให้ทลิตเข้าไปใช้น้ำในสระสาธารณะโชว์ดาร์ได้
ช่วงแรกอัมเบดการ์มีเจตนารมณ์ถอดรากถอนโคนระบบวรรณะให้สิ้นซาก ปรากฏชัดในงานเขียน The Annihilation of Caste (วรรณะวินาศ) ซึ่งมีเนื้อหาแข็งกร้าว รุนแรง ปลุกระดมให้ชาวทลิตและผู้ด้อยโอกาสตระหนักรู้ ต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพของตน อัมเบดการ์จึงกลายเป็นผู้นำของชาวทลิตในการต่อสู้ล้มล้างระบบวรรณะ และมีบทบาทในการเรียกร้องเอกราชของอินเดีย โดยเป็นผู้แทนชาวทลิตหารือเรื่องเอกราชอินเดียร่วมกับผู้แทนกลุ่มอื่น ๆ กับอังกฤษ
แต่เมื่อรัฐบาลอังกฤษเห็นด้วยกับอัมเบดการ์ว่าทลิตควรมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน เช่นที่ชาวมุสลิมและซิกซ์มี กลุ่มฮินดูอนุรักษนิยมกลับไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าการมีผู้แทนทลิตจะก่อให้เกิดความแตกแยก จึงกดดันให้อัมเบดการ์ยกเลิกข้อเรียกร้องเรื่องผู้แทนชาวทลิต อัมเบดการ์ซึ่งกลัวว่าข้อเรียกร้องจะทำให้ชาวทลิตถูกคนฮินดูหมู่มากเพ่งเล็ง จึงยอมถอนข้อเรียกร้อง และยอมลดระดับความเคลื่อนไหวเป็นในทางประนีประนอมมากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้อัมเบดการ์เห็นว่า ภายใต้กรอบของศาสนาฮินดู ไม่มีทางที่ชาวทลิตจะยกสถานภาพของตัวเองได้เลย จึงประกาศความตั้งใจละทิ้งศาสนาฮินดูไปนับถือศาสนาอื่น ตัวแทนศาสนาทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นอิสลาม ซิกข์ และคริสต์ ต่างพยายามเกลี้ยกล่อม แต่อัมเบดการ์ได้ปฏิเสธข้อเสนอทั้งหมดอย่างนุ่มนวล
บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย
ปี 1947 หลังอินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ อัมเบดการ์ได้รับเชิญจากพรรคคองเกรส เข้าร่วมกับคณะรัฐมนตรีของ ยวาหลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และดำรงตำแหน่งประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย ร่วมกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมด 296 คน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มาจากพรรคคองเกรส แต่ยังมีทลิตอีก 29 คน ช่วยร่างรัฐธรรมนูญ
อัมเบดการ์ในฐานะประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ทำให้ “รัฐธรรมนูญอินเดีย” กลายเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการสร้างสังคมอินเดียสมัยใหม่ ที่ประชาชนทุกคนต่างเสมอภาคกันด้วยกฎหมาย รัฐธรรมนูญอินเดียคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพชาวอินเดียทุกคน ทั้งการนับถือศาสนา การยกเลิกระบบวรรณะ และยกเลิกการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ ไม่ว่าด้วยเหตุแห่งวรรณะ ศาสนา เพศ เชื้อสาย และภูมิลำเนา เหล่านี้คือมรดกสำคัญ ซึ่งทำให้อัมเบดการ์ได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย”
อัมเบดการ์ยังทำให้อินเดียมีระบบโควตาในระบบราชการ โรงเรียน และมหาวิทยาลัย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของอัมเบดการ์ ในการต่อสู้เพื่อสร้างสังคมอินเดียที่มีความเสมอภาค ถึงอย่างนั้น อัมเบดการ์ยังคงไม่พอใจกับรัฐธรรมนูญอินเดีย เพราะมีหลายส่วนในรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นไปดังใจเขา และยังคงแสวงหาหนทางที่จะทำให้ชาวทลิตขึ้นมามีบทบาทในสังคมอินเดียมากขึ้น
อัมเบดการ์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ผลักดันร่างกฎหมายกฎบัตรฮินดู (Hindu Code Bill) เพื่อแทนที่จารีตฮินดู ซึ่งผู้หญิงตกเป็นเบี้ยล่างมาตลอด ด้วยกฎหมายที่มอบสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ผู้หญิงอย่างเท่าเทียมกับผู้ชาย โดยเฉพาะเรื่องมรดก การแต่งงาน และเศรษฐกิจ แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวกลับล้มเหลว เพราะถูกต่อต้านจากนักการเมืองส่วนใหญ่ในสภา อัมเบดการ์จึงลาออกจากรัฐบาลในปี 1951 ต่อมา เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 1952 และแพ้การเลือกตั้ง แต่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปีเดียวกัน และเป็นวุฒิสมาชิกจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
การเปลี่ยนศาสนา
เนื่องจากเดิมอามเพฑกรเป็นชาวจัณฑาล ภายหลังได้เลิกนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เนื่องจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีการใช้ระบอบวรรณะ ถูกคนวรรณะอื่นรังเกียจเดียดฉันท์ ซึ่งเขาเคยเผชิญมากับตนเองตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อทำลายความอยุติธรรมนั้น อามเพฑกรจึงได้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะที่เมืองนาคปุระ พร้อมกับบุคคลวรรณะศูทรกว่า 500,000 คน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2499 โดยในการนั้นมีพระภิกษุอยู่ในพิธี ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย 3 รูป คือ ท่านพระสังฆรัตนเถระ (Ven. M. Sangharatana Thera) พระสัทธราติสสเถระ (Ven. S. Saddratissa Thera) และพระปัญญานันทเถระ (Ven. Pannanand Thera) ในพิธีมีการประดับธงธรรมจักรและสายรุ้งอย่างงดงาม ในพิธีนั้น ผู้ปฏิญาณตนได้กล่าวคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
อย่างไรก็ตามในการเปลี่ยนศาสนาครั้งใหญ่ในครั้งนี้ มีทั้งผู้สนับสนุน และคัดค้านเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีผู้นำคำสุนทรพจน์ของอามเพฑกรไปตีพิมพ์เป็นหนังสือ เป็นคำปราศรัยยาว 127 หน้า ขนาด 8 ยก
ถึงแก่อสัญกรรม
หลังจากการประกาศเป็นพุทธมามกะได้เพียง 3 เดือน ก็ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ท่ามกลางความเสียใจของเหล่าบรรดาชนชั้นวรรณะต่ำในอินเดีย ชวาหระลาล เนห์รู ได้กล่าวอย่างเศร้าสลดว่า "เพชรของรัฐบาลหมดไปเสียแล้ว" มุขมนตรีของบอมเบย์ในขณะนั้น คือนายชะวาน ได้ประกาศให้วันเกิดของอามเพฑกรถือเป็นวันหยุดราชการของรัฐ เพื่อเป็นเกียรติแก่ดวงวิญญาณของอามเพฑกร ภรรยาของเขาต้องการจะนำศพของท่านอามเพฑกร ไปทำพิธียังบอมเบย์ รัฐบาลก็ได้จัดเที่ยวบินพิเศษให้ เมื่อเครื่องบินนำศพมาถึงบอมเบย์ ประชาชนหลายหมื่นคนได้มารอรับศพของอามเพฑกรอย่างเนืองแน่น
หลังจากการอสัญกรรมของอามเพฑกร ชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศอินเดีย ได้กล่าวสรรเสริญนายอามเพฑกร ความว่า
ชื่ออามเพฑกร จะต้องถูกจดจำต่อไปอีกชั่วกาลนาน โดยเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อลบล้างความอยุติธรรมในสังคมฮินดู อามเพฑกรต่อสู้กับสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งที่จำต้องต่อสู้ อามเพฑกร ได้เป็นคนปลุกให้สังคมฮินดูตื่นจากหลับ
อ้างอิง
- Pritchett, Frances. "In the 1900s" (PHP). สืบค้นเมื่อ 5 January 2012.
- Pritchett, Frances. "In the 1940s". สืบค้นเมื่อ 2012-06-13.
- Bhimrao Ambedkar
- Ambedkar Jayanti 2019: Facts on Babasaheb to share with kids | Parenting News,The Indian Express
- How India’s Most Downtrodden Embraced the Power of Statues
- Bhimrao Ramji Ambedkar | Biography, Books, & Facts | Britannica
- All You Need To Know About BR Ambedkar On His 129th Birth Anniversary
- ; , บ.ก. (2013). Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton, NJ: Princeton University Press. p. 34. ISBN .
- https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
- https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
- https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
- https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
- https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
- https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
- https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
- https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
- https://theprint.in/opinion/why-ambedkar-chose-buddhism-over-hinduism-islam-christianity/237599/
- https://indianexpress.com/article/explained/buddha-purnima-special-why-ambedkar-coverted-to-buddhism-6397742/
- https://www.thequint.com/news/india/br-ambedkar-conversion-to-buddhism
- Christopher Queen (2015). Steven M. Emmanuel (บ.ก.). A Companion to Buddhist Philosophy. John Wiley & Sons. pp. 529–531. ISBN .
- https://theprint.in/opinion/why-ambedkar-chose-buddhism-over-hinduism-islam-christianity/237599/
- https://indianexpress.com/article/explained/buddha-purnima-special-why-ambedkar-coverted-to-buddhism-6397742/
- https://www.thequint.com/news/india/br-ambedkar-conversion-to-buddhism
- Christopher Queen (2015). Steven M. Emmanuel (บ.ก.). A Companion to Buddhist Philosophy. John Wiley & Sons. pp. 529–531. ISBN .
- Dr. B.R. Ambedkar บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
dr phimraw ramchi xamephthkr mrathi भ मर व र मज आ ब डकर hruxbangkhrngniymthbsphthepn exmebdkar hrux xmebdkar xditrthmntrikrathrwngaerngnganaelakrathrwngyutithrrmkhxngxinediy aelaepnprathanrangrththrrmnuykhxngxinediy thanthukykyxngihepn bidaaehngrththrrmnuyxinediy xikdwy xamephthkr epnphuxupthmphphraphuththsasnainpraethsxinediy aelaidedinrwm khbwnkb mhatma khanthi aelachwahralal enhru ephuxeriykrxngexkrachcakxngkvs txmaenhruidepnnaykrthmntriaelaidaetngtngihxamephthkr epnrthmntrikrathrwngaerngnganaelakrathrwngyutithrrmdr phimraw ramchi xamephthkrekid14 emsayn kh s 1891 1891 04 14 ekidin pccubnepnthiruckxyangepnthangkarinchux dr xamephthkr nkhr Dr Ambedkar Nagar in rthmthypraeths praethsxinediy esiychiwit6 thnwakhm kh s 1956 1956 12 06 65 pi niwedli praethsxinediysychatixinediymichuxesiyngcakkhbwnkarsiththithlit hwhna khnakrrmathikarykrangrththrrmnuykhxngxinediy Constitution of India khbwnkarchawphuthththlit khusmrsramaphaxi xamephthkr ph s 2449 sawita xamephthkr ph s 2491 bidamardaramchi maolchi skpal phimaphaxi skpallaymuxchuxchiwitineyawwyphimraw ramchi xamephthkr Bhimrao Ramji Ambedkar ekidemuxwnthi 14 emsayn kh s 1891 intrakulsngkhpal Sakpal sungepncnthal klumkhnthimisthanatatxythisudinsasnahindu khrxbkhrwkhxngekhaxasyxyuthiemuxng Mhow phxkhxngxmebdkarthanganepnthharxngkvs aelamikhwamkawhnakwacnthalklumxun khrxbkhrwsngkhpalcungehnkhwamsakhykhxngkarsuksa aelaekhiywekhyihluk idelaeriynhnngsux thungkhnthiemuxkhrxbkhrwsngkhpaltxngyayipbxmeby pccubnkhuxmumib aelaerimprasbpyhathangkarengin phichaykhxngxmebdkartxngyxmelikeriynhnngsuxipthanganinorngnganephuxchwykhacunban aelasngesiyihxmebdkarideriynhnngsux xmebdkartxngephchiykbkarkidknthangwrrnathiaesnelwray ephraanamskuledimxyangsngkhpal hruxnamskulihmkhxngkhrxbkhrwthitngtamphumilaenaxyang xmbawaedkar Ambavadekar yngaesdngihehnwaekhaepncnthalxyangchdecnodyinchneriyn xmebdkarthukeluxkptibtihlayxyang echn thukkhrusngihnaphapuphuneka manngaeykcakephuxnnkeriyn immiephuxnmaphudkhuyhruxelndwy imidkinkhawkbephuxn caepntxngkinnaodyimmiaekw aelathukhameriynphasasnskvt ephraakhwamechuxthiwacnthaltatxyaelaaepdepuxnekinkwacasuksaphasasnskvtxnskdisiththiid xmebdkarcungetibotkbkarthukeluxkptibtiodykartitrathangwrrna aetekhayngidrboxkasthidi emux kvsnaci ekhchaf xmebdkar Krishnaji Keshav Ambedkar khruwrrnaphrahmnsungexnduekhaepnphiess xnuyatihekhaichnamskul xmebdkar cnhlaykhnekhaicphidkhidwa xmebdkarepnkhninwrrnaphrahmn sungchwyldaerngesiydthanthitxngephchiyidepnxyangdi xmebdkarcungykyxngsrresriykhrukhnnimak ephraanamskuldngklawchwyebikthangihekhaklayepnphunakhnsakhyinkartxsuephuxpldaexkrabbwrrna txmain kh s 1907 xmebdkareriyncborngeriynmthymplayexlfinsotn sungnbepnkhwamsaercthiyingihysahrbcnthalthisamarthitetaekhasukarsuksaradbsung emuxminganeliyngchlxngeriyncb xmebdkarkidruckkbphuththsasnaepnkhrngaerkcak kvsnci xrchun ekluskar Krishnaji Arjun Keluskar nkekhiynnwniyayphasamrathiaelanksngkhmsngekhraah thinahnngsuxphuththprawtithiekhaepnphuekhiynmxbihxmebdkar txnnnxmebdkarsniceruxngphraphuththecaxyangmak aetekhakyngkhngnbthuxsasnahindutamedimeriyntxtangpraethsxmebdkarepnkhntngicsuksahakhwamru thaihxmebdkaridrbthunkarsuksainradbpriyyatridanesrsthsastraelarthsastr mhawithyalybxmeby cak mharachasayaciraw khaykwaththi 3 Maharaj Sayajirao Gaekwad III kstriyphupkkhrxngrthbaorda hlngeriyncbaelwin kh s 1913 xmebdkaridthangantxbaethnmharachaaehngrthbaorda aetodnyaytaaehnngnganihmeruxy odyimminganthawr prakxbkbphxkhxngekhaesiychiwit xmebdkarcungtdsiniclaxxk aeteduxnmithunayn piediywkn xmebdkaridrbthunkhxngmharachasayaciraw khaykwaththi 3 xikkhrng ephuxeriyntxpriyyaoththimhawithyalyokhlmebiy praethsshrthxemrika odymienguxnikhwatxngklbmathanganichthunthnthihlngeriyncb inshrthxemrika xmebdkarsamarthkhbhaphukhnidmakmay ephraaprascakkarkidknthangwrrna sungchwyihxmebdkarehnskyphaphkhxngprachathipitythicathaihsngkhmmikhwamesmxphakhmakkhun phrxmkberiynrukhwamsakhyeruxngsiththi epnthankhxngkarkhbekhluxnsngkhmxinediyihkawhnatxip xmebdkareriyncbpriyyaothinpi 1916 thwaekhaklbtdsinickhxeriyntxthilxndxn praethsxngkvs odykhyaythunxik 1 pi aetkeriynimcbcungtxngklbxinediyephuxthanganichthunmharacha odyxmebdkarklbxinediyinpi 1917 ekhathanganepnelkhanukarkxngthphkhxngmharachabaorda aethnikarthukehyiydwrrnaimphn ephraakhnwrrnaphrahmnsungepnphuitbngkhbbychakhxngxmebdkartangrngekiycekha xmebdkarrxngeriyneruxngnitxmharacha aetthukxyangyngkhngengiybngn chwngnnekhayngodnchawparsiklumhnungkhbilxxkcakhxphk hlngthrabwaekhaepncnthal thaihxmebdkartdsinicedinthangxxkcakbaorda aelaipxyuthibxmeby withyalykarphanichyaelaesrsthsastrsidaenmesnxihekharbtaaehnngxacarydanesrsthkickaremuxngepnewla 2 pi xmebdkartxbtklngthnthi aelaerimngantngaet 11 phvscikayn pi 1918 ekhathumethkbkarsxnhnngsuxxyangcringcngkrathngmichuxesiyngodngdng dungdudnksuksacaksthabnxunihmafngekhabrryayidxyanglnhlam krannephuxnrwmnganwrrnasungbangkhnkyngehyiydekhaxyu xmebdkarthiekhaicdithungkarkdkhithangwrrna cungerimekhluxnihwtxsueruxngrabbwrrna eriykrxngihchawxinediyodyechphaakhnwrrnasungaelaxphisiththichnepliynthsnkhti ihnukthungsiththikhxngkhnthithukkdkhi ileliyknnnktdsiniclaxxkkxnhmdsyyacang phkthunrxnkxnhnungyayipepnkharachkarinemuxngokhrkkhpuratamkhaechiykhxng mharachachahuthi 1 phuthrngsnbsnunsiththikhxngcnthal mharachaphraxngkhnixxkthunihxmebdkarekhiynaelatiphimphwarsarrayspdahchux mukhnayk inbxmebyemuxpi 1920 xmebdkarichwarsarchbbniocmtinkkaremuxngxnurksniymthiimaeyaestxkarkdkhikhnwrrnata aetwarsarniklbtxngpidtwlnginewlaimnandwykhadsphaphkhlxngthangkarengin aemkarekhluxnihwchwngaerkcaetmipdwypyha aetekhakyngimlathingkhwammungmn emuxxmebdkarekbhxmrxmribidcanwnhnung aelacakkarhyibyumengincakephuxnaelamharacha kiperiyntxpriyyaothaelapriyyaexkthiwithyalyesrsthsastraelarthsastraehnglxndxn praethsxngkvs phrxmkbphyayamsxbentibnthit ekhaichchiwitinxngkvsxyangaernaekhnthung 3 pi cnsamartheriyncbpriyyaoth priyyaexk aelasxbphanentibnthitxngkvskartxsuephuxkhnnxkwrrnaxmebdkarklbxinediy odykarerimtnthanganepnthnaykhwaminsalsungbxmebyinpi 1924 thaihmioxkaschwyehluxeruxngkdhmayihphudxyoxkas ekhaidthatamkhwamfnxikkhrng nnkhux karekhluxnihweriykrxngihsngkhmxinediymxngehnpyhakhxngrabbwrrna khwbkhukbkareriykrxngxisrphaphcakxngkvs xmebdkarehnwa rabbwrrna khuxsingchwraythikhdkhwangkhwamkawhnakhxngsngkhmxinediy xikthngkhaeriykphxngchnphuirwrrnaxyang cnthal epnkhaeriykxyangrngekiycediydchnth cungeluxkichkhawa thlit Dalit xnmikhwamhmaywa aetkhk hrux slay inphasasnskvt epnkhaeriykphxngchnthngmwlthithukkdkhiinsngkhmxinediy imichephiyngchawhinduethann hakyngrwmthungkhndxyoxkastang dwy hlakhlaywaraoxkasthixmebdkarphyayamtxsueriykrxngsiththiaelaesriphaphihklumkhndxyoxkasechn inpi 1927 xmebdkarthaphithistyaekhraah dumnainsraochwdarthiemuxngmhth Mahad sungedimhamkhnwrrnataichnainsra ephuxeriykrxngsiththiihthlitekhaipichnainsrasatharnaochwdarid chwngaerkxmebdkarmiectnarmnthxdrakthxnokhnrabbwrrnaihsinsak praktchdinnganekhiyn The Annihilation of Caste wrrnawinas sungmienuxhaaekhngkraw runaerng plukradmihchawthlitaelaphudxyoxkastrahnkru txsuephuxsiththiaelaesriphaphkhxngtn xmebdkarcungklayepnphunakhxngchawthlitinkartxsulmlangrabbwrrna aelamibthbathinkareriykrxngexkrachkhxngxinediy odyepnphuaethnchawthlitharuxeruxngexkrachxinediyrwmkbphuaethnklumxun kbxngkvs aetemuxrthbalxngkvsehndwykbxmebdkarwathlitkhwrmisiththieluxkphuaethnkhxngtn echnthichawmuslimaelasiksmi klumhinduxnurksniymklbimehndwy ephraaekrngwakarmiphuaethnthlitcakxihekidkhwamaetkaeyk cungkddnihxmebdkarykelikkhxeriykrxngeruxngphuaethnchawthlit xmebdkarsungklwwakhxeriykrxngcathaihchawthlitthukkhnhinduhmumakephngelng cungyxmthxnkhxeriykrxng aelayxmldradbkhwamekhluxnihwepninthangpranipranxmmakkhun singthiekidkhunthaihxmebdkarehnwa phayitkrxbkhxngsasnahindu immithangthichawthlitcayksthanphaphkhxngtwexngidely cungprakaskhwamtngiclathingsasnahinduipnbthuxsasnaxun twaethnsasnathnghlayimwacaepnxislam sikkh aelakhrist tangphyayamekliyklxm aetxmebdkaridptiesthkhxesnxthnghmdxyangnumnwlbidaaehngrththrrmnuyxinediypi 1947 hlngxinediyidrbexkrachcakxngkvs xmebdkaridrbechiycakphrrkhkhxngekrs ekharwmkbkhnarthmntrikhxng ywahlal enhru naykrthmntrikhnaerkkhxngxinediy inthanarthmntriwakarkrathrwngyutithrrm aeladarngtaaehnngprathankrrmkarykrangrththrrmnuykhxngxinediy rwmkbsmachikspharangrththrrmnuythnghmd 296 khn sungsmachikswnihymacakphrrkhkhxngekrs aetyngmithlitxik 29 khn chwyrangrththrrmnuy xmebdkarinthanaprathankrrmkarykrangrththrrmnuy idthaih rththrrmnuyxinediy klayepnbrrthdthansakhyinkarsrangsngkhmxinediysmyihm thiprachachnthukkhntangesmxphakhkndwykdhmay rththrrmnuyxinediykhumkhrxngsiththiaelaesriphaphchawxinediythukkhn thngkarnbthuxsasna karykelikrabbwrrna aelaykelikkareluxkptibtithukrupaebb imwadwyehtuaehngwrrna sasna ephs echuxsay aelaphumilaena ehlanikhuxmrdksakhy sungthaihxmebdkaridrbkarykyxngepn bidaaehngrththrrmnuyxinediy xmebdkaryngthaihxinediymirabbokhwtainrabbrachkar orngeriyn aelamhawithyaly ephuxepidoxkasihphudxyoxkasaelaldkhwamehluxmlainsngkhm sungsingehlaniaesdngihehnthungkhwammungmnkhxngxmebdkar inkartxsuephuxsrangsngkhmxinediythimikhwamesmxphakh thungxyangnn xmebdkaryngkhngimphxickbrththrrmnuyxinediy ephraamihlayswninrththrrmnuythiimepnipdngicekha aelayngkhngaeswnghahnthangthicathaihchawthlitkhunmamibthbathinsngkhmxinediymakkhun xmebdkar inthanarthmntriwakarkrathrwngyutithrrm idphlkdnrangkdhmaykdbtrhindu Hindu Code Bill ephuxaethnthicarithindu sungphuhyingtkepnebiylangmatlxd dwykdhmaythimxbsiththithangesrsthkicaelasngkhmihaekphuhyingxyangethaethiymkbphuchay odyechphaaeruxngmrdk karaetngngan aelaesrsthkic aetrangkdhmaydngklawklblmehlw ephraathuktxtancaknkkaremuxngswnihyinspha xmebdkarcunglaxxkcakrthbalinpi 1951 txma ekhalngsmkhrrbeluxktngsmachiksphaphuaethnrasdrinpi 1952 aelaaephkareluxktng aetidrbkaraetngtngepnsmachikwuthisphainpiediywkn aelaepnwuthismachikcwbcnwarasudthaykhxngchiwitkarepliynsasnawikikhakhmmikhakhmekiywkb bi xar xamephthkr enuxngcakedimxamephthkrepnchawcnthal phayhlngideliknbthuxsasnaphrahmn hindu enuxngcaksasnaphrahmn hindu mikarichrabxbwrrna thukkhnwrrnaxunrngekiycediydchnth sungekhaekhyephchiymakbtnexngtngaetyngedk ephuxthalaykhwamxyutithrrmnn xamephthkrcungidptiyantnepnphuththmamkathiemuxngnakhpura phrxmkbbukhkhlwrrnasuthrkwa 500 000 khn emuxwnthi 14 tulakhm ph s 2499 odyinkarnnmiphraphiksuxyuinphithi rwmepnskkhiphyandwy 3 rup khux thanphrasngkhrtnethra Ven M Sangharatana Thera phrasththratissethra Ven S Saddratissa Thera aelaphrapyyannthethra Ven Pannanand Thera inphithimikarpradbthngthrrmckraelasayrungxyangngdngam inphithinn phuptiyantnidklawkhaptiyantnepnphuththmamka xyangirktaminkarepliynsasnakhrngihyinkhrngni mithngphusnbsnun aelakhdkhanepncanwnmak nxkcakniyngmiphunakhasunthrphcnkhxngxamephthkriptiphimphepnhnngsux epnkhaprasryyaw 127 hna khnad 8 ykthungaekxsykrrmhlngcakkarprakasepnphuththmamkaidephiyng 3 eduxn kidesiychiwitlngemuxwnthi 6 thnwakhm ph s 2499 thamklangkhwamesiyickhxngehlabrrdachnchnwrrnatainxinediy chwahralal enhru idklawxyangesrasldwa ephchrkhxngrthbalhmdipesiyaelw mukhmntrikhxngbxmebyinkhnann khuxnaychawan idprakasihwnekidkhxngxamephthkrthuxepnwnhyudrachkarkhxngrth ephuxepnekiyrtiaekdwngwiyyankhxngxamephthkr phrryakhxngekhatxngkarcanasphkhxngthanxamephthkr ipthaphithiyngbxmeby rthbalkidcdethiywbinphiessih emuxekhruxngbinnasphmathungbxmeby prachachnhlayhmunkhnidmarxrbsphkhxngxamephthkrxyangenuxngaenn hlngcakkarxsykrrmkhxngxamephthkr chwahralal enhru naykrthmntrikhnaerkkhxngpraethsxinediy idklawsrresriynayxamephthkr khwamwa chuxxamephthkr catxngthukcdcatxipxikchwkalnan odyepnsylksnaehngkartxsuephuxlblangkhwamxyutithrrminsngkhmhindu xamephthkrtxsukbsingthithukkhnehnwaepnsingthicatxngtxsu xamephthkr idepnkhnplukihsngkhmhindutuncakhlb chwahralal enhruxangxingPritchett Frances In the 1900s PHP subkhnemux 5 January 2012 Pritchett Frances In the 1940s subkhnemux 2012 06 13 Bhimrao Ambedkar Ambedkar Jayanti 2019 Facts on Babasaheb to share with kids Parenting News The Indian Express How India s Most Downtrodden Embraced the Power of Statues Bhimrao Ramji Ambedkar Biography Books amp Facts Britannica All You Need To Know About BR Ambedkar On His 129th Birth Anniversary b k 2013 Princeton Dictionary of Buddhism Princeton NJ Princeton University Press p 34 ISBN 978 0691157863 https www silpa mag com history article 113176 https www silpa mag com history article 113176 https www silpa mag com history article 113176 https www silpa mag com history article 113176 https www silpa mag com history article 113176 https www silpa mag com history article 113176 https www silpa mag com history article 113176 https www silpa mag com history article 113176 https theprint in opinion why ambedkar chose buddhism over hinduism islam christianity 237599 https indianexpress com article explained buddha purnima special why ambedkar coverted to buddhism 6397742 https www thequint com news india br ambedkar conversion to buddhism Christopher Queen 2015 Steven M Emmanuel b k A Companion to Buddhist Philosophy John Wiley amp Sons pp 529 531 ISBN 978 1 119 14466 3 https theprint in opinion why ambedkar chose buddhism over hinduism islam christianity 237599 https indianexpress com article explained buddha purnima special why ambedkar coverted to buddhism 6397742 https www thequint com news india br ambedkar conversion to buddhism Christopher Queen 2015 Steven M Emmanuel b k A Companion to Buddhist Philosophy John Wiley amp Sons pp 529 531 ISBN 978 1 119 14466 3 Dr B R Ambedkar bidaaehngrththrrmnuyxinediy